สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นเอก กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ | |
ประสูติ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2425 |
สิ้นพระชนม์ | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2442 (17 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (9 มิถุนายน พ.ศ. 2425 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2442) พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระโสทรานุชาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และพระโสทรเชษฐภาดาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเป็นพระปิตุลาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระประวัติ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. 1244 ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2425 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชบิดาพระราชทานพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย ศตสมัยมงคลเขตร บรมนฤเบศร์จักรีวงศ์ จุฬาลงกรณ์นาถนรินทร์ สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิ์อรรควิมลรัตน์ ขัตติยราชกุมาร" ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมน้อย" พระองค์มีพระเชษฐา พระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา ได้แก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา, สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[1]
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เสด็จเข้ารับการศึกษาในยุโรป ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 ขณะมีพระชันษาได้ 15 ปี การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนั้นมีพระราชโอรสตามเสด็จ 4 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหมื่นลพบุราดิศร
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ และ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่ กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2434[2]
พระองค์ทรงรับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกรมมหาดเล็ก[3]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ประชวรพระโรคบิดตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2442 โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ และคณะแพทย์ ได้ประกอบพระโอสถถวาย แต่พระอาการมีแต่ทรงกับทรุด ต่อมาพระอาการกลายเป็นตกพระโลหิต จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2442 เวลา 17.25 น. สิริพระชันษา 17 ปี 8 วัน[4]
พระศพถูกอัญเชิญไปยังหอธรรมสังเวช ภายในพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานบนแว่นฟ้า 3 ชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ แวดล้อมด้วยเครื่องสูงตามพระเกียรติยศ[4]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย (9 มิถุนายน พ.ศ. 2425 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2434)
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์[5] (7 มีนาคม พ.ศ. 2434 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2442)
ภายหลังสิ้นพระชนม์
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2434 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2437 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
ราชตระกูล
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศการรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม
- ↑ รับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกรมมหาดเล็ก
- ↑ 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์, เล่ม ๑๖, ตอน ๑๓, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๑๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศการรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม, เล่ม 8, ตอน 51, 20 มีนาคม พ.ศ. 2434, หน้า 457
- ↑ "กำหนดการรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8 (ตอน 48): หน้า 434. 28 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 110.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชพิธีมงคลการโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 11 (ตอน 42): หน้า 338. 13 มกราคม ร.ศ. 113. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ถวายบังคมพระบรมรูป และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8 (ตอน 34): หน้า 291. 22 พฤศจิกายน ร.ศ. 110.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 10 (ตอน 37): หน้า 405. 10 ธันวาคม ร.ศ. 112.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)