หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล
หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล | |
---|---|
![]() | |
พระนาม | หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล |
พระอิสริยยศ | หม่อมเจ้า ชั้น 4 |
ฐานันดร | หม่อมเจ้า |
ราชวงศ์ | จักรี |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2445 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นชีพิตักษัย | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 (78 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ |
พระมารดา | หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา |
ชายา | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา |
พระบุตร | หม่อมราชวงค์เรืองรำไพ ชุมพล หม่อมราชวงค์หทัยธานี ชุมพล |
พันตรี หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา ในขณะที่พระบิดาดำรงตำแหน่งข้าหลวงข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (มณฑลอีสาน)
พระประวัติ[แก้]
พันตรี หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา บุตรีในท้าวไชยบุตร (บุดดี บุญรมย์) หลานเจ้าราชบุตรสุ่ย เจ้าเมืองอุบลราชธานี [1] ประสูติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2445 ทรงมีพระพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ร่วมหม่อมมารดา 4 พระองค์ คือ
- หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล (มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าหญิงจิรบุญญ์ณี)
- หม่อมเจ้าฐิติศักดิ์วิบูลย์ ชุมพล
- หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล (พระองค์เอง)
- หม่อมเจ้าหญิงนงนิตย์จำเนียร ชุมพล
และทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี พระขนิษฐาต่างพระมารดา คือ
- หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล (ประสูติแต่หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา)
- หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล (ประสูติแต่หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา)
- หม่อมเจ้าหญิงจงใจถวิล ชุมพล (ประสูติแต่หม่อมจำเริญ ชุมพล ณ อยุธยา)
- หม่อมเจ้าชมิยบุตร ชุมพล (ประสูติแต่หม่อมคำเมียง ชุมพล ณ อยุธยา)
- หม่อมเจ้าชุมปกบุตร ชุมพล (ประสูติแต่หม่อมปุ๊ก ชุมพล ณ อยุธยา)
หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล ทรงเษกสมรสกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา พระธิดาใน สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับหม่อมเล็ก ยงใจยุทธ และสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2524 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2513 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[2]
- พ.ศ. 2485 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[3]
- พ.ศ. 2467 -
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)
- พ.ศ. 2475 -
เหรียญเฉลิมพระนคร ๑๕๐ ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2493 -
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๙ (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ที่ระลึกครบรอบ 150 ปี พลตรี กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2513/D/045/40.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 59 ตอนที่ 63 18 กันยายน 2485 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/061/2105.PDF