มหาวิหารนักบุญเบซิล
มหาวิหารนักบุญเบซิล | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Saint Basil's Cathedral | |||||||||||||||||||||
Собор Василия Блаженного | |||||||||||||||||||||
มหาวิหารนักบุญบาซิล | |||||||||||||||||||||
55°45′9″N 37°37′23″E / 55.75250°N 37.62306°E | |||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | จัตุรัสแดง, มอสโก | ||||||||||||||||||||
ประเทศ | รัสเซีย | ||||||||||||||||||||
นิกาย | รัสเซียนออร์ทอดอกซ์ | ||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ท่องเที่ยวกรุงมอสโก | ||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||
สถานะ | พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งรัฐ และใช้เป็นโบสถ์คริสต์ในบางโอกาส ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 | ||||||||||||||||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1555 | ||||||||||||||||||||
ผู้ก่อตั้ง | ซาร์อีวานที่ 4 | ||||||||||||||||||||
เสกเมื่อ | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1561[1] | ||||||||||||||||||||
สถาปัตยกรรม | |||||||||||||||||||||
สถาปนิก | ปอสต์นิก ยากอฟเลฟ[3] | ||||||||||||||||||||
ประเภทสถาปัตย์ | โบสถ์คริสต์ (Шатро́вые хра́мы) | ||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||
ความสูงอาคาร | 47.5 ม. (156 ฟุต)[2] | ||||||||||||||||||||
จำนวนโดม | 9 | ||||||||||||||||||||
|
มหาวิหารเซนต์บาซิล (อังกฤษ: Saint Basil's Cathedral; รัสเซีย: Собор Василия Блаженного) เป็นอาสนวิหารของศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย ตั้งอยู่ที่จัตุรัสแดง กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย สร้างโดยซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย หรือซาร์อีวานจอมโหด เพื่อฉลองชัยชนะเหนือพวกมองโกลที่กรีธาทัพมาเมืองคาซัน เมื่อปี ค.ศ. 1552 ผลจากชัยชนะครั้งนี้ทำให้รัสเซียสามารถรวมชาติได้เป็นปึกแผ่น จึงสร้างมหาวิหารแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1555 เดิมทีมหาวิหารเซนต์บาซิล เป็นเพียงโบสถ์ขนาดเล็กที่บรรจุศพของนักบุญวาซิลีหรือนักบุญบาซิล
มหาวิหารเซนต์บาซิลมีรูปทรงที่ไม่เหมือนโบสถ์อื่น คือมีโดม 8 โดมล้อมรอบโดมที่ 9 ที่อยู่ตรงกลาง ทำให้อาคารมีรูปทรงแปดเหลี่ยม ด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบรัสเซียโบราณอันได้รับอิทธิพลมาจากไบแซนไทน์ที่เป็นโดมทรงหัวหอมกับสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่ารัสเซียนกอธิก หอคอยสูงรูปกระโจมเป็นอิทธิพลจากยุโรปตะวันตก ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงกลายเป็นหอคอยสูงรูปแท่งเทียนกำลังลุกไหม้บนปลายลำเทียน ส่งความโชติช่วงชัชวาลย์เป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์
มหาวิหารนี้ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชื่อปอสต์นิก ยากอฟเลฟ (Postnik Yakovlev) และด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมจึงทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า ซาร์อีวานที่ 4 ทรงพอพระทัยในความงดงามของมหาวิหารแห่งนี้มาก จึงมีคำสั่งให้ปูนบำเหน็จแก่สถาปนิกผู้ออกแบบด้วยการควักดวงตาทั้งสอง เพื่อไม่ให้สถาปนิกผู้นั้นสามารถสร้างสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้อีก การกระทำในครั้งนั้นของพระเจ้าอีวานที่ 4 จึงเป็นที่มาของสมญานามอีวานผู้โหดร้าย (Ivan The Terrible)[5][6] บริเวณใกล้กันกับมหาวิหารเซนต์เบซิลขนาบข้างด้วยกำแพงเครมลิน เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานเลนินหรือสุสานเลนิน ซึ่งเก็บรักษาร่างของวลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำคนสำคัญของคอมมิวนิสต์ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปเคารพศพได้
โครงสร้าง
[แก้]ฐานรากเช่นเดียวกับอาคารอื่น ๆ ในมอสโกยุคกลาง สร้างด้วยหินสีขาวแบบดั้งเดิม ในขณะที่ตัวอาคารโบสถ์สร้างด้วยอิฐสีแดง ขนาด 28 x 14 x 8 ซม. (11.0 x 5.5 x 3.1 นิ้ว) ซึ่งเป็นวัสดุที่ค่อนข้างใหม่ในยุคนั้น[7] (โครงสร้างที่ก่อด้วยอิฐครั้งแรกในมอสโกคือ กำแพงเครมลินใหม่ ซึ่งเริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1485)[8] การสำรวจโครงสร้างแสดงให้เห็นว่าระดับชั้นใต้ดินอยู่ในระนาบอย่างสมบูรณ์ ซึ่งบ่งชี้ถึงการใช้การเขียนแบบและการวัดอย่างชำนาญ แต่ระดับที่สูงขึ้นมาแต่ละระดับจะมีความแม่นยำลดน้อยลงเรื่อย ๆ[9] ผู้ซ่อมแซมซึ่งทำการเปลี่ยนแทนที่ส่วนต่าง ๆ ของอิฐในปี ค.ศ. 1954–1955 พบว่ากำแพงอิฐขนาดใหญ่ปิดบังกรอบไม้ภายในที่ทอดยาวตลอดความสูงของโบสถ์[10][11] กรอบนี้ทำขึ้นจากการเข้าไม้แผ่นบาง ๆ อย่างประณีต โดยทำขึ้นเพื่อเป็นแบบจำลองเชิงพื้นที่ขนาดเท่าคนจริงของอาสนวิหารในช่วงเริ่มก่อสร้าง จากนั้นจึงค่อยปิดล้อมด้วยอิฐ[10][11]
การก่อสร้างซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในยุคนั้นมีจุดเด่นที่ความยืดหยุ่น[12] โดยใช้อิฐเป็นวัสดุในการตกแต่งทั้งภายในและภายนอก และให้มีงานก่ออิฐเปลือยไว้ให้มากที่สุด เมื่ออาคารต้องใช้กำแพงหิน มันถูกตกแต่งด้วยการก่ออิฐที่ฉาบทับด้วยลายปูนปั้น[12] สิ่งใหม่ที่สำคัญที่เริ่มต้นในการสร้างโบสถ์แห่งนี้คือสถาปัตยกรรมการตกแต่งภายนอกอย่างเคร่งครัด[13] ประติมากรรมและสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประดับในสถาปัตยกรรมรัสเซียรุ่นก่อนหายไปทั้งหมด ส่วนลายประดับรูปดอกไม้ของอาคารถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลัง[13] โบสถ์มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจากโครงสร้างสามมิติที่หลากหลายซึ่งทำด้วยอิฐแทน
ดูเพิ่ม
[แก้]- คริสต์ศาสนสถาน
- มหาวิหาร
- ส่วนประกอบของคริสต์ศาสนสถาน
- แผนผังมหาวิหาร (ผังแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของโบสถ์)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Popova, Natalia (12 กรกฎาคม 2011). "St. Basil's: No Need to Invent Mysteries". Moscow, Russia: Ria Novosti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
- ↑ "Cathedral of the Protecting Veil of the Mother of God". www.SaintBasil.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2013.
- ↑ "List of federally protected landmarks". Ministry of Culture. 1 มิถุนายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2009.
- ↑ "Kremlin and Red Square, Moscow". Whc.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
- ↑ "มหาวิหารเซนต์เบซิล ST. BASIL'S CATHEDRAL กรุงมอสโก รัสเซีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-13. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
- ↑ "Ioannes Severus dictus (1530–1584), inde ab anno 1533 magnus princeps Moscoviensis"[1].
- ↑ Komech, Pluzhnikov p. 399
- ↑ Komech, Pluzhnikov p. 267
- ↑ Brunov, p. 45
- ↑ 10.0 10.1 Komech, Pluzhnikov p. 402
- ↑ 11.0 11.1 Brunov, p. 47
- ↑ 12.0 12.1 Komech, Pluzhnikov p. 49
- ↑ 13.0 13.1 Shvidkovsky, p. 129
บรรณานุกรม
[แก้]- Brunov, N. I. (1988). Hram Vasilia Blazhennogo v Moskve (Храм Василия Блаженного в Москве. Покровский собор) (ภาษารัสเซีย). Iskusstvo.
- Komech, Alexei I.; Pluzhnikov, V. I., บ.ก. (1982). Pamyatniku arhitektury Moskvy. Kremlin, Kitai Gorod, tsentralnye ploschadi (Памятники архитектуры Москвы. Кремль, Китай-город, центральные площади) (ภาษารัสเซีย). Iskusstvo.
- Shvidkovsky, D. S. (2007). Russian architecture and the West. Yale University Press. ISBN 978-0-300-10912-2.