ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศรัสเซีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8781433 โดย Tvcccpด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
}}
}}


'''[[รัสเซีย]]''' ({{lang-en|Russia}}; {{lang-ru|Росси́я}}, {{IPA-ru|rɐˈsʲijə|pron|Ru-Россия.ogg}}) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''สหพันธรัฐรัสเซีย''' ({{lang-en|Russian Federation}}; {{lang-rus|Росси́йская Федера́ция|p=rɐˈsʲijskəjə fʲɪdʲɪˈratsɨjə|a=Ru-Rossiyskaya Federatsiya.ogg}})<ref>"ชื่อสหพันธรัฐรัสเซียและรัสเซียจักเสมอกัน". {{cite web|title=The Constitution of the Russian Federation|work= (Article 1)|url=http://www.constitution.ru/en/10003000-02.htm|accessdate=25 June 2009}}</ref> เป็นประเทศใน[[ยูเรเชีย]]เหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็น[[รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากร|ชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก]] โดยมีประชากร 143 ล้านคน<ref name="2010Census">{{ru-pop-ref|2010Census}}</ref><ref name=britannica>{{cite web|url=http://www.britannica.com/EBchecked/topic/513251/Russia|title=Russia|publisher=Encyclopædia Britannica|accessdate=31 January 2008}}</ref> รัสเซียปกครองด้วยระบอบ[[สหพันธรัฐ|สหพันธ์]]สาธารณรัฐ[[ระบบกึ่งประธานาธิบดี|กึ่งประธานาธิบดี]] ประกอบด้วย 83 [[เขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย|เขตการปกครอง]] ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับ[[นอร์เวย์]] [[ฟินแลนด์]] [[เอสโตเนีย]] [[ลัตเวีย]] [[ลิทัวเนีย]] และ[[โปแลนด์]] (ทั้งสองผ่าน[[มณฑลคาลินินกราด]]) [[เบลารุส]] [[ยูเครน]] [[จอร์เจีย]] [[อาเซอร์ไบจาน]] [[คาซัคสถาน]] [[จีน]] [[มองโกเลีย]]และ[[เกาหลีเหนือ]] นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับ[[ญี่ปุ่น]]โดยทะเลโอฮอตสค์ และ[[สหรัฐอเมริกา]]โดย[[ช่องแคบแบริง]] อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้า[[เขตเวลา]]และมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก<ref>{{cite web|url=http://www.unesco.ru/en/?module=pages&action=view&id=1|title=Commission of the Russian Federation for UNESCO: Panorama of Russia|publisher=Unesco.ru|accessdate=29 October 2010}}</ref> และเป็นผู้ผลิต[[ก๊าซธรรมชาติ]]อันดับหนึ่งของโลก<ref name=cia-gas>{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2249rank.html|title=Country Comparison :: Natural gas – production|work=CIA World Factbook|accessdate=3 February 2014}}</ref> เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก<ref name=iea-oil>{{cite web|url=http://omrpublic.iea.org/omrarchive/18jan12sup.pdf|title=International Energy Agency – Oil Market Report|archive-url=https://web.archive.org/web/20120518015934/http://omrpublic.iea.org/omrarchive/18jan12sup.pdf|date=18 January 2012|archive-date=18 May 2012|access-date=11 November 2019}}</ref> รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุ[[น้ำจืด]]ประมาณหนึ่งในสี่ของโลก<ref name=loc>{{cite web|author=Library of Congress|title=Topography and drainage|url=http://countrystudies.us/russia/23.htm|accessdate=26 December 2007}}</ref>
'''รัสเซีย''' ({{lang-en|Russia}}; {{lang-ru|Росси́я}}, {{IPA-ru|rɐˈsʲijə|pron|Ru-Россия.ogg}}) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''สหพันธรัฐรัสเซีย''' ({{lang-en|Russian Federation}}; {{lang-rus|Росси́йская Федера́ция|p=rɐˈsʲijskəjə fʲɪdʲɪˈratsɨjə|a=Ru-Rossiyskaya Federatsiya.ogg}})<ref>"ชื่อสหพันธรัฐรัสเซียและรัสเซียจักเสมอกัน". {{cite web|title=The Constitution of the Russian Federation|work= (Article 1)|url=http://www.constitution.ru/en/10003000-02.htm|accessdate=25 June 2009}}</ref> เป็นประเทศใน[[ยูเรเชีย]]เหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็น[[รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากร|ชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก]] โดยมีประชากร 143 ล้านคน<ref name="2010Census">{{ru-pop-ref|2010Census}}</ref><ref name=britannica>{{cite web|url=http://www.britannica.com/EBchecked/topic/513251/Russia|title=Russia|publisher=Encyclopædia Britannica|accessdate=31 January 2008}}</ref> รัสเซียปกครองด้วยระบอบ[[สหพันธรัฐ|สหพันธ์]]สาธารณรัฐ[[ระบบกึ่งประธานาธิบดี|กึ่งประธานาธิบดี]] ประกอบด้วย 83 [[เขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย|เขตการปกครอง]] ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับ[[นอร์เวย์]] [[ฟินแลนด์]] [[เอสโตเนีย]] [[ลัตเวีย]] [[ลิทัวเนีย]] และ[[โปแลนด์]] (ทั้งสองผ่าน[[มณฑลคาลินินกราด]]) [[เบลารุส]] [[ยูเครน]] [[จอร์เจีย]] [[อาเซอร์ไบจาน]] [[คาซัคสถาน]] [[จีน]] [[มองโกเลีย]]และ[[เกาหลีเหนือ]] นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับ[[ญี่ปุ่น]]โดยทะเลโอฮอตสค์ และ[[สหรัฐอเมริกา]]โดย[[ช่องแคบแบริง]] อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้า[[เขตเวลา]]และมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก<ref>{{cite web|url=http://www.unesco.ru/en/?module=pages&action=view&id=1|title=Commission of the Russian Federation for UNESCO: Panorama of Russia|publisher=Unesco.ru|accessdate=29 October 2010}}</ref> และเป็นผู้ผลิต[[ก๊าซธรรมชาติ]]อันดับหนึ่งของโลก<ref name=cia-gas>{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2249rank.html|title=Country Comparison :: Natural gas – production|work=CIA World Factbook|accessdate=3 February 2014}}</ref> เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก<ref name=iea-oil>{{cite web|url=http://omrpublic.iea.org/omrarchive/18jan12sup.pdf|title=International Energy Agency – Oil Market Report|archive-url=https://web.archive.org/web/20120518015934/http://omrpublic.iea.org/omrarchive/18jan12sup.pdf|date=18 January 2012|archive-date=18 May 2012|access-date=11 November 2019}}</ref> รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุ[[น้ำจืด]]ประมาณหนึ่งในสี่ของโลก<ref name=loc>{{cite web|author=Library of Congress|title=Topography and drainage|url=http://countrystudies.us/russia/23.htm|accessdate=26 December 2007}}</ref>


ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8<ref name=autogenerated1>{{cite web|url=http://www.britannica.com/EBchecked/topic/513251/Russia/38597/The-Indo-European-group?anchor=ref422350|title=Russia|publisher=Encyclopædia Britannica|accessdate=31 January 2008}}</ref> รัฐ[[จักรวรรดิเคียฟรุส|รุส]]ใน[[สมัยกลาง]] ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบ[[วารันเจียน]]และผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน พ.ศ. 1531 มีการรับศาสนาคริสต์[[นิกายออร์โธด็อกซ์]]จาก[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]<ref name=Curtis/> เริ่มต้นการประสมวัฒนธรรมไบแซนไทน์และสลาฟซึ่งนิยามวัฒนธรรมรัสเซียเป็นเวลาอีกสหัสวรรษหน้า<ref name=Curtis>{{cite web|others=Excerpted from Glenn E. Curtis (ed.)|title=Russia: A Country Study: Kievan Rus' and Mongol Periods|publisher=Washington, DC: Federal Research Division of the Library of Congress|year=1998|url=http://www.shsu.edu/~his_ncp/Kievan.html|accessdate=20 July 2007}}</ref> ท้ายที่สุด รุสล่มสลายเป็นรัฐขนาดเล็กหลายรัฐ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรุสถูกพิชิตโดยการรุกรานของมองโกล และกลายเป็นรัฐบรรณาการของ[[โกลเดนฮอร์ด]]เร่ร่อน<ref>{{cite book|title=The Mongol empire: its rise and legacy|author1=[[:en:Michael Prawdin|Michael Prawdin]]|author2=Gérard Chaliand|date=2005|pages=512-550}}</ref> อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งมอสโกค่อย ๆ รวม[[ราชรัฐ]]รัสเซียในละแวก ได้รับเอกราชจากโกลเดนฮอร์ด และมาครอบงำมรดกทางวัฒนธรรมและการเมืองของเคียฟรุส จนคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัสเซียได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางผ่านการพิชิตดินแดน การผนวก และการสำรวจเป็นของ[[จักรวรรดิรัสเซีย]] นับเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดอันดับสามในประวัติศาสตร์ แผ่จากโปแลนด์ใน[[ยุโรป]]จรด[[อะแลสกา]]ใน[[อเมริกาเหนือ]]<ref>{{cite journal|author=Rein Taagepera|authorlink=:en:Rein Taagepera|title=Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia|journal=[[:en:International Studies Quarterly|International Studies Quarterly]]|volume=41|issue=3|pages=475–504|date=September 1997|doi=10.1111/0020-8833.00053}}</ref><ref>Peter Turchin, Thomas D. Hall and Jonathan M. Adams, "[http://jwsr.ucr.edu/archive/vol12/number2/pdf/jwsr-v12n2-tah.pdf East-West Orientation of Historical Empires]", ''Journal of World-Systems Research'' Vol. 12 (no. 2), pp. 219–229 (2006).</ref>
ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8<ref name=autogenerated1>{{cite web|url=http://www.britannica.com/EBchecked/topic/513251/Russia/38597/The-Indo-European-group?anchor=ref422350|title=Russia|publisher=Encyclopædia Britannica|accessdate=31 January 2008}}</ref> รัฐ[[จักรวรรดิเคียฟรุส|รุส]]ใน[[สมัยกลาง]] ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบ[[วารันเจียน]]และผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน พ.ศ. 1531 มีการรับศาสนาคริสต์[[นิกายออร์โธด็อกซ์]]จาก[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]<ref name=Curtis/> เริ่มต้นการประสมวัฒนธรรมไบแซนไทน์และสลาฟซึ่งนิยามวัฒนธรรมรัสเซียเป็นเวลาอีกสหัสวรรษหน้า<ref name=Curtis>{{cite web|others=Excerpted from Glenn E. Curtis (ed.)|title=Russia: A Country Study: Kievan Rus' and Mongol Periods|publisher=Washington, DC: Federal Research Division of the Library of Congress|year=1998|url=http://www.shsu.edu/~his_ncp/Kievan.html|accessdate=20 July 2007}}</ref> ท้ายที่สุด รุสล่มสลายเป็นรัฐขนาดเล็กหลายรัฐ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรุสถูกพิชิตโดยการรุกรานของมองโกล และกลายเป็นรัฐบรรณาการของ[[โกลเดนฮอร์ด]]เร่ร่อน<ref>{{cite book|title=The Mongol empire: its rise and legacy|author1=[[:en:Michael Prawdin|Michael Prawdin]]|author2=Gérard Chaliand|date=2005|pages=512-550}}</ref> อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งมอสโกค่อย ๆ รวม[[ราชรัฐ]]รัสเซียในละแวก ได้รับเอกราชจากโกลเดนฮอร์ด และมาครอบงำมรดกทางวัฒนธรรมและการเมืองของเคียฟรุส จนคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัสเซียได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางผ่านการพิชิตดินแดน การผนวก และการสำรวจเป็นของ[[จักรวรรดิรัสเซีย]] นับเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดอันดับสามในประวัติศาสตร์ แผ่จากโปแลนด์ใน[[ยุโรป]]จรด[[อะแลสกา]]ใน[[อเมริกาเหนือ]]<ref>{{cite journal|author=Rein Taagepera|authorlink=:en:Rein Taagepera|title=Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia|journal=[[:en:International Studies Quarterly|International Studies Quarterly]]|volume=41|issue=3|pages=475–504|date=September 1997|doi=10.1111/0020-8833.00053}}</ref><ref>Peter Turchin, Thomas D. Hall and Jonathan M. Adams, "[http://jwsr.ucr.edu/archive/vol12/number2/pdf/jwsr-v12n2-tah.pdf East-West Orientation of Historical Empires]", ''Journal of World-Systems Research'' Vol. 12 (no. 2), pp. 219–229 (2006).</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:43, 6 เมษายน 2563

สหพันธรัฐรัสเซีย

Росси́йская Федера́ция (รัสเซีย)
เพลงชาติГосударственный гимн Российской Федерации
(เพลงชาติสหพันธรัฐรัสเซีย)


ประเทศรัสเซีย (สีเขียวเข้ม)
ประเทศรัสเซีย (สีเขียวเข้ม)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มอสโก
ภาษาราชการภาษารัสเซีย
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี
วลาดีมีร์ ปูติน
มีฮาอิล มีชุสติน
• ประธานสภาสหพันธ์
วาเลนตินา มัตวิเยนโก
• ประธานสภาดูมา
เซียร์เกย์ นารึชกิน
ก่อตั้ง
พ.ศ. 1405
พ.ศ. 1425
พ.ศ. 1712
พ.ศ. 1826
16 มกราคม พ.ศ. 2090
22 ตุลาคม พ.ศ. 2264
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
10 ธันวาคม พ.ศ. 2465
• สหพันธรัฐรัสเซีย
25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
พื้นที่
• รวม
17,075,200[1] ตารางกิโลเมตร (6,592,800 ตารางไมล์) (1)
13[2]  (รวมทั้งหนองน้ำ)
ประชากร
• 2018 ประมาณ
144,526,636 เพิ่มขึ้น[3] (ไมรวมไครเมีย) [4] (9)
8.4 ต่อตารางกิโลเมตร (21.8 ต่อตารางไมล์) (217)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 4.000 ล้านล้าน[5]
$ 27,899[5]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 1.469 ล้านล้าน[5]
$ 10,248[5]
จีนี (2558)37.7[6]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2559)ลดลง 0.804[7]
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · อันดับที่ 49
สกุลเงิน
(RUB)
เขตเวลาUTC+2 ถึง +12
รหัสโทรศัพท์7
โดเมนบนสุด

รัสเซีย (อังกฤษ: Russia; รัสเซีย: Росси́я, ออกเสียง: [rɐˈsʲijə] ( ฟังเสียง)) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (อังกฤษ: Russian Federation; รัสเซีย: Росси́йская Федера́ция, สัทอักษรสากล: [rɐˈsʲijskəjə fʲɪdʲɪˈratsɨjə] ( ฟังเสียง))[10] เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน[11][12] รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก[13] และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก[14] เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก[15] รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก[16]

ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8[17] รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน พ.ศ. 1531 มีการรับศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์จากจักรวรรดิไบแซนไทน์[18] เริ่มต้นการประสมวัฒนธรรมไบแซนไทน์และสลาฟซึ่งนิยามวัฒนธรรมรัสเซียเป็นเวลาอีกสหัสวรรษหน้า[18] ท้ายที่สุด รุสล่มสลายเป็นรัฐขนาดเล็กหลายรัฐ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรุสถูกพิชิตโดยการรุกรานของมองโกล และกลายเป็นรัฐบรรณาการของโกลเดนฮอร์ดเร่ร่อน[19] อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งมอสโกค่อย ๆ รวมราชรัฐรัสเซียในละแวก ได้รับเอกราชจากโกลเดนฮอร์ด และมาครอบงำมรดกทางวัฒนธรรมและการเมืองของเคียฟรุส จนคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัสเซียได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางผ่านการพิชิตดินแดน การผนวก และการสำรวจเป็นของจักรวรรดิรัสเซีย นับเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดอันดับสามในประวัติศาสตร์ แผ่จากโปแลนด์ในยุโรปจรดอะแลสกาในอเมริกาเหนือ[20][21]

หลังการปฏิวัติรัสเซีย รัสเซียกลายมาเป็นสาธารณรัฐใหญ่ที่สุดและผู้นำในสหภาพโซเวียต เป็นรัฐสังคมนิยมมีรัฐธรรมนูญแห่งแรกของโลกและอภิมหาอำนาจที่ได้การยอมรับ[22] ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง[23][24] สมัยโซเวียตได้ประสบความสำเร็จทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตรวรรษที่ 20 รวมทั้งการส่งมนุษย์คนแรกขึ้นสู่อวกาศ สหพันธรัฐรัสเซียก่อตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 แต่ได้รับการยอมรับสถานะเป็นนิติบุคคลที่สืบทอดจากสหภาพโซเวียต[25]

รัสเซียมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 11 ของโลกโดยจีดีพีมูลค่าตลาด หรือใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ โดยมีงบประมาณทางทหารมากที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจจัดอันดับรัสเซียเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกใน พ.ศ. 2554 ขึ้นจากอันดับที่ 10 ใน พ.ศ. 2553 รัสเซียเป็นหนึ่งในห้ารัฐอาวุธนิวเคลียร์ที่ได้รับการรับรองและครอบครองคลังแสงอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงใหญ่ที่สุดในโลก[26] รัสเซียเป็นมหาอำนาจและสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมาชิก จี 20 สภายุโรปและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การการค้าโลก และเป็นสมาชิกผู้นำเครือจักรภพรัฐเอกราช อดีตสมาชิกกลุ่ม 7

นิรุกติศาสตร์

ชื่อ รัสเซีย นั้นสืบทอดมาจาก รุส' (สลาฟตะวันออกเก่า: Рѹсь) ซึ่งเป็นรัฐยุคกลางที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟตะวันออก อย่างไรก็ตามชื่อ รัสเซีย มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ในช่วงต่อมาและประเทศมักถูกเรียกโดยผู้ตั้งถิ่นฐานว่า รัสกายา เซมลียา (รัสเซีย: Русская Земля, russkaja zemlja) ซึ่งสามารถแปลได้ว่า ดินแดนรัสเซีย หรือ ดินแดนแห่งรุส เพื่อที่จะแยกแยะความแตกต่างของรัฐนี้กับรัฐอื่น ๆ ที่สืบทอดต่อมา จึงถูกนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่กำหนดเรียกว่า เคียฟสกายา รุส' (รัสเซีย: Ки́евская Русь, Kievskaya Rus’) ชื่อรุสนั้นมาจากชาวรุส' ต้นยุคกลาง ซึ่งเป็นพ่อค้าและนักรบจากเผ่าสวีเดส (อังกฤษ: Swedes; นอร์สโบราณ: svíar / suar)[27][28] อพยพย้ายถิ่นข้ามทะเลบอลติก และตั้งรัฐที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ โนฟโกรอด (รัสเซีย: Новгород) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เคียฟสกายา รุส'

ภาษาละตินเก่าของชื่อ รุส' คือ รูทีเนีย (ละติน: Ruthenia) ส่วนใหญ่หมายถึงพื้นที่ภูมิภาคตะวันตกและภาคใต้ซึ่งชาวรุส' อาศัยอยู่ติดกับแคว้นคาทอลิกในยุโรป ชื่อปัจจุบันของประเทศ โรสซิยา (รัสเซีย: Россия, Rossija) มาจากชื่อในภาษากรีกยุคไบเซนไทน์ของรุส' (กรีกยุคกลาง: Ρωσσία) ซึ่งสะกด โรเซีย (กรีก: Ρωσία, Rosía) ในภาษากรีกสมัยใหม่[29]

คำเรียกพลเมืองของรัสเซียคือ รัสเซียน (อังกฤษ: Russians) ในภาษาอังกฤษ[30] และ โรสซิยาเนีย (รัสเซีย: россияне) ในภาษารัสเซีย

ภูมิศาสตร์

ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขตเวลา[31] รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[32] และถูกเรียกว่าเป็น "ปอดของยุโรป"[33] เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น[33] รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก[34]

พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซียเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสเตปป์ มีป่าไม้มากทางตอนเหนือ และมีพื้นที่แบบทุนดราตามชายฝั่งทางเหนือ เทือกเขาจะอยู่ตามชายแดนทางใต้ เช่นเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งมียอดเขาเอลบรุส ที่มีความสูง 5,642 เมตรและเป็นจุดสูงสุดของรัสเซียและยุโรป หรือเทือกเขาอัลไต และทางตะวันออก เช่นเทือกเขาเวอร์โฮยันสค์ หรือภูเขาไฟในแหลมคัมชัตคา เทือกเขาอูรัลทางตะวันตกวางตัวเหนือใต้และเป็นเขตแดนทางธรรมชาติของทวีปเอเชียและทวีปยุโรป

รัสเซียมีชายฝั่งที่ยาวถึง 37,000 กิโลเมตร ตามแนวมหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลบอลติก ทะเลอะซอฟ ทะเลดำ และทะเลแคสเปียน[35] นอกจากนั้น รัสเซียยังมีทางออกสู่ทะเลแบเร็นตส์ ทะเลขาว ทะเลคารา ทะเลลัปเตฟ ทะเลไซบีเรียตะวันออก ทะเลชุกชี ทะเลเบริง ทะเลโอค็อตสค์ และทะเลญี่ปุ่น เกาะและหมู่เกาะที่สำคัญได้แก่ หมู่เกาะโนวายาเซมเลีย หมู่เกาะฟรัสซ์โยเซฟแลนด์ หมู่เกาะเซเวอร์นายาเซมเลีย หมู่เกาะนิวไซบีเรีย เกาะแวรงเกล เกาะคูริล และเกาะซาคาลิน เกาะดีโอมีด (ซึ่งเกาะหนึ่งปกครองโดยรัสเซีย ส่วนอีกเกาะปกครองโดยสหรัฐอเมริกา) อยู่ห่างกันเพียง 3 กิโลเมตร และเกาะคุนาชิร์ก็อยู่ห่างจากฮกไกโดเพียงประมาณ 20 กิโลเมตร

ประวัติศาสตร์

ยุคเริ่มแรก

อาณาจักรเคียฟรุสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11

ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถื่นฐานในรัสเซียบริเวณแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำวอลกาทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติสแกนดิเนเวียและไวกิ้งที่รู้จักกันในนามวารันเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วในปี ค.ศ. 880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียนนามรูลิค ก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟและตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวง โดยผนวกดินแดนทางเหนือกับใต้เข้าด้วยกันแล้วขนานนามว่า เคียฟรุส (Kievan Rus') และสถาปนาราชวงศ์รูริคขึ้น

ในปี ค.ศ. 978 เจ้าชายวลาดีมีร์ โมโนมัค ขึ้นครองราชย์และทรงนำศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าสู่รัสเซีย ซึ่งต่อมามีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะ สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของประเทศ ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวง ศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์และเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมาเช่นกัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1147 ว่าเจ้าชายยูริ ดอลโกรูกี มกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ มีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้หรือ "เครมลิน" (Kremlin) ขึ้นที่เนินเขาโบโรวิตสกายา ริมแม่น้ำมอสควา และตั้งชื่อเมืองว่า "มอสโก" (Moscow)

อาณาจักรมัสโควี

ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกลนำโดยบาตูข่านเข้ารุกรานรัสเซียและยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก โดยถูกควบคุมทางการเมือง การปกครอง และยังต้องจ่ายภาษีให้กับชาวมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาทางตอนเหนือ

ในปี 1328 พระเจ้าอีวานที่ 1 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีฉายาว่าอีวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการเพื่อส่งให้แก่ชาวมองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโก ต่อมาในยุคของพระเจ้าอีวานที่ 2 (ค.ศ. 1353-1359) ชาวมองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจ เจ้าชายดมิตรี โอรสแห่งพระเจ้าอีวานที่ 2 ทรงขับไล่มองโกลได้สำเร็จในการรบที่คูลีโคโวบนฝั่งแม่น้ำดอน ต่อมาในปี 1380 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดมีตรี ดอนสกอย (ดมีตรีแห่งแม่น้ำดอน) ได้รวมเมืองวลาดิมีร์และซุลดัล อันเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรมัสโควี และยังได้บูรณะเครมลินเป็นกำแพงหินขาวแทนไม้โอ๊ก มอสโกจึงมีอีกชื่อเรียกว่า เมืองกำแพงหินขาว ในยุคนั้น แต่เพียงไม่นานพวกตาตาร์ก็กลับมาทำลายเครมลินจนพินาศ รัสเซียต้องเป็นเมืองขึ้นของตาตาร์อีกครั้งหนึ่งในปี 1382

จนเข้าสู่สมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 หรือพระเจ้าอีวานมหาราช (ค.ศ. 1462-1505) พระองค์ทรงอภิเษกกับหลานสาวของจักรพรรดิองค์ก่อนแห่งไบแซนไทน์ในปี 1472 และรับอินทรีสองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย ในยุคของพระองค์ได้รวบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1480 ทรงขับไล่กองกำลังตาตาร์ออกจากรัสเซียจนหมดสิ้น ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล ทรงบูรณะเครมลินให้เป็นหอคอยสูงและโบสถ์งดงามไว้ภายในเครมลิน นับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของรัสเซีย

ปี 1574 พระเจ้าอีวานที่ 4 (1533-1584) หลานของพระเจ้าอีวานมหาราช ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์องค์แรก (ซาร์ มาจากคำว่า ซีซาร์ ผู้ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมันและไบแซนไทน์) [36] พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่ามีรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงถูกขนานนามว่า อีวานผู้โหดเหี้ยม ต่อมาเมื่อหมดยุคของพระองค์ในปี ค.ศ. 1584 มอสโกก็ประสบปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างราชวงศ์รูริค และโรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ก็มีมติเลือก มีฮาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ

จักรวรรดิรัสเซีย

ค.ศ. 1613-1917 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช (ค.ศ. 1682-1725) ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย พระองค์ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 10 ชันษา พร้อมกับพระเจ้าอีวานที่ 5 (เป็นกษัตริย์บัลลังก์คู่) จนในปี 1696 เมื่อพระเจ้าอีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช จึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่ โดยในปี ค.ศ. 1712 ทรงย้ายเมืองหลวงจากมอสโกมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกองทหารราชนาวีขึ้นในรัสเซีย ทั้งยังทรงนำช่างฝีมือจากฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มาสร้างวิหารและพระราชวังที่งดงามอีกมากมาย และทรงนำพาจักรวรรดิรัสเซียให้เป็นที่รู้จักเกรียงไกรในสังคมโลก ถัดจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชยังมีซาร์และซารีนาอีกหลายพระองค์ที่สืบราชบัลลังก์ ทว่าผู้ที่สร้างความเจริญเฟื่องฟูให้กับรัสเซียสูงสุด ได้แก่ พระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ 2 (ค.ศ. 1762-1796) พระนางได้รับการยกย่องให้เป็นราชินี ด้วยทรงเชี่ยวชาญด้านการปกครองอย่างมาก กระนั้นพระนางก็มีชื่อเสียงด้านลบด้วยพระนางมีคู่เสน่หามากมาย

ผู้สืบราชวงศ์องค์ต่อมาคือ พระเจ้าพอลที่ 1 (ค.ศ. 1796-1801) พระราชโอรสของพระนางเจ้าแคทเทอรีน ทรงครองราชย์อยู่เพียงระยะสั้น จากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 (1801- 1825) พระราชโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อ ในปี 1812 ทรงทำศึกชนะจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส แต่แล้วในช่วงปลายรัชกาล เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบบรัฐสภา ปี 1825 เกิดกบฏต่อต้านราชวงศ์ขึ้นในเดือนธันวาคม เรียก กบฏธันวาคม (Decembrist Movement) แต่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (ค.ศ. 1825-1855) ก็ทรงปราบกลุ่มผู้ต่อต้านไว้ได้ พอมาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855-1881) พระองค์ทรงมีฉายาว่า Tzar Liberator (ซาร์ผู้ปลดปล่อย) เนื่องจากพระองค์ทรงปลดปล่อยทาสติดที่ดิน (Serf) หลายล้านคนให้พ้นจากการเป็นทาส แต่พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปี 1881 ทิ้งไว้เพียงอนุสรณ์สถานที่สร้างอุทิศแด่พระองค์ ณ จุดที่ถูกลอบปลงพระชนม์ ซาร์องค์ต่อมาคือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (ค.ศ. 1881-1894) จนถึงซาร์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (1894-1917) ความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น และความยากจน ก่อให้เกิดการปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดยกรรมการชาวนาในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1905 [36] ซึ่งมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า วันอาทิตย์เลือด Bloody Sunday และสุดท้ายคือการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 กระนั้นชนวนที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟและระบอบซาร์ถึงกาลอวสานก็มีปัจจัยอื่นเช่นกัน

สมัยสหภาพโซเวียต

การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมือง ในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)

ปี ค.ศ. 1918 ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโก กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า มหาสงครามของผู้รักชาติ (The Great Patriotic War) กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) นี้ไว้ได้

ปี ค.ศ. 1955 นีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน ผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22

ปี ค.ศ. 1985 มิฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยคา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลัสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ. 1990 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งทศวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซีย

สหพันธรัฐรัสเซีย

บอริส เยลต์ซินได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัสเซีย ระหว่างและหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการเปิดเสรีตลาดและการค้า[37] และยังมีการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งตามแนวทาง "ช็อกบำบัด" (shock therapy) ดังที่สหรัฐอเมริกาและกองทุนการเงินระหว่างประเทศแนะนำ[38] ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งรัสเซียมีจีดีพีและปริมาณการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 50% ระหว่าง พ.ศ. 2533-2538[39]

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ได้โอนการควบคุมวิสาหกิจจากหน่วยงานของรัฐ ไปเป็นของปัจเจกบุคคลซึ่งมีความเชื่อมโยงภายในในระบบรัฐบาล นักธุรกิจที่ร่ำรวยขึ้นมาใหม่หลายคนได้นำเงินสดและสินทรัพย์นับพัน ๆ ล้านออกนอกประเทศในการโยกย้ายทุนขนานใหญ่[40] ภาวะตกต่ำของรัฐและเศรษฐกิจนำไปสู่การล่มสลายของบริการสังคม อัตราการเกิดตกฮวบ ขณะที่อัตราการตายพุ่งทะยาน ประชาชนหลายล้านคนอยู่ในภาวะยาจน จากระดับความยากจน 1.5% ในปลายยุคโซเวียต เป็น 39-49% ราวกลาง พ.ศ. 2536[41] คริสต์ทศวรรษ 1990 ได้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงและความไม่มีกฎหมายสุดขีด การเพิ่มขึ้นของแก๊งอาชญากรและอาชญากรรมรุนแรง[42]

คริสต์ทศวรรษ 1990 รัสเซียได้เผชิญกับความขัดแย้งด้วยอาวุธในคอเคซัสเหนือ ทั้งการสู้รบประรายด้านชาติพันธุ์ท้องถิ่นและการก่อการกบฏของกลุ่มอิสลามแบ่งแยกดินแดน นับตั้งแต่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชเชนได้ประกาศเอราชในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็ได้เกิดสงครามกองโจรขึ้นเป็นระยะ ๆ ระหว่างกลุ่มกบฏกับกองทัพรัสเซีย กลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้โจมตีก่อการร้ายต่อพลเรือน ที่มีชื่อเสีงที่สุด คือ วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก และการล้อมโรงเรียนเบสลัน ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยศพและเรียกความสนใจจากทั่วโลก

รัสเซียยอมรับความรับผิดชอบในการจัดการหนี้สินภายนอกของสหภาพโซเวียต แม้ประชากรรัสเซียจะมีเพียงครึ่งหนึ่งของประชากรสหภาพโซเวียตเมื่อสหภาพล่มสลายไปนั้น[43] การขาดดุลงบประมาณอย่างสูงเป็นเหตุของวิกฤตการณ์การเงินรัสเซีย พ.ศ. 2541[44] และยิ่งทำให้จีดีพีลดลงไปอีก[37]

วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ประธานาธิบดีเยลต์ซินลาออก ส่งมอบตำแหน่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งแต่งตั้งใหม่ วลาดีมีร์ ปูติน ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2543 ปูตินปราบปรามการก่อกบฏเชเชน แม้ความรุนแรงเป็นพัก ๆ ยังเกิดขึ้นทั่วคอเคซัสเหนือ ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและการเริ่มต้นนโยบายเงินตราอ่อนค่า ตามมาด้วยอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น การบริโภคและการลงทุนได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจเติบโตในอัตราร้อยละ 7 ต่อปีระหว่างปี พ.ศ. 2541-2551 ซึ่งได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มอิทธิพลของรัสเซียในเวทีโลก[45] แม้การปฏิรูปหลายอย่างที่ปูตินดำเนินการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยทั่วไปมักถูกชาติตะวันตกวิจารณ์ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย[46] แต่ความเป็นผู้นำของปูตินเหนือการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพและความก้าวหน้าได้ทำให้เขาเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในรัสเซีย[47]

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ดมิทรี เมดเวเดฟได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซีย ขณะที่ปูตินเป็นนายกรัฐมนตรี ปูตินกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2555 และเมดเวเดฟได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

ในห้วงวิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 รัสเซียได้ผนวกสาธารณรัฐไครเมีย ซึ่งเกิดจากการรวมกันของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอลตามการลงประชามติ

การเมืองการปกครอง

หลังจากวิกฤติทางการเมืองในปี 1993 รัสเซียมีการออกรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชามติในวันที่ 12 ธันวาคม 1993 และเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัสเซียเป็นสหพันธรัฐซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุข[48] และ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยรัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจบริหาร[49] ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนายวลาดีมีร์ ปูติน

กระทรวง

ลำดับที่ ชื่อกระทรวงภาษาไทย ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ
1 กระทรวงกิจการภายใน Ministry of Internal Affairs
2 กระทรวงป้องกันพลเรือน เหตุการณ์ฉุกเฉิน
และการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ
Ministry for Civil Defence, Emergencies
and Elimination of Consequences of Natural Disasters *
3 กระทรวงการต่างประเทศ Ministry of Foreign Affairs
4 กระทรวงกลาโหม Ministry of Defense
5 กระทรวงยุติธรรม Ministry of Justice
6 กระทรวงสาธารณสุข Ministry of Health
7 กระทรวงวัฒนธรรม Ministry of Culture
8 กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ Ministry of Education and Science
9 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment
10 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า Ministry of Industry and Trade
11 กระทรวงการพัฒนาพื้นที่รัสเซียตะวันออกไกล Ministry for Development of Russian Far East
12 กระทรวงการสื่อสารและสื่อมวลชน Ministry of Communications and Mass Media
13 กระทรวงเกษตร Ministry of Agriculture
14 กระทรวงกีฬา Ministry of Sport
15 กระทรวงการก่อสร้าง การเคหะและสาธารณูปโภค Ministry of Construction, Housing and Utilities
16 กระทรวงคมนาคม Ministry of Transport
17 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม Ministry of Labour and Social Affairs
18 กระทรวงการคลัง Ministry of Finance
19 กระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ Ministry of Economic Development
20 กระทรวงพลังงาน Ministry of Energy

* มีชื่อเรียกโดยย่อว่า Ministry of Emergency Situations หรือกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉิน

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศรัสเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น

  • 46 แคว้น (Provinces - oblast)
  • 22 สาธารณรัฐ (Republics - respublika )
  • 9 ดินแดน (Territories - kraya )
  • 4 เขตปกครองตนเอง (Autonomous districts - avtonomnyye okruga)
  • 1 แคว้นปกครองตนเอง (Autonomous oblast - avtonomnaya oblast )
  • 3 นครสหพันธ์ (Federal cities - federalnyye goroda ) คือ มอสโก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเซวัสโตปอล

กองทัพ

กองทัพรัสเซียแบ่งออกเป็นกองกำลังทางบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ นอกจากนี้ยังมีสาขาช่วยรบ (arm of service) อิสระอีกสามสาขา ได้แก่ กองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์ กองกำลังป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศ และหน่วยส่งทางอากาศ ในปี 2549 กองทัพรัสเซียมีกำลังพลประจำการ 1.037 ล้านนาย[50] ซึ่งบังคับเกณฑ์ให้พลเมืองชายอายุระหว่าง 18–27 ปีทุกคนรับราชการในกองทัพเป็นเวลาหนึ่งปี[45]

ประเทศรัสเซียมีคลังอาวุธนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก และมีกองเรือดำน้ำขีปนาวุธใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง และเป็นประเทศเดียวนอกจากสหรัฐอเมริกาที่มีกองกำลังเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์สมัยใหม่[26][51] กองกำลังรถถังของรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก และกองทัพเรือผิวน้ำและกองทัพอากาศใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

ประเทศรัสเซียมีอุตสาหกรรมอาวุธขนาดใหญ่และผลิตในประเทศทั้งหมด โดยผลิตยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่เองโดยมีการนำเข้าอาวุธไม่กี่ชนิด ประเทศรัสเซียเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ปี 2544 โดยมีการขายอาวุธคิดเป็นราว 30% ของทั่วโลก[52] และมีการส่งออกไปประมาณ 80 ประเทศ[53]

รายจ่ายทางทหารภาครัฐอย่างเป็นทางการในปี 2555 อยู่ที่ 90,700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสามของโลก แม้แหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะประเมินว่ารายจ่ายทางทหารของรัสเซียสูงกว่านี้มาก[54] ปัจจุบัน การพัฒนายุทโธปกรณ์ครั้งใหญ่มูลค่าราว 200,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐอยู่ระหว่างดำเนินการในช่วงปี 2549 ถึง 2558[55]

เศรษฐกิจ

เกษตรกรรม

อุตสาหกรรม

การพัฒนาทางเศรษฐกิจ

รัสเซียสามารถฟื้นตัวจากวิกฤติทางการเงินในปี 1998 และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของการบริโภคในประเทศ และความมั่นคงทางการเมือง[35] ในปี 2007 รัสเซียมีจีดีพีใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก[56] (มูลค่า 2.088 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อวัดด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[56]) ค่าแรงเฉลี่ยต่อเดือนในรัสเซียเพิ่มขึ้นจาก 80 ดอลลาร์ในปี 2000 เป็น 640 ดอลลาร์ในต้นปี 2008[57] ชาวรัสเซียที่ยากจนมีประมาณร้อยละ 14 ในปี 2007[58] ซึ่งลดลงอย่างมากจากร้อยละ 40 ในปี 1998 ซึ่งสถิติสูงสุดหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย[41] อัตราว่างงานในรัสเซียลดลงจากร้อยละ 12.4 ในปี 1999 เหลือร้อยละ 6 ในปี 2007[59][60] การที่ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ตลาดของชนชั้นกลางในรัสเซียขยายตัวหลายเท่า[61]

ระบบภาษีที่เข้าใจง่ายกว่าเดิมเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งทำให้ภาระต่อประชาชนลดลงในขณะที่รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้น[62] รัสเซียใช้ระบบอัตราภาษีคงที่ที่ร้อยละ 13 กับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และทำให้กลายเป็นประเทศที่มีระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ดึงดูดผู้บริหารได้ดีเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากการสำรวจในปี 2007[63][64] งบประมาณของรัฐเกินดุลตั้งแต่ปี 2001 และจนถึงสิ้นปี 2007 มีงบประมาณเกินดุลมาร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ รัสเซียใช้รายได้จากน้ำมันที่ได้รับผ่านกองทุนความมั่นคงของสหพันธรัฐรัสเซียในการจ่ายหนี้ซึ่งเกิดขึ้นในยุคโซเวียตคืนแก่ปารีสคลับและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รายได้จากการส่งออกน้ำมันยังสามารถทำให้รัสเซียมีเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มจาก 1 หมื่น 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 1999 เป็น 5.97 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2008 ซึ่งสูงเป็นอันดับสามของโลก[65] รัสเซียยังสามารถลดหนี้ต่างประเทศที่ก่อขึ้นในอดีตได้อย่างมาก[66]

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภูมิภาค โดยเขตมอสโกเป็นเขตที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมากที่สุด[67]

พลังงาน

รัสเซียเป็นแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติที่สำคัญของยุโรป[68]

รัสเซียมีแหล่งทรัพยากรแก๊สธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก[69] มีแหล่งทรัพยากรถ่านหินใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และมีแหล่งทรัพยากรน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก[70] รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกแก๊สธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่ง[71] และส่งออกน้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก[69] น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ โลหะ และไม้ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีมูลค่ามากถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด[35][72]แต่หลังปี 2003 การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติก็เริ่มลดความสำคัญลงเพราะตลาดภายในประเทศขยายตัวขึ้นอย่างมาก แม้ว่าราคาทรัพยากรด้านพลังงานจะสูงขึ้นมาก แต่น้ำมันและแก๊สธรรมชาติก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.7 ของจีดีพี และรัฐบาลคาดการณ์ว่าสัดส่วนนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 3.7 ภายในปี 2011[73] รัสเซียยังนับว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรอื่น ๆ[61] รัสเซียมีจำนวนประชากรที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าประเทศอื่นในทวีปยุโรป[74]

การท่องเที่ยว

ประเทศรัสเซียมีสายการบินประจำชาติคือแอโรฟลอต (รัสเซีย: Аэрофло́т, อังกฤษ: Aeroflot) มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว กรุงมอสโก

โครงสร้างพื้นฐาน

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

การศึกษา

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 รัฐบาลรัสเซียได้ขยายการศึกษาภาคบังคับจากเดิม 9 ปีเป็น 11 ปี กล่าวคือตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาไปถึงระดับอาชีวศึกษา โรงเรียนในรัสเซียจะแบ่งภาคเรียนออกเป็น 4 ภาคเรียน ซึ่งในแต่ละภาคเรียนจะมีวันหยุด 1-2 สัปดาห์

สาธารณสุข

ประชากรศาสตร์

เมืองใหญ่สุด


เชื้อชาติ

สัดส่วนของเชื้อชาติ (ค.ศ. 2002)[77]
ชาวรัสเซีย 81.0%
ตาตาร์ 3.7%
ชาวยูเครน 1.4%
บัศกีร์ 1.1%
ชูวาช 1.0%
เชเชน 0.8%
อื่น ๆ/ไม่ระบุ 11.0%
จำนวนประชากรระหว่าง ค.ศ. 1991-2009 (ล้านคน)[78]

ประเทศรัสเซียมีประชากรประมาณ 144.3 ล้านคน (ค.ศ. 2016) จำนวนประชากรของรัสเซียมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเป็นผลจากอัตราการตายที่สูงและอัตราการเกิดที่ต่ำ ในขณะที่อัตราการเกิดในรัสเซียมีพอ ๆ กับประเทศยุโรปอื่น ๆ (อัตราการเกิด 11.3 คนต่อประชากร 1000 คนในปี 2007[79] เทียบกับอัตราเฉลี่ย 10.25 คนต่อประชากร 1000 คนของสหภาพยุโรป[80]) แต่ประชากรกลับลดลงเพราะอัตราการตายสูงกว่า (ในปี 2007 อัตราการตายของรัสเซียคือ 14.7 คนต่อประชากร 1000 คน[79] เมื่อเที่ยบกับอัตราเฉลี่ยของสหภาพยุโรป 10.39 คนต่อ 1000 คน[81]) ปัญหาประชากรที่ลดลงนี้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ[82] รัฐบาลจึงตั้งมาตรการต่าง ๆ ในการลดอัตราการตาย เพิ่มอัตราการเกิด พัฒนาสุขภาพของประชาชน[83] กระทรวงสาธารณสุขของรัสเซียคาดการณ์ว่าอัตราการตายและอัตราการเกิดจะปรับตัวจนเท่ากันภายในปี 2011[83]

รัสเซียมีพื้นที่มากที่สุดในโลก แต่เมื่อเทียบกับประชากรแล้ว ความหนาแน่นเพียงแค่ 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น

ภาษา

การกระจายของภาษาใน ตระกูลภาษายูรัล และตระกูลภาษาอัลไต

กลุ่มชาติพันธุ์ 160 กลุ่มของรัสเซียมีภาษาพูดกว่า 100 ภาษา อ้างอิงจากการสำรวจสำมะโน พ.ศ. 2545 ประชากร 142.6 ล้านคนพูดภาษารัสเซียตามด้วยภาษาตาตาร์ 5.3 ล้านและภาษายูเครน 1.8 ล้านคน[84] ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการของประเทศเพียงภาษาเดียว แต่รัฐธรรมนูญให้สิทธิ์แก่สาธารณรัฐต่าง ๆ ในการสถาปนาภาษาประจำชาติของตนเองนอกเหนือจากภาษารัสเซีย[85]

แม้จะมีการแพร่กระจายในพื้นที่กว้าง แต่ภาษารัสเซียนั้นเป็นสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ รัสเซียเป็นภาษาที่แพร่หลายมากที่สุดในภูมิภาคยูเรเซียและเป็นภาษาสลาวิกที่พูดกันอย่างกว้างขวางที่สุด[86] ภาษารัสเซียอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและเป็นหนึ่งในสมาชิกที่ยังมีผู้ใช้ภาษาของกลุ่มภาษาสลาวิกตะวันออก ภาษาอื่น ๆ ในกลุ่มได้แก่ภาษาเบลารุสและภาษายูเครน (และอาจรวมถึงภาษารูซิน Rusyn) ตัวอย่างภาษาเขียนของ ภาษาสลาวิกตะวันออกเก่า (รัสเซียเก่า) ได้รับการพิสูจน์ว่ามีการบันทึกเริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา[87]

รัสเซียเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับสองบนอินเทอร์เน็ต ตามหลังภาษาอังกฤษ[88], เป็นหนึ่งในสองภาษาราชการบนสถานีอวกาศนานาชาติ[89] และเป็นหนึ่งในหกภาษาราชการของสหประชาชาติ[90]

35 ภาษาได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลท้องถิ่นในภูมิภาคต่าง ๆ ของรัสเซีย

ศาสนา

ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย (ร้อยละ 94) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 5.5) คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก (ร้อยละ 0.8) และพุทธศาสนานิกายมหายาน (ร้อยละ 0.6)

กีฬา

เคยมีการจัดโอลิมปิกเช่นโอลิมปิกฤดูร้อน 1980ที่มอสโก โอลิมปิกฤดูหนาว 2014ที่โซชี และฟุตบอลโลก 2018

วัฒนธรรม

วรรณกรรม

สถาปัตยกรรม

อาหาร

ดนตรี และ นาฎศิลป์

สื่อสารมวลชน

สถานีโทรทัศน์

ชื่อสถานี เจ้าของ เริ่มออกอากาศ เว็บไซต์
รัสเซีย-1 บรรษัทกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย 1991 russia.tv
รัสเซีย-24 บรรษัทกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย 2006 www.vesti.ru
รัสเซีย-k บรรษัทกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย 1997 tvkultura.ru
Carousel ช่องหนึ่งรัสเซีย และ บรรษัทกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย 2010 www.karusel-tv.ru
TV Tsentr Moscow Media (state-owned) 1997 tvc.ru
มอสค์กวา 24 Moscow Media (state-owned) 2011 www.m24.ru
เทเลคานัล ซเวซดา กระทรวงกลาโหม 2005 tvzvezda.ru
รัสเซียทูเดย์ (ภาษาอังกฤษ) ทีวี-โนวัสติ 2005 rt.com
Rusiya Al-Yaum (Arabic version of RT) TV-Novosti 2007 arabic.rt.com
Public Television of Russia Russian government 2013 www.otr-online.ru
MIR 10 states from CIS 1992 mir24.tv
สถานีโทรทัศน์ที่หนึ่ง Russian government (51%), Roman Abramovich (24%), National Media Group (25%) 1995 www.1tv.ru
Spas TV Russian Orthodox Church of the Moscow Patriarchate 2006

วันหยุด

วันที่ ชื่อ ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษารัสเซีย อักษรซีริลลิก หมายเหตุ
1 มกราคม วันปีใหม่ Новый год (Novy god) Новогодние каникулы (Novogodniye kanikuly)
7 มกราคม วันคริสต์มาส Rozhdestvo Khristovo Рождество Христово ตามนิกายออร์ทอดอกซ์
13 มกราคม วันปีใหม่เดิมของรัสเซีย (Old-Calendar New Year) Новый год по старому календарю วันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินเก่า ซึ่งช้ากว่าปฏิทินเกรโกเรียนไป 13 วัน
23 กุมภาพันธ์ วันพิทักษ์ปิตุภูมิ (Homeland Defender’s Day) Den zashchitnika Otechestva День Защитника Отечества เพื่อรำลึกการก่อตั้ง กองทัพแดง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 เดิมรัสเซียเรียกวันนี้ว่า "วันกองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ" (День Советской Армии и Военно-Морского Флота; Den' Sovyetskoy Armii i Voyenno-Morskogo flota)
8 มีนาคม วันสตรีสากล Восьмое марта (Vosmoe marta) Международный Женский День วันหยุดสากลให้แก่ความเท่าเทียมทางเพศแก่สตรี
1 พฤษภาคม วันแรงงานสากล Первое Мая (May Day) День Солидарности Трудящихся ("International Day of Worker's Solidarity") มีการฉลองอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 และ 2 พฤษภาคม มีอีกชื่อหนึ่งว่า "วันแรงงานและเฉลิมฉลองเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ"
9 พฤษภาคม วันแห่งชัยชนะ (Victory Day) Den Pobedy День Победы วันสิ้นสุดของมหาสงครามของผู้รักชาติ ในสงครามโลกครั้งที่สอง
12 มิถุนายน วันประกาศอิสรภาพ (Independence Day) День России (Den Rossii) день независимости เป็นวันที่ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ประกาศแยกประเทศรัสเซียออกจากสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2534
4 พฤศจิกายน วันเอกภาพแห่งมวลชน (People’s Unity Day) Den narodnogo edinstva День Народного единства เป็นวันที่มีการรวมตัวกันของชาวมอสโกโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และสถานะในสังคมเพื่อทำการต่อต้านการรุกรานของโปแลนด์ที่เข้ามาในปี ค.ศ. 1612

ส่วนวันอีดทั้งสองของศาสนาอิสลามเป็นวันหยุดของ สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน สาธารณรัฐอินกุชเชเตีย สาธารณรัฐคาร์บาร์ดิโน-บัลกาเรีย ส่วนสาธารณรัฐบูเรียตียา และสาธารณรัฐคัลมืยคียา ก็ประกาศว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดเช่นกัน

อ้างอิง

  1. Matt Rosenberg. "Biggest Countries The Twenty Largest Countries in Area in the World". About.com. สืบค้นเมื่อ October 20, 2016.
  2. "The Russian federation: general characteristics". Federal State Statistics Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2011. สืบค้นเมื่อ April 5, 2008.
  3. 3.0 3.1 "ПРЕДВАРИТЕЛЬНАЯ ОЦЕНКА ЧИСЛЕННОСТИ ПОСТОЯННОГО НАСЕЛЕНИЯ на 1 января 2018 г. и в среднем за 2017 г." www.gks.ru. สืบค้นเมื่อ February 23, 2018.
  4. When including the Republic of Crimea and Sevastopol, the total population of Russia rises to 146,877,088.[3]
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Russia". www.imf.org.
  6. "Russia". World Bank.
  7. "Human Development Report 2016 – "Human Development for everyone"" (PDF). United Nations Development Programme. 2016. สืบค้นเมื่อ March 21, 2017.
  8. Steven Perlberg (11 December 2013). "Currency Geeks Rejoice, Russia Has A New Symbol For The Rouble". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  9. Howard Witt; Tribune Staff Writer (25 July 1993). "Russia's Older Rubles Suddenly Worthless". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  10. "ชื่อสหพันธรัฐรัสเซียและรัสเซียจักเสมอกัน". "The Constitution of the Russian Federation". (Article 1). สืบค้นเมื่อ 25 June 2009.
  11. Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
  12. "Russia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 31 January 2008.
  13. "Commission of the Russian Federation for UNESCO: Panorama of Russia". Unesco.ru. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.
  14. "Country Comparison :: Natural gas – production". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 3 February 2014.
  15. "International Energy Agency – Oil Market Report" (PDF). 18 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 May 2012. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  16. Library of Congress. "Topography and drainage". สืบค้นเมื่อ 26 December 2007.
  17. "Russia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 31 January 2008.
  18. 18.0 18.1 "Russia: A Country Study: Kievan Rus' and Mongol Periods". Excerpted from Glenn E. Curtis (ed.). Washington, DC: Federal Research Division of the Library of Congress. 1998. สืบค้นเมื่อ 20 July 2007.{{cite web}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  19. Michael Prawdin; Gérard Chaliand (2005). The Mongol empire: its rise and legacy. pp. 512–550.
  20. Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 475–504. doi:10.1111/0020-8833.00053.
  21. Peter Turchin, Thomas D. Hall and Jonathan M. Adams, "East-West Orientation of Historical Empires", Journal of World-Systems Research Vol. 12 (no. 2), pp. 219–229 (2006).
  22. Superpower politics: change in the United States and the Soviet Union Books.Google.com
  23. Weinberg, G.L. (1995). A World at Arms: A Global History of World War II. Cambridge University Press. p. 264. ISBN 0521558794.
  24. Rozhnov, Konstantin, Who won World War II?. BBC.
  25. "Country Profile: Russia". Foreign & Commonwealth Office of the United Kingdom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2009. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007.
  26. 26.0 26.1 "Status of Nuclear Powers and Their Nuclear Capabilities". Federation of American Scientists. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007.
  27. "Online Etymology Dictionary". Etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
  28. "Rus – definition of Rus by the Free Online Dictionary, Thesaurus and Encyclopedia". Thefreedictionary.com. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
  29. Milner-Gulland, R. R. (1997). The Russians: The People of Europe. Blackwell Publishing. pp. 1–4. ISBN 978-0-631-21849-4. สืบค้นเมื่อ 15 December 2016.
  30. "Definition of Russian". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 21 September 2016.
  31. World Time Zone: Russia
  32. Library of Congress. "Topography and Drainage". สืบค้นเมื่อ 2007-12-26.
  33. 33.0 33.1 Walsh, Nick Paton. "It's Europe's lungs and home to many rare species. But to Russia it's £100bn of wood". Guardian (UK). สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
  34. Fish Industry of Russia — Production, Trade, Markets and Investment. Eurofish, Copenhagen, Denmark. August 2006. p. 211. สืบค้นเมื่อ 26 December 2007.
  35. 35.0 35.1 35.2 "The World Factbook: Russia". CIA. สืบค้นเมื่อ 2008-12-20.
  36. 36.0 36.1 นริศรา พลายมาศ. จักรวรรดิรัสเซียก่อนล่มสลายสู่คอมมิวนิสต์. สำนักพิมพ์ก้าวแรก. ISBN 9786167446875.
  37. 37.0 37.1 "Russian Federation" (PDF). Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 24 February 2008.
  38. Sciolino, E. (21 December 1993). "U.S. is abandoning 'shock therapy' for the Russians". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 January 2008.
  39. "Russia: Clawing Its Way Back to Life (international edition)". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007.
  40. "Russia: Clawing Its Way Back to Life (international edition)". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007.
  41. 41.0 41.1 Branko Milanovic (1998). Income, Inequality, and Poverty During the Transformation from Planned to Market Economy. The World Bank. pp. 186–189.
  42. Jason Bush (19 October 2006). "What's Behind Russia's Crime Wave?". BusinessWeek Journal.
  43. "Russia pays off USSR's entire debt, sets to become crediting country". Pravda.ru. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007.
  44. Aslund A. "Russia's Capitalist Revolution" (PDF). สืบค้นเมื่อ 28 March 2008.
  45. 45.0 45.1 "The World Factbook". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019.
  46. Treisman, D. "Is Russia's Experiment with Democracy Over?". UCLA International Institute. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007.
  47. Stone, N (4 December 2007). "No wonder they like Putin". The Times. UK. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007.
  48. "The Constitution of the Russia Federation: Article 80". สืบค้นเมื่อ 9 January 2009.
  49. "The Constitution of the Russia Federation: Article 110". สืบค้นเมื่อ 9 January 2009.
  50. "Overview of the major Asian Powers" (PDF). International Institute for Strategic Studies: 31. สืบค้นเมื่อ 27 January 2008.
  51. Russia pilots proud of flights to foreign shores by David Nowak. The Associated Press, 15 September 2008
  52. "US drives world military spending to record high". Australian Broadcasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2006. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007.
  53. "Russia arms exports could exceed $7 bln in 2007 – Ivanov". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 27 January 2008.
  54. • Countries with the highest military spending in 2012 | Statistic
  55. Harding, Luke (9 February 2007). "Big rise in Russian military spending raises fears of new challenge to west". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 6 January 2008.
  56. 56.0 56.1 "Gross domestic product 2007, PPP" (PDF). The World Bank. สืบค้นเมื่อ 2008-12-20.
  57. "Russians weigh an enigma with Putin's protégé". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 2009-01-10.
  58. "Russia's economy under Vladimir Putin: achievements and failures". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.
  59. "Russia's unemployment rate down 10% in 2007 - report". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.
  60. "Russia — Unemployment rate (%)". indexmundi.com. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.
  61. 61.0 61.1 Jason Bush (2006-12-07). "Russia: How Long Can The Fun Last?". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 2009-01-13.
  62. Tavernise, Sabrina (23 March 2002). "Russia Imposes Flat Tax on Income, and Its Coffers Swell". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
  63. Rabushka, Alvin. "The Flat Tax at Work in Russia: Year Three". Hoover Institution. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
  64. "Global personal taxation comparison survey – market rankings". Mercer (consulting firms). สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
  65. "International Reserves of the Russian Federation in 2008". The Central Bank of the Russian Federation. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
  66. "Russia's foreign debt down 31.3% in Q3—finance ministry". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
  67. "Gross regional product by federal subjects of the Russian Federation 1998–2006". Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30. (รัสเซีย)
  68. The City Built on Oil: EU-Russia Summit Visits Siberia's Boomtown, Spiegel
  69. 69.0 69.1 "Russia Key facts: Energy". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
  70. "Rank Order - Oil - proved reserves". CIA. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
  71. "Rank Order - Natural gas - exports". CIA. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
  72. "Russia Factsheet". The Economist. 2008-12-16.
  73. "Russia fixed asset investment to reach $370 bln by 2010 - Kudrin". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
  74. "CEE Biweekly (page 6)" (PDF). UNESCO Institute for Statistics, UniCredit New Europe Research Network. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
  75. Cities with over 1 million population Rosstat
  76. Cities with population between 500,000 and 1 million Rosstat
  77. "Russian Census of 2002". 4.1. National composition of population. Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2008-01-16.
  78. "Demographics". Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  79. 79.0 79.1 "Demography". Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2008-03-05.
  80. The World Factbook. "Rank Order — Birth rate". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
  81. The World Factbook. "Rank Order — Death rate". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
  82. "The incredible shrinking people". The Economist. 2008-11-27.
  83. 83.0 83.1 "Russia's birth, mortality rates to equal by 2011 - ministry". RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 2008-02-10.
  84. "Russian Census of 2002". 4.3. Population by nationalities and knowledge of Russian; 4.4. Spreading of knowledge of languages (except Russian). Rosstat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
  85. "The Constitution of the Russian Federation". (Article 68, § 2). สืบค้นเมื่อ 27 December 2007.
  86. "Russian language". University of Toronto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2007. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007.
  87. "Russian Language History". Foreigntranslations.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  88. Matthias Gelbmann (19 March 2013). "Russian is now the second most used language on the web". W3Techs. Q-Success. สืบค้นเมื่อ 17 June 2013.
  89. "JAXA – My Long Mission in Space".
  90. Poser, Bill (5 May 2004). "The languages of the UN". Itre.cis.upenn.edu. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Russia
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Russia
รัฐบาล
อื่น ๆ