ทวีปยูเรเชีย
![]() | |
พื้นที่ | 55,000,000 ตารางกิโลเมตร (21,000,000 ตารางไมล์) |
---|---|
ประชากร | 5.4 พันล้านคน (ณ ค.ศ. 2023)[1][2] |
ความหนาแน่น | 93 ต่อตารางกิโลเมตร (240 ต่อตารางไมล์) |
เดมะนิม | ชาวยูเรเชีย (Eurasian) |
ประเทศ | ~93 ประเทศ |
ดินแดน | 9 ดินแดน |
เขตเวลา | UTC−1 ถึง UTC+12 |
ส่วนหนึ่งของ | ทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชีย |
ทวีปยูเรเชีย (อังกฤษ: Eurasia) ประกอบด้วยทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย[3][4] นักภูมิศาสตร์บางส่วนรายงานว่า ยูเรเชียถือเป็นมหาทวีปเดียวตามลักษณะทางกายภาพ[4] แนวคิดยุโรปและเอเชียเป็นทวีปเฉพาะมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่เส้นแบ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดประวัติศาสตร์ เช่น ชาวกรีกโบราณมองว่า พื้นที่เอเชียรวมทวีปแอฟริกา แต่พื้นที่ของพวกเขาจัดให้เป็นยุโรป[5] ถ้าเป็นพื้นที่ต่างหาก ยูเรเชียเชื่อมกับทวีปแอฟริกาที่คลองสุเอซ และบางครั้งสองทวีปนี้ถูกรวมกันเพื่อระบุพื้นที่แผ่นดินที่ต่อเนื่องกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชีย[6]
ประวัติ
[แก้]ทวีปยูเรเชียเป็นที่ตั้งของอารยธรรมโบราณหลายแห่ง เช่น อารยะธรรมในเมโสโปเตเมีย, ลุ่มแม่น้ำสินธุ และจีน ในยุคแกนหลัก (Axial Age; กลางสหัสวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ.) เขตอารยธรรมที่ต่อเนื่องกันทอดยาวผ่านเขตกึ่งร้อนของยูเรเซียตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก เขตนี้กลายเป็นกระแสหลักของประวัติศาสตร์โลกมาเป็นเวลาสองพันปี
ความเชื่อมโยงใหม่เกิดขึ้นระหว่างอนุภูมิภาคของยูเรเชียตั้งแต่ยุคแห่งการสำรวจเป็นต้นมา โดยชาวไอบีเรียค้นพบเส้นทางเดินเรือใหม่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1490[7] และการขุดคลองสุเอซแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1869 ไดปูทางให้ผ่านอินโด-เมดิเตอร์เรเนียนได้โดยตรง และคลื่น"จักรวรรดินิยมใหม่"ของยุโรปตะวันตกที่เข้ายึดครองแอฟริกากับเอเชียจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[8] จากนั้นการปรากฏตัวของคอมมิวนิสต์ในยูเรเชีย (โดยหลักขับเคลื่อนโดยสหภาพโซเวียต) ครอบครองทวีปหลายส่วนจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเย็นใน ค.ศ. 1991[9]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ยูเรเชียโดยหลักอยู่ในซีกโลกเหนือและซีกโลกตะวันออก มีขอบเขตจากไอซ์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรียทางตะวันตกถึงรัสเซียตะวันออกไกล และจากเหนือสุดของรัสเซียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรทางใต้ แต่ขอบเขตเฉพาะทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ได้แก่เส้นเวเบอร์ ยูเรเชียมีขอบเขตติดแอฟริกาทางตะวันตกเฉียงใต้ มหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก มหาสมุทรอาร์กติกทางเหนือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก และอินโด-เมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ การแบ่งยุโรปและเอเชียเป็นสองทวีปเป็นผลทางสังคม เนื่องจากทั้งสองไม่เข้ากับนิยามของทวีปตามปกติ ดังนั้น ในบางส่วนของโลก ยูเรเชียจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดจากทวีปทั้ง 6, 5 หรือ 4 ทวีปบนโลก[4]
ยูเรเชียครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 55 ล้าน ตารางกิโลเมตร (21 ล้าน ตารางไมล์) หรือประมาณร้อยละ 36.2 ของพื้นที่โลกทั้งหมด แผ่นดินนี้มีคนอยู่มากกว่า 5 พันล้านคน เทียบเท่าประมาณร้อยละ 70 ของประชากรมนุษย์ มนุษย์เข้าตั้งถิ่นฐานจากแอฟริกาไปยังยูเรเชียเมื่อ 125,000 ปีก่อน
ยูเรเชียมีคาบสมุทรหลายแห่ง เช่น คาบสมุทรอาหรับ, คาบสมุทรเกาหลี, อนุทวีปอินเดีย,[a] คาบสมุทรอานาโตเลีย, คาบสมุทรคัมชัตคา และยุโรปที่มีคาบสมุทรเป็นของตนเอง เช่น คาบสมุทรอิตาลีหรือไอบีเรีย
เนื่องจากมีขนาดและความแต่กต่างในละติจูดจำนวนมาก ทำให้ยูเรเชียมีภูมิภาคทุกประเภทตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิร้อนและเย็นที่รุนแรงที่สุด ปริมาณน้ำฝนสูงและต่ำ และระบบนิเวศประเภทต่าง ๆ
ยูเรเชียถือเป็นมหาทวีป ส่วนหนึ่งของมหาทวีปแอฟโร-ยูเรเชีย หรือเป็นทวีปต่างหาก[10] ในการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค แผ่นยูเรเชียรวมยุโรปและเอเชียส่วนใหญ่ แต่ไม่นับอนุทวีปอินเดีย คาบสมุทรอาหรับ หรือพื้นที่ตะวันออกไกลของรัสเซีย ตรงบริเวณทิวเขาเชียร์สกี
จากมุมมองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ยูเรเชียแบ่งแบบหลวมเป็น ยูเรเชียตะวันตก และ ยูเรเชียตะวันออก[11]
ธรณีวิทยา
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ แม้ว่าเป็นอนุทวีป คำนิยามคาบสมุทรสามารถใช้ได้กับอินเดียตอนใต้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Population of Europe (2023) - Worldometers". www.worldometers.info. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2023. สืบค้นเมื่อ 1 January 2023.
- ↑ "Population of Asia (2023) - Worldometers". www.worldometers.info. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2022. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
- ↑ Nield, Ted. "Continental Divide". Geological Society. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 8 August 2012.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 McDaniel, Melissa; Sprout, Erin; และคณะ (20 September 2011). "How many continents are there?". Continent. National Geographic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2019. สืบค้นเมื่อ 27 July 2017.
By convention there are seven continents: Asia, Africa, North America, South America, Europe, Australia, and Antarctica. Some geographers list only six continents, combining Europe and Asia into Eurasia. In parts of the world, students learn that there are just five continents: Eurasia, Australia (Oceania), Africa, Antarctica, and the Americas.
- ↑ Wiesner-Hanks, Merry E. (2006). Early Modern Europe, 1450–1789. Cambridge University Press. p. 2. ISBN 9780521005210. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2023. สืบค้นเมื่อ 5 August 2022.
- ↑ McColl, R. W., บ.ก. (2005). 'continents' – Encyclopedia of World Geography, Volume 1. Golson Books Ltd. p. 215. ISBN 9780816072293. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2016. สืบค้นเมื่อ 26 June 2012.
And since Africa and Asia are connected at the Suez Peninsula, Europe, Africa, and Asia are sometimes combined as Afro-Eurasia or Eurafrasia.
- ↑ "Vasco da Gama, Portugal's Columbus, Is Just as Controversial". HowStuffWorks (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-08-27. สืบค้นเมื่อ 2024-11-12.
- ↑ "Behind the Enduring Relevance of the Suez Canal Is the Long Shadow of European Colonialism". The Wire (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-10-04.
- ↑ Beissinger, Mark R. (2009). "Nationalism and the Collapse of Soviet Communism". Contemporary European History (ภาษาอังกฤษ). 18 (3): 331–347. doi:10.1017/S0960777309005074. ISSN 1469-2171.
- ↑ "Pangaea Supercontinent". Geology.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2011. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
- ↑ Sengupta, Anita (2009). Heartlands of Eurasia: The Geopolitics of Political Space. Lexington Books. p. 25.
Anthropologically, historically and linguistically Eurasia is more appropriately, though vaguely subdivided into West Eurasia (often including North Africa) and East Eurasia
อ่านเพิ่ม
[แก้]- The Dawn of Eurasia: On the Trail of the New World Order by Bruno Maçães, Publisher: Allen Lane
- Newton, Julie; Tompson, William (2010). Institutions, Ideas and Leadership in Russian Politics. Palgrave Macmillan. doi:10.1057/9780230282940. ISBN 9780230282940.
- D. Lane, V. Samokhvalov, The Eurasian Project and Europe Regional Discontinuities and Geopolitics, Palgrave: Basingstoke (2015)
- V. Samokhvalov, The new Eurasia: post-Soviet space between Russia, Europe and China, European Politics and Society, Volume 17, 2016 – Issue sup1: The Eurasian Project in Global Perspective (Journal homepage)
- Lewis, Martin W.; Wigen, Kären E. (1997). The Myth of Continents: a Critique of Metageography. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-20743-1.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Eurasia