ข้ามไปเนื้อหา

การผนวกไครเมียโดยสหพันธรัฐรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • วิกฤตการณ์ไครเมีย
  • การผนวกไครเมีย
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตยูเครน, ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน และสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินลงนามสนธิสัญญาการครอบครองกับผู้นำไครเมียที่มอสโก 18 มีนาคม ค.ศ. 2014
วันที่20 กุมภาพันธ์[หมายเหตุ 1] – 26 มีนาคม ค.ศ. 2014[6]
(1 เดือน และ 6 วัน)
สถานที่
ผล
คู่สงคราม
 รัสเซีย  ยูเครน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
วลาดีมีร์ ปูติน
รัสเซีย ดมีตรี เมดเวเดฟ
รัสเซีย เซียร์เกย์ ชอยกู
รัสเซีย วาเลรี เกราซีมอฟ
รัสเซีย อเล็กซันดร์ วิตกอ
รัสเซีย โอเลก เบโลเวนต์เซฟ
รัสเซีย อเล็กเซย์ ดยูมิน
สาธารณรัฐไครเมีย เซอร์เกย์ อักเซียวนอฟ
สาธารณรัฐไครเมีย วลาดีมีร์ กอนสตันตีนอฟ
สาธารณรัฐไครเมีย วิกตอร์ ปโชนกา
สาธารณรัฐไครเมีย รุสตัม เตมีร์กาเลียฟ
เซวัสโตปอล อเล็กเซ ชาลีย์
โอเลกซันดร์ ตูร์ชีย์นอฟ
ยูเครน อาร์เซนีย์ ยัตเซนยุก
ยูเครน อีฮอร์ เตนยุค
ยูเครน มีย์คาเลียว คุตซึน
ยูเครน เซอร์ฮีย์ ฮัยดุก
ยูเครน อาร์เซน อาวากอฟ
ยูเครน วาเลนติน นาลึยไวเชนโก
ยูเครน อันดรีย์ ปารูบีย์
สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย อานาโตลี โมฮึยเลียฟ
สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย เซอร์ฮีย์ คูนิตซึน
เรฟัต ชูบารอฟ
มุสตาฟา เซมีเลฟ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

ฐานในไครเมีย
มีดังนี้

  • 510th Naval Inf Bde (ฟีโอโดซียา)
  • 810th Naval Inf Bde (ซิมเฟโรปอล)

ส่งไปไครเมีย มีดังนี้

[19]

กองทัพ

  • 36th Mech Coastal Defence Bde (ที่เปเรวัลเน)
  • 1st Naval Inf Bn (ฟีโอโดซียา)
  • 501st Naval Inf Bn (เคียร์ช)
  • 56th Gds Bn (เซวัสโตปอล)
  • 406th Artillery Bde (ซิมเฟโรปอล)
  • 37th Comms and Control Rgt (เซวัสโตปอล)

กองกำลังภายใน

  • 9th Interior Troops Bde (ซิมเฟโรปอล)
  • 42nd Interior Troops Bde (เซวัสโตปอล)
  • 47th Interior Troops Bde (ฟีโอโดซียา)
  • 15th Interior Troops Bn (เยฟปาโตเรีย)
  • 18th Mot Police Bn (ฮัสปรา)

กองกำลังชายแดน

  • Special-Purpose Border Guard Bn (ยัลตา)
[20]
กำลัง

ผู้ประท้วง

หน่วยอาสาสมัคร[22][24]

  • 5,000 (เซวัสโตปอล)
  • 1,700 (ซิมเฟโรปอล)

กองทัพรัสเซีย

  • 20,000–30,000 นาย[25]

ผู้ประท้วง

  • 4,000–10,000 (ซิมเฟโรปอล)[26][27]

กองทัพยูเครน

  • 5,000–22,000 นาย[28][29]
  • กองหนุน 40,000 นาย เคลื่อนพลบางส่วน (นอกไครเมีย)[30]
ความสูญเสีย
ทหาร SDF ไครเมียถูกฆ่า 1 นาย[31]
  • ทหารถูกฆ่า 2 นาย[32]
  • ทหารถูกกุมขัง 60–80 นาย[33]
  • เจ้าหน้าที่ 9,268 นายกับข้าราชการพลเรือน 7,050 คนแปรพักตร์[34][35]
ประชาชนเสียชีวิต 2 คนในช่วงการประท้วง ถูกฆ่า 1 คนโดย "กองกำลังป้องกันตนเองไครเมีย"ภายใต้การนำของอดีตเจ้าหน้าที่ของกองทัพรัสเซีย[36][37][38][39][40][41]

วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 เป็นวิกฤตการณ์ทางการทูตในเขตปกครองตนเองไครเมีย ประเทศยูเครน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติยูเครน พ.ศ. 2557 ซึ่งโค่นรัฐบาลประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูคอวิชในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซียบางกลุ่มจัดการประท้วงคัดค้านเหตุการณ์ในเคียฟ และต้องการความสัมพันธ์หรือบูรณาการกับประเทศรัสเซียใกล้ชิดยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการเพิ่มอัตตาณัติหรือให้เอกราชแก่ไครเมียถ้าเป็นไปได้[42] การประท้วงบางจุดมิได้ทั้งเกิดขึ้นเองหรือจำกัดอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งทั้งหมด[43] กลุ่มอื่น ซึ่งที่โดดเด่นประกอบด้วยชาวตาตาร์ไครเมียและชาติพันธุ์ยูเครน เดินขบวนสนับสนุนการปฏิวัติ[44] ยานูคอวิชที่ถูกโค่นอำนาจลี้ภัยไปยังรัสเซีย และเรียกร้องให้กองทัพรัสเซียเข้าแทรกแซงและรักษา "กฎหมายและความสงบเรียบร้อย" ในยูเครน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไครเมีย อย่างลับ ๆ[45]

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ทหารติดอาวุธและสวมหน้ากากโดยไม่มีเครื่องยศซึ่งมีพฤติการณ์นิยมรัสเซียยึดอาคารสำคัญจำนวนหนึ่งในไครเมีย รวมทั้งอาคารรัฐสภาและท่าอาากศยานสองแห่ง[46][47] [48] กลุ่มชายดังกล่าวทำลายโทรคมนาคมและบริการอินเทอร์เน็ตแทบทั้งหมดระหว่างไครเมียกับยูเครนส่วนที่เหลือ[49] ภายใต้การปิดล้อมและมีผู้ชุมนุมอยู่ภายใน สภาไครเมียสูงสุดปลดรัฐบาลของสาธารณรัฐปกครองตนเองและเปลี่ยนตัวประธานสภารัฐมนตรีไครเมีย อะนาโทลีย์ มอฮิลอว์ (Anatolii Mohyliov) เป็นเซร์ฮีย์ อัคซอนอว์ (Sergey Aksyonov)[50] กองกำลังรัสเซียซึ่งประจำอยู่ในไครเมียตามความตกลงทวิภาคีได้รับการเสริมกำลังและเรือรบสองลำจากกองเรือบอลติกของรัสเซียละเมิดน่านน้ำยูเครน[51][52] รัฐบาลยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าแทรกแซงกิจการภายในของยูเครน ขณะที่ฝ่ายรัสเซียปฏิเสธการกล่าวหาดังกล่าวอย่างเป็นทางการ[53]

วันที่ 1 มีนาคม รัฐสภารัสเซียให้อำนาจประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินใช้กำลังทหารในยูเครน หลังมีการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้นำนิยมรัสเซียอย่างไม่เป็นทางการที่เพิ่งได้รับแต่งตั้ง เซร์ฮีย์ อัคซอนอว์[54][55] รักษาการประธานาธิบดียูเครน โอเล็กซันดร์ ทูร์ชินอฟ (Oleksandr Turchynov) มีคำสั่งว่าการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไครเมียไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[56][57] แหล่งข่าวฝ่ายนิยมรัฐบาลอ้างว่าอาจมีการปลอมแปลงระหว่างการลงมติจัดการลงประชามติเอกราชปี 2557 และการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในไครเมีย[58] สำนักงานอัยการสูงสุดแถลงว่า ผลใด ๆ จากการลงประชามติแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งยูเครนและไครเมีย ซึ่งต้องมีการลงประชามติทั่วประเทศ[59] ผู้นำชาวตาตาร์ไครเมียกล่าวว่าพวกตนจะไม่เข้าร่วมหรือยอมรับการลงประชามติแยกประเทศใด ๆ[60]

วันที่ 2 มีนาคม ยูเครนประกาศพร้อมรบเต็มกำลังและระดมพลทั่วประเทศ[61] รองนายกรัฐมนตรีไครเมีย Rustam Temirgaliev รายงานว่ากองกำลังติดอาวุธทั้งหมดในดินแดนไครเมียล้วนถูกปลดอาวุธหรือเปลี่ยนฝ่ายแล้ว[62] กระทรวงกลาโหมยูเครนอ้างว่ารายงานเหล่านี้ไม่เป็นความจริง[63][64] ไม่นานจากนั้น หัวหน้ากองทัพเรือยูเครน Denis Berezovsky ประกาศในแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ว่าเขาปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจากรัฐบาลที่ประกาศตนเองในเคียฟและประกาศความภักดีต่อทางการและประชาชนไครเมีย นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมิทรี เมดเวเดฟ ประณามรัฐบาล Yatsenyuk ว่าไม่ชอบธรรม[65] วันที่ 3 มีนาคม กองกำลังนิยมรัสเซียที่ไม่มีเครื่องยศยึดท่าเรือ Port Krym ใน Kerch ซึ่งมีเรือข้ามฟากไปยัง Port Kavkaz ในรัสเซีย[66][67] กองทัพเรือรัสเซียเริ่มการฝึกซ้อมทางทหารในมณฑลคาลินินกราด ใกล้กับพรมแดนลิทัวเนียและโปแลนด์[68][69] ประธานาธิบดีลิทัวเนียและโปแลนด์เรียกร้องการหารือตามสนธิสัญญาเนโท ข้อ 4[70][71] วันเดียวกัน ช่องโทรทัศน์ที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของบางส่วน แชแนลวันรัสเซีย ออกรายงานเน้นว่า ชาวยูเครน 140,000 คนได้หลบหนีมายังรัสเซียผ่านพรมแดน ซึ่งได้เกิดการโต้เถียงเพราะรายงานดังกล่าวรวมภาพการจราจรติดขัดบนถนนไปยังโปแลนด์ มิใช่รัสเซีย[72][73]

สภาแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรปจะจัดการประชุมสุดยอดผู้นำฉุกเฉินในประเด็นดังกล่าว[74][75] สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนีและสหภาพยุโรปประณามรัสเซีย โดยกล่าวหาว่ารัสเซียละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดอธิปไตยของยูเครน

วันที่ 4 มีนาคม ปูตินหยุดการฝึกซ้อมทางทหารและถอนกำลังกลับจากพรมแดนยูเครน[76] ปูตินแถลงในการจัดประชุมผู้สื่อข่าวว่าทหารที่ยึดครองฐานทัพมิใช่ทหารรัสเซีย หากแต่เป็นกำลังป้องกันตนเองท้องถิ่น เขากล่าวว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะส่งกองกำลังเข้าไปในยูเครน แต่รัสเซียสงวนสิทธิที่จะใช้ทุกวิถีทางเป็นทางเลือกสุดท้ายต่อความเสี่ยงเกิดอนาธิปไตย[77] ปูตินแถลงสนับสนุนการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของชาวไครเมียเพื่อตัดสินสถานภาพของตนเกี่ยวกับยูเครน แต่อ้างว่ารัสเซียจะไม่ผนวกไครเมียด้วยกำลัง[78]

สภาไครเมียสูงสุดลงมติเมื่อสมัยประชุมวันที่ 6 มีนาคม ว่าด้วยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัว หลังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครนมานานกว่า 6 ทศวรรษ[14] การวินิจฉัยของสภาสูงสุดจะถูกเสนอต่อชาวไครเมียผ่านการลงประชามติหากรัสเซียรับคำร้องดังกล่าว การลงประชามติเดิมประกาศกำหนดไว้เป็นวันที่ 30 มีนาคม จะเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 16 มีนาคม 2557 และคำถามจะถูกเปลี่ยนเพื่อสะท้อนการลงมติเมื่อวันที่ 6 มีนาคมของสภาสูงสุดว่าจะสนองรับการรวมชาติกับรัสเซียหรือไม่[14]

ในวันที่ 9 มีนาคม ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน โทรศัพท์ถึงนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด แคเมอรอน โดยปกป้องการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวออกของผู้นำไครเมียนิยมรัสเซีย โดยกล่าวว่า พฤติการณ์ของพวกเขามุ่งเพื่อปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชากรในพื้นที่ อย่างไรก็ดี แมร์เกิลบอกปูตินว่า การลงประชามติดังกล่าวละเมิดรัฐธรรมนูญยูเครนและขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ[79]

วันที่ 11 มีนาคม รัฐสภาไครเมียลงมติและอนุมัติคำประกาศอิสรภาพสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอลจากยูเครน ตั้งเป็นสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีมติเห็นชอบ 78 เสียง จากทั้งหมด 100 เสียง[80]

วันที่ 15 มีนาคม รัสเซียยับยั้งข้อมติสหประชาชาติที่ประกาศให้การลงประชามติที่จะมีในวันรุ่งขึ้นว่าด้วยสถานภาพในอนาคตของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียไม่สมบูรณ์ มีประเทศสมาชิก 13 ประเทศเห็นชอบ ได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก ชิลี อาร์เจนตินา ลิทัวเนีย จอร์แดน ไนจีเรีย ชาด รวันดา ออสเตรเลียและเกาหลีใต้ ส่วนจีนงดออกเสียง[81] ต่อมาวันที่ 16 มีนาคม ชาวไครเมียออกเสียงในการลงประชามติว่าจะเข้าร่วมกับรัสเซียอีกครั้งหรือคืนสู่สถานภาพก่อนรัฐธรรมนูญปี 2535 รัฐมนตรีกลาโหมยูเครนและรัสเซียตกลงพักรบในไครเมียกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม[82]

วันที่ 17 มีนาคม รัฐสภาไครเมียประกาศอิสรภาพจากยูเครนอย่างเป็นทางการ และขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัว[83] รัสเซียรับรองเอกราชของไครเมียในวันเดียวกัน[84]

วันที่ 27 มีนาคม สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติไม่มีผลผูกมัดประกาศให้การลงประชามติไครเมียที่รัสเซียหนุนหลังเป็นโมฆะ โดยมี 100 ประเทศลงมติรับ 11 ประเทศลงมติไม่รับ และ 58 ประเทศงดออกเสียง[85]

วันที่ 15 เมษายน รัฐสภายูเครนประกาศว่าไครเมียเป็นดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดครองชั่วคราว[86]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ยังคงมี "ความขัดแย้งและปัญหาโดยธรรมชาติบางส่วน" ในวันที่ที่เริ่มมีการผนวก[1] ยูเครนอ้างให้วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 เป็นวันที่ "เริ่นต้นของการยึดครองไครเมียและเซวัสโตปอลชั่วคราวโดยรัสเซีย" โดยอิงถึงเส้นเวลาของเหรียญ "สำหรับการนำไครเมียกลับคืน"จากรัสเซีย[2] และใน ค.ศ. 2015 รัฐสภายูเครนกำหนดวันดังกล่าวอย่างเป็นทางการ[3] ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 ประธานาธิบดีปูตินกล่าวถึงภาพยนตร์รัสเซียเกี่ยวกับการผนวกไครเมียว่า เขาดำเนินปฏิบัติการเพื่อ "ฟื้นฟู" ไครเมียกลับไปเป็นของรัสเซียหลังการประชุมด่วนทั้งคืนวันที่ 22–23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014[1][4] และใน ค.ศ. 2018 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียอ้างว่า "วันเริ่มต้น" อันแรกบนเหรียญมาจาก "ความเข้าใจผิดทางเทคนิค"[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 McDermott, Roger N. (2016). "Brothers Disunited: Russia's use of military power in Ukraine". ใน Black, J.; Johns, Michael (บ.ก.). The Return of the Cold War: Ukraine, the West and Russia. London. pp. 99–129. doi:10.4324/9781315684567-5. ISBN 978-1-138-92409-3. OCLC 909325250.
  2. "7683rd meeting of the United Nations Security Council. Thursday, 28 April 2016, 3 p.m. New York". Mr. Prystaiko (Ukraine): <...> In that regard, I have to remind the Council that the official medal that was produced by the Russian Federation for the so-called return of Crimea has the dates on it, starting with 20 February, which is the day before that agreement was brought to the attention of the Security Council by the representative of the Russian Federation. Therefore, the Russian Federation started – not just planned, but started – the annexation of Crimea the day before we reached the first agreement and while President Yanukovych was still in power.
  3. (ในภาษายูเครน) "Nasha" Poklonsky promises to the "Berkut" fighters to punish the participants of the Maidan, Segodnya (20 มีนาคม 2016)
  4. "Putin describes secret operation to seize Crimea". Yahoo News. 8 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2015.
  5. "Russia's Orwellian "diplomacy"". unian.info. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
  6. Kofman, Michael (2017). Lessons from Russia's Operations in Crimea and Eastern Ukraine (PDF). Santa Monica: RAND Corporation. ISBN 978-0-8330-9617-3. OCLC 990544142. By March 26, the annexation was essentially complete, and Russia began returning seized military hardware to Ukraine.
  7. Courtney Weaver (15 มีนาคม 2015). "Putin was ready to put nuclear weapons on alert in Crimea crisis". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2016.
  8. Аваков назвав захоплення аеропортів в Криму озброєним вторгненням і окупацією [Avakov called the seizure of airports in Crimea an armed invasion and occupation] (ภาษายูเครน). Ukrinform. 28 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2016.
  9. "Ukrainian soldiers on border with Crimea pray for peace, prepare for war". Kyiv Post. 26 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2015.
  10. "Besieged Ukrainian soldiers DEFECT to Russia as Kiev prepares to pull 25,000 troops and their families out of Crimea". Georgia Newsday. 20 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2015.
  11. Bridget Kendall (2 มีนาคม 2014). "New head of Ukraine's navy defects in Crimea". BBC. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2015.
  12. Weiss, Michael (1 มีนาคม 2014). "Russia Stages a Coup in Crimea". The Daily Beast. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2014.
  13. Gumuchian, Marie-Louise; Smith-Spark, Laura; Formanek, Ingrid (27 กุมภาพันธ์ 2014). "Gunmen seize government buildings in Ukraine's Crimea, raise Russian flag". CNN. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014.
  14. 14.0 14.1 14.2 "Ukraine crisis: Crimea parliament asks to join Russia". BBC News. 6 มีนาคม 2014.
  15. "Putin signs treaty to add Crimea to map of Russia". The Concord Monitor. 19 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2014.
  16. "Ukraine 'preparing withdrawal of troops from Crimea'". BBC News. 19 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2014.
  17. "Putin signs laws on reunification of Republic of Crimea and Sevastopol with Russia". ITAR TASS. 21 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2014.
  18. Matthew Fisher (24 มีนาคม 2014). "Russia suspended from G8 over annexation of Crimea, Group of Seven nations says". National Post. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2015.
  19. Galeotti, Mark (2019). Armies of Russia's War in Ukraine. Elite 228. Oxford: Osprey Publishing. p. 11. ISBN 978-1-4728-3344-0.
  20. Galeotti, Mark (2019). Armies of Russia's War in Ukraine. Elite 228. Oxford: Osprey Publishing. p. 12. ISBN 978-1-4728-3344-0.
  21. "Russian Citizen Elected Sevastopol Mayor Amid Pro-Moscow Protests in Crimea". The Moscow Times. 24 กุมภาพันธ์ 2014.
  22. 22.0 22.1 "Ukraine leader Turchynov warns of 'danger of separatism'". Euronews. 25 กุมภาพันธ์ 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2014.
  23. "Russian flags flood Crimean capital as thousands back takeover by Russia". The Straits Times. 9 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2014.
  24. "Pro-Russian rally in Crimea decries Kiev 'bandits'". The Washington Post. 25 กุมภาพันธ์ 2014.
  25. Pollard, Ruth (13 มีนาคม 2014). "Russia closing door on Crimea as troops build up". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2014.
  26. "Crimean Tatars, pro-Russia supporters approach Crimean parliament building". UA. Interfax. 20 ตุลาคม 2012.
  27. "Russia puts military on high alert as Crimea protests leave one man dead". The Guardian. 26 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014.
  28. Ewen MacAskill, defence correspondent (28 กุมภาพันธ์ 2014). "Ukraine military still a formidable force despite being dwarfed by neighbour". The Guardian.
  29. "Putin Talks Tough But Cools Tensions Over Ukraine". NPR. 4 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2014.
  30. Faiola, Anthony (17 มีนาคม 2014). "Ukraine mobilizes reservists but relies on diplomacy". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2014.
  31. Heather Saul; Kim Sengupta (19 มีนาคม 2014). "Ukraine crisis: Pro-Russian troops storm naval base as Clinton warns of 'aggression' from Putin". The Independent. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2015.
  32. "Russian marine kills Ukraine navy officer in Crimea, says ministry". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2014.
  33. Aleksander Vasovic; Gabriela Baczynska (24 มีนาคม 2014). "Ukraine military to pull out from Crimea". The Sudbury Star. Reuters. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2014.
  34. "Russia employs over 16,000 former servicemen and personnel of Ukrainian armed forces". TASS. 15 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2020.
  35. "Бывшие украинские военнослужащие вливаются в Вооруженные Силы РФ" [Former Ukrainian military join the Russian Armed Forces]. Novyy Sevastopol (new-sebastopol.com). 25 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2020.
  36. ФСБ и крымские "потеряшки" - FSB and Crimean "losses" — RFEL, 13 มิถุนายน 2016
  37. Гюндуз Мамедов, прокурор АР Крим: "Під процесуальним керівництвом прокуратури АР Крим розкрито викрадення кримськотатарського активіста Решата Аметова" - Gunduz Mamedov, Prosecutor of the Autonomous Republic of Crimea: "Under the procedural guidance of the Prosecutor's Office of the Autonomous Republic of Crimea, the abduction of Crimean Tatar activist Reshat Ametov has been revealed" — Prosecutor's office of the Autonomous Republic of Crimea and Sevastopol city, 10 กันยายน 2019
  38. "Two die in rallies outside Crimean parliament, says ex-head of Mejlis". Kyiv Post. 26 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014.
  39. JC Finley (27 กุมภาพันธ์ 2014). "Unrest in Crimea leaves 2 dead; government buildings seized". United Press International. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2014.
  40. Погибший крымский татарин шел в военкомат, захваченный "дружинниками" [The deceased was a Crimean Tatar on his way to enlist when he was captured "vigilantes"]. LB.ua (ภาษารัสเซีย). 17 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2015.
  41. Зверски убитого крымского татарина звали Решат Аметов. Трое малолетних детей осиротели. [Brutally murdered Crimean Tatar's name was Reshat Ametov. Three toddlers left orphaned.]. censor.net.ua (ภาษารัสเซีย). 18 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2014.
  42. "Ukraine's Crimea: a hotbed of Russia-bound separatism". Euronews. 26 กุมภาพันธ์ 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014.
  43. From Russia, ‘Tourists’ Stir the Protests, NYTimes, 3 มีนาคม 2014
  44. "Ukraine Crimea: Rival rallies confront one another". BBC News. 26 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2014.
  45. "Russia says Yanukovych asked for Russian troops". Associated Press. 3 มีนาคม 2014.[ลิงก์เสีย]
  46. "Gunmen Seize Government Buildings in Crimea". The New York Times. 27 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2014. Masked men with guns seized government buildings in the capital of Ukraine's Crimea region on Thursday, barricading themselves inside and raising the Russian flag after mysterious overnight raids that appeared to be the work of militant Russian nationalists who want this volatile Black Sea region ruled from Moscow.
  47. "Armed men seize two airports in Ukraine's Crimea, Yanukovich reappears". Reuters. 1 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2014.
  48. "Putin ready to invade Ukraine; Kiev warns of war". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2014.
  49. Telecom services sabotaged in Ukraine's Crimea region. UPI. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014.
  50. Interfax-Ukraine (27 กุมภาพันธ์ 2014). Crimean parliament dismisses autonomous republic's government. Kyiv Post.
  51. "Two Russian warships seen off Ukraine coast, violate agreement: Interfax". Thomson Reuters. 1 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2014.
  52. "Russian helicopters fly over Crimea - Ukraine border guards". Thomson Reuters. 28 กุมภาพันธ์ 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2014.
  53. Alissa de Carbonnel; Alessandra Prentice (28 กุมภาพันธ์ 2014). "Armed men seize two airports in Ukraine's Crimea, Yanukovich reappears". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2014.
  54. Ukraine crisis: Crimea leader appeals to Putin for help. BBC. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2014.
  55. "Kremlin Clears Way for Force in Ukraine; Separatist Split Feared". New York Times. 1 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2014.
  56. Турчинов издал указ о незаконности назначения Аксенова премьером Крыма [Turchynov issued a decree on the illegality of the appointment of Aksyonov as Prime Minister of Crimea]. Gazeta.ua. 1 มีนาคม 2014.
  57. Russian forces seize Crimea; Ukraine’s interim president decries ‘aggression’. Washington Post. 2 มีนาคม 2014.
  58. Aksenov appointed Prime Minister of Crimea in violation of the Constitution of Ukraine and Crimea – decree. Korrespondent. 1 มีนาคม 2014.
  59. The statement acting General Prosecutor of Ukraine Oleh of Makhnitsky (VIDEO). General Prosecutor of Ukraine. March 1, 2014
  60. "Crimean Tatar Leader Tells People To Stay At Home, Avoid Confrontations". Rferl.org. 11 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2014.
  61. "Ukraine declares general mobilization after Russia approves use of military force in Crimea". English pravda.ru. 24 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2014.
  62. Ukrainian military resigning en masse in Crimea – reports. RT. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2014.
  63. Ukrainian troops in Crimea remain faithful to the oath – The Ministry of Defense. Ukrayinska Pravda. 2 มีนาคม 2014.
  64. Ukrainian troops in Crimea remain faithful to the Military oath of allegiance to the Ukrainian people เก็บถาวร 2 มีนาคม 2014 ที่ archive.today. Ministry of Defense official website. 2 มีนาคม 2014.
  65. Ian Traynor, บ.ก. (25 กุมภาพันธ์ 2014). "Russia denounces Ukraine 'terrorists' and west over Yanukovich ousting". The Guardian.
  66. "Ukraine-Russia dispute intensifies as ferry terminal in Crimea seized – World – CBC News". Cbc.ca. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2014.
  67. By DAVID McHUGH and DALTON BENNET Associated Press (2 มีนาคม 2013). "Pro-Russian Troops Take Crimea Terminal in Ukraine – ABC News". Abcnews.go.com. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2014.
  68. "Lietuvos pašonėje – didelės Rusijos pajėgų pratybos". Diena Media News (ภาษาลิทัวเนีย). 3 มีนาคม 2014.
  69. "Baltic Fleet holds exercises in framework of surprise inspection". TASS. 3 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2014.
  70. "Lithuanian and Polish presidents call for NATO treaty Article 4 consultations". The Lithuania Tribune. 2 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2014.
  71. ""Rolą Polski wskazywanie, że Rosja łamie prawo międzynarodowe"" ["The role of Poland to show that Russia is breaking international law"]. prezydent.pl (ภาษาโปแลนด์). 3 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2014.
  72. "Polish border crossing in Russian propaganda fail". Szczecinian.eu. 2 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2014.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  73. Anna Malpas. "Russia launches 'propaganda' war over Ukraine". AFP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2014.
  74. "73 proc. Rosjan przeciwko interwencji" [73 percent Russians against the intervention]. tvn24.pl (ภาษาโปแลนด์). 3 มีนาคม 2014.
  75. "EU leaders to hold summit on Ukraine on Thursday". Reuters. 4 มีนาคม 2014.
  76. Ukraine revolt was anti-constitutional coup, Putin says. CBC. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2014.
  77. Putin: Russia not yet sending troops into Ukraine. BBC. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2014.
  78. Mitch Potter (4 มีนาคม 2014). "Putin dials back tensions a notch in Crimea". The Toronto Star.
  79. "Pro-Russian force take military airport in Crimea". Raidió Teilifís Éireann. 9 มีนาคม 2014.
  80. "Yanukovych denounces Ukrainian elections as 'illegitimate'". Raidió Teilifís Éireann. 11 มีนาคม 2014.
  81. "Security Council Fails to Adopt Text Urging Member States Not to Recognize Planned 16 March Referendum in Ukraine's Crimea Region". Security Council 7138th Meeting (AM Session). 15 มีนาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2014.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  82. "Crimea 'going home', leader says after vote to join Russia". Raidió Teilifís Éireann. 16 มีนาคม 2014.
  83. Crimean parliament formally applies to join Russia. BBC. 17 มีนาคม 2014.
  84. Подписан Указ о признании Республики Крым [Decree on recognition of the Republic of Crimea signed]. Администрация Президента России (ภาษารัสเซีย). 17 มีนาคม 2014.
  85. Louis Charbonneau; Mirjam Donath (27 มีนาคม 2014). Chizu Nomiyama; Tom Brown (บ.ก.). "U.N. General Assembly declares Crimea secession vote invalid". Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2014.
  86. "Ukraine Parliament declares Crimea temporarily occupied territory". IANS. news.biharprabha.com. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2014.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Annexation of Crimea by the Russian Federation