ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตาร์พิกส์ นิตยสารภาพยนตร์ต่างประเทศเล่มแรกของประเทศไทย เป็นหนึ่งในนิตยสารที่เก็บรวบรวมข้อมูลรายได้ภาพยนตร์จากบอกซ์ออฟฟิส ปัจจุบันยุติการวางแผงรายเดือนไปแล้ว

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เป็นรายได้ภาพยนตร์จากบ็อกซ์ออฟฟิสประเทศไทย เรียงลำดับตามรายได้แบบไม่ปรับอัตราเงินเฟ้อ เฉพาะโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และอำเภอเมืองเชียงใหม่ เท่านั้น

เนื่องจากการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด อยู่ภายใต้การดูแลของตัวแทนผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์แต่ละภูมิภาค หรือที่เรียกกันว่า "สายหนัง" ซึ่งทำหน้าที่นำภาพยนตร์จากผู้สร้าง (หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ) ไปจัดจำหน่ายต่อเองในพื้นที่ของตน แบ่งได้เป็นสายเหนือและแปดจังหวัดภาคกลาง (ไม่รวมอำเภอเมืองเชียงใหม่), สายตะวันออกเฉียงเหนือ, สายใต้และสายตะวันออก โดยการซื้อขายอาจเป็นไปในลักษณะขายสิทธิ์ขาด หรือแบ่งสัดส่วนรายได้ตามข้อตกลงทางธุรกิจที่ไม่แน่นอน จึงอาจกล่าวได้ว่า สายหนังทำหน้าที่เสมือนเป็นพ่อค้าคนกลาง แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือใดทั้ง เอสเอฟ ซีเนม่า, เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ หรือโรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัดซึ่งมีเจ้าของเป็นนักธุรกิจท้องถิ่น ก็ต้องรับซื้อภาพยนตร์จากสายหนังประจำภูมิภาคของตนเพียงเจ้าเดียว[1]

ขณะที่โรงภาพยนตร์ในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ ผู้สร้าง (หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ) จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเอง เริ่มต้นจากผู้สร้างทำการติดต่อกับโรงภาพยนตร์เองโดยตรง และตกลงแบ่งรายได้กันในสัดส่วนที่แน่นอน (คำนวณจากตั๋วภาพยนตร์ที่ขายได้) ซึ่งส่งผลให้ผู้สร้างได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า ขณะเดียวกันผู้สร้างยังต้องว่าจ้างผู้ควบคุมหรือเช็กเกอร์ ให้ไปตรวจสอบที่โรงภาพยนตร์ด้วยว่าขายตั๋วได้ตามจำนวนเงินที่แจ้งมาหรือไม่[2][3]

รายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ จึงถือเป็นรายรับที่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนและเข้าถึงบริษัทผู้สร้างโดยตรงหลังหักส่วนแบ่งกับโรงภาพยนตร์แล้ว สำหรับข้อมูลรายได้ทั่วประเทศ รวมไปถึงข้อมูลการซื้อขายภาพยนตร์ระหว่างผู้สร้างกับสายหนัง เป็นตัวเลขตามที่แต่ละฝ่ายยอมเปิดเผยและไม่นำมาใช้คำนวณเนื่องจากมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ปัจจุบันพบว่ามีผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์บางราย สามารถติดต่อขอจัดจำหน่ายภาพยนตร์ได้เองโดยตรงกับโรงภาพยนตร์ตามต่างจังหวัด โดยไม่จำเป็นต้องผ่านสายหนัง แต่เป็นเพียงบางกรณีและบางพื้นที่เท่านั้น

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

[แก้]
อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก (พ.ศ. 2562) เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 617.55 ล้านบาท

ในบรรดาภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยสี่สิบอันดับแรก (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่) ประกอบด้วยภาพยนตร์ไทย จำนวนสิบเอ็ดเรื่อง เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทยของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มากถึงห้าเรื่อง และมีภาพยนตร์ภาคเดียวเพียงสี่เรื่องเท่านั้นที่ทำเงินติดอันดับ ได้แก่ พี่มาก..พระโขนง, ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้, 2012 วันสิ้นโลก และ ไททานิค ที่เหลือทั้งหมดล้วนเป็นภาพยนตร์แฟรนไชส์

หากนับตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์แฟรนไชส์กลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินได้ดีที่สุดโดยเฉพาะภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร มีภาพยนตร์สิบสองเรื่อง จากมาร์เวลสตูดิโอส์ ติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน อเวนเจอร์ส ทั้งหมดสี่เรื่องนั้นติดอันดับอยู่ในภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดยี่สิบอันดับแรก ขณะที่ภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์เรื่องอื่น ๆ เช่น สไปเดอร์-แมน ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน

ภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ของผู้กำกับชื่อดัง เจมส์ คาเมรอน ที่ถูกยกให้เป็นภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดตลอดกาล ติดอันดับ 11 ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (สูงสุดเป็นอันดับสอง ณ ขณะนั้น) ขณะที่ภาพยนตร์ชุด ทรานส์ฟอร์เมอร์ส จากค่าย พาราเมาต์พิกเจอส์ และ เร็ว...แรงทะลุนรก จากค่าย ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ ทำเงินติดอันดับชุดละสามเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์, จูราสสิค เวิลด์, จักรวาลขยายดีซี, จักรวาลไทบ้าน, แวมไพร์ ทไวไลท์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ บางเรื่องติดอันดับเข้ามาด้วย

ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จากค่าย มาร์เวลสตูดิโอส์ สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 หลังทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 617.55 ล้านบาท แซงหน้าภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่าย จีทีเอช โดยใช้เวลาเพียงสิบหกวัน และคาดว่าทำเงินประมาณการรวมทั่วประเทศสูงถึง 1,091 ล้านบาท[4]

ในตารางนี้จะแสดงภาพยนตร์เรียงลำดับตามจำนวนเงิน และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายซ้ำภายหลังจะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ (ยกเว้นภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท)R ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่อง มีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์, บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และบทความอิสระ) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น)
อันดับ สูงสุด ปี ภาพยนตร์ บริษัทผู้จัดจำหน่าย ทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
1 1 2562 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 617.55 [5]
2 1 2556 พี่มาก..พระโขนง จีทีเอช 568.55 [6][7]
3 2 2561 อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 420.89 [5]
4 2 2558 เร็ว..แรงทะลุนรก 7 ยูไอพีUIP 387.85 [5]
5 5 2565 อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 376.23 [8]
6 2 2557 ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ จีทีเอช 330.55 [5][7]
7 1 2544 สุริโยไท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 324.5R [9][10]
8 5 2560 เร็ว..แรงทะลุนรก 8 ยูไอพี 321.96 [11]
9 5 2559 กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 311.21 [12]
10 3 2557 ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 4: มหาวิบัติยุคสูญพันธุ์ ยูไอพี 310.23 [5]
11 2 2552 อวตาร ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 303 [5][13]
12 7 2558 อเวนเจอร์ส: มหาศึกอัลตรอนถล่มโลก วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 294.77 [5]
13 3 2554 ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 3 ยูไอพี 291.20 [5]
14 9 2558 จูราสสิค เวิลด์ ยูไอพี 290.64 [5]
15 13 2561 จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย ยูไอพี 288.88 [5]
16 5 2556 ไอรอนแมน 3 บัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล 262.92 [5]
17 15 2562 กัปตัน มาร์เวล วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 260.78 [5]
18 18 2567 ธี่หยด 2 เอ็ม สตูดิโอ 255.54 [14]
19 15 2561 อควาแมน เจ้าสมุทร วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส 254.09 [15]
20 4 2555 ดิ อเวนเจอร์ส บัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล 252.16 [5]
21 20 2566 สัปเหร่อ ไทบ้าน สตูดิโอ 245.10 [16]
22 19 2564 สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม โซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง 239.29 [17]
23 19 2562 สไปเดอร์แมน: ฟาร์ ฟรอม โฮม โซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง 238.99 [5]
24 4 2554 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส 236.23 [5]
25 22 2565 จอมเวทย์มหากาฬ ในมัลติเวิร์สมหาภัย วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 220.92 [18]
26 2 2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 219.06 [13][19]
27 3 2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 216.87 [13][19]
28 4 2552 2012 วันสิ้นโลก โซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง 214.98 [20]
29 11 2556 เร็ว..แรงทะลุนรก 6 ยูไอพี 213.72 [21]
30 1 2540 ไททานิค ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 213.65 [13][22]
31 13 2557 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 206.86 [19]
32 5 2552 ทรานส์ฟอร์เมอร์ส อภิมหาสงครามแค้น ยูไอพี 201.60 [13][20]
33 8 2554 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 201.08 [19]
34 23 2561 แบล็ค แพนเธอร์ วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 199.04 [23]
35 34 2566 ธี่หยด เอ็ม สตูดิโอ 198.70 [16]
36 3 2548 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส 190.86 [24]
37 13 2555 แวมไพร์ ทไวไลท์ 4 เบรกกิ้งดอว์น ภาค 2 มงคลเมเจอร์ 189.93 [25]
38 3 2546 เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพ มงคลเมเจอร์ 184.63 [24]
39 4 2548 ต้มยำกุ้ง สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 183.35 [19][26]
40 25 2560 สไปเดอร์แมน: โฮมคัมมิ่ง โซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง 182.97 [27]

UIPภาพยนตร์จากค่ายยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์, พาราเมาต์พิกเจอส์ และบริษัทในเครือทั้งหมดที่เข้าฉายในประเทศไทย จะถูกจัดจำหน่ายผ่านบริษัทยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ยูไอพี) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกัน[28]

Rรายได้ของภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท เป็นรายรับรวมจากการออกฉายภาพยนตร์ฉบับปกติครั้งแรก (ความยาว 3 ชั่วโมง) เมื่อปี พ.ศ. 2544 และภาพยนตร์ฉบับสมบูรณ์ (ตัดต่อใหม่ ความยาว 5 ชั่วโมง) เมื่อปี พ.ศ. 2546

ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

[แก้]
พี่มาก..พระโขนง (พ.ศ. 2556) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 568.55 ล้านบาท

ในบรรดาภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดสี่สิบอันดับแรก (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่) ประกอบไปด้วย ภาพยนตร์ที่สร้างและจัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม มากที่สุดสิบเอ็ดเรื่อง เกินกว่าครึ่งมาจากผลงานภาพยนตร์ชุดอิงประวัติศาสตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ขณะที่ภาพยนตร์จากค่าย จีทีเอช ทำเงินติดอันดับเข้ามาจำนวนสิบเรื่อง โดยเป็นผลงานการกำกับของบรรจง ปิสัญธนะกูล มากถึงสี่เรื่อง (ผลงานกำกับร่วมสองเรื่อง ได้แก่ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และห้าแพร่ง) และถ้าหากนับรวม แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว จากค่ายจีดีเอช ด้วย จะทำให้เขากลายเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึงห้าเรื่อง

แนวโน้มการทำเงินสูงของภาพยนตร์ไทย ยังคงมาจากภาพยนตร์แนวตลก ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ และภาพยนตร์แนวสยองขวัญเป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากสัดส่วนของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์แนวตลกและภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เกินครึ่ง อีกแปดเรื่องเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ก่อนหน้านี้ภาพยนตร์ กาเหว่าที่บางเพลง และ 2499 อันธพาลครองเมือง เคยเป็นภาพยนตร์ไทยทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แต่ภาพยนตร์ นางนาก นับว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิตตามภูมิภาค และภาพยนตร์ภาคต่อจากละครโทรทัศน์หรือซีรีส์ชื่อดัง เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในช่วงหลัง เช่น บุพเพสันนิวาส ๒, สัปเหร่อ, นาคี ๒ และ ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค ที่ต่างทำเงินเกิน 100 ล้านบาททุกเรื่อง

ภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่ายจีทีเอช กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย หลังทำเงินเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 568.55 ล้านบาท และคาดว่าทำเงินประมาณการรวมทั่วประเทศเกิน 1 พันล้านบาท[29] จากการเข้าฉายนานถึงสิบสัปดาห์ รวมทั้งเคยสร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (นับรวมภาพยนตร์ต่างประเทศแล้ว) นานกว่าหกปี ก่อนถูกภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก ทำเงินแซงหน้าไปเมื่อปี พ.ศ. 2562[5]

ในตารางนี้จะแสดงภาพยนตร์ไทยเรียงลำดับตามจำนวนเงิน และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายซ้ำใหม่ภายหลังจะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ (ยกเว้นภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท)R ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่อง มีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์, บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และบทความอิสระ) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567
ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น)
อันดับ สูงสุด ปี ภาพยนตร์ บริษัทผู้จัดจำหน่าย ทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
1 1 2556 พี่มาก..พระโขนง จีทีเอช 568.55 [6][7]
2 2 2557 ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ จีทีเอช 330.55 [5][7]
3 1 2544 สุริโยไท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 324.5R [9][10]
4 4 2567 ธี่หยด 2 เอ็ม สตูดิโอ 255.54 [14]
5 4 2566 สัปเหร่อ ไทบ้าน สตูดิโอ 245.10 [16]
6 2 2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 219.06 [13][19]
7 3 2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 216.87 [13][19]
8 5 2557 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 206.86 [19]
9 4 2554 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 201.08 [19]
10 9 2566 ธี่หยด เอ็ม สตูดิโอ 198.70 [16]
11 2 2548 ต้มยำกุ้ง สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 183.35 [19][26]
12 11 2567 หลานม่า จีดีเอช 172.57 [30]
13 9 2565 บุพเพสันนิวาส ๒ จีดีเอช 167.67 [31]
14 9 2559 หลวงพี่แจ๊ส 4G เอ็ม พิคเจอร์ส 166.53 [19][32]
15 10 2561 นาคี ๒ เอ็ม พิคเจอร์ส 161.19 [32][33]
16 1 2543 บางระจัน ฟิล์มบางกอก 151 [10][13]
17 7 2555 ATM เออรัก..เออเร่อ จีทีเอช 150.11 [19]
18 1 2542 นางนาก ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 149.60 [13][22]
19 13 2561 น้อง.พี่.ที่รัก จีดีเอช 146.45 [32][33]
20 7 2552 รถไฟฟ้า มาหานะเธอ จีทีเอช 145.82 [20]
21 4 2548 หลวงพี่เท่ง พระนครฟิลม์ 141.86 [13][19]
22 17 2562 ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค จีดีเอช 140.02 [34]
23 4 2546 แฟนฉัน จีเอ็มเอ็มไทฯหับ โห้ หิ้น 137.30 [13][19]
24 18 2562 Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน จีดีเอช 134.15 [35][36]
25 11 2554 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 131.60 [19]
26 10 2553 กวน มึน โฮ จีทีเอช 131.04 [13][19]
27 11 2553 สุดเขตสเลดเป็ด เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ 125.03 [13][19]
28 3 2544 มือปืน/โลก/พระ/จัน อาร์.เอส.ฟิล์ม 123 [13][19]
29 14 2554 ลัดดาแลนด์ จีทีเอช 116.46 [19]
30 20 2558 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 115.11 [19][37]
31 22 2560 ฉลาดเกมส์โกง จีดีเอช 112.15 [35][38]
32 22 2559 แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว จีดีเอช 110.91 [35][39]
33 6 2547 ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ จีทีเอช 109.98 [13][19]
34 11 2552 ห้าแพร่ง จีทีเอช 109.41 [13][19]
35 20 2557 คิดถึงวิทยา จีทีเอช 100.17 [40]
36 9 2548 แหยมยโสธร สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 99.13 [41][42]
37 5 2546 องค์บาก สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 99 [41][42]
38 2 2543 สตรีเหล็ก ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 98.70 [41][42]
39 16 2552 32 ธันวา เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ 97.92 [41][42]
40 14 2551 องค์บาก 2 สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 97.44 [42]

ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

[แก้]
ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ (พ.ศ. 2562) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 129.71 ล้านบาท

ในบรรดาภาพยนตร์แอนิเมชันที่เข้าฉายในประเทศไทย มีเพียงสี่เรื่องเท่านั้นที่สามารถทำเงินได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยยี่สิบอันดับแรกของภาพยนตร์แอนิเมชันทำเงินสูงสุด เป็นภาพยนตร์จากวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์มากถึงเก้าเรื่อง (เฉพาะสตูดิโอพิกซาร์ ห้าเรื่อง) ตามมาด้วยภาพยนตร์แอนิเมชันจากอิลลูมิเนชันเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และดรีมเวิกส์แอนิเมชัน ค่ายละสามเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์แอนิเมชันไทย และญี่ปุ่น ทำเงินติดอันดับสัญชาติละสองเรื่อง โดยภาพยนตร์อนิเมะอย่าง ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ ได้สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นทำเงินสูงสุดในประเทศไทย และภาพยนตร์เอเชียทำเงินสูงสุดอันดับสาม[43]

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567
ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น)
อันดับ สูงสุด ปี ภาพยนตร์ บริษัทผู้จัดจำหน่าย ทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
1 1 2562 ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 129.71 [44]
2 1 2558 มินเนี่ยน ยูไอพีUIP 116.23 [45]
3 2 2562 เดอะไลอ้อนคิงTLK วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 112.03 [46]
4 2 2562 อภินิหารไวกิ้งพิชิตมังกร 3 ยูไอพี 103.16 [47]
5 5 2567 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 97.67 [48]
6 1 2549 ก้านกล้วย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 93.63 [42]
7 3 2559 นครสัตว์มหาสนุก วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 87.67 [49]
8 7 2563 ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ อะนิเพล็กซ์ 74.27 [50]
9 2 2552 ก้านกล้วย ๒ กันตนา 73.38 [42]
10 3 2556 มิสเตอร์แสบ ร้ายเกินพิกัด 2 ยูไอพี 69.67 [51]
11 7 2562 ทอย สตอรี่ 4 วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 67.09 [52]
12 3 2554 กังฟูแพนด้า 2 ยูไอพี 66.8 [53]
13 7 2561 รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2 วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 63.43 [54]
14 13 2566 สไปเดอร์-แมน: ผงาดข้ามจักรวาลแมงมุม โซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง 62.0 [55]
15 8 2561 ราล์ฟตะลุยโลกอินเทอร์เน็ต วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 61.57 [56]
16 6 2558 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 59.30 [57]
17 8 2559 กังฟูแพนด้า 3 ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 58.79 [58]
18 9 2560 มิสเตอร์แสบ ร้ายเกินพิกัด 3 ยูไอพี 57.26 [59]
19 17 2565 วันพีซ ฟิล์ม เรด ดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์) 56.5 [60]
20 1 2546 นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต บัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล 55.93 [61]

TLKวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ ผู้สร้างภาพยนตร์ เดอะไลอ้อนคิง ถือว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์สัตว์แสดง ทั้ง ๆ ที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ (นอกจากฉากเปิดเรื่อง) สร้างด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชันเสมือนจริง[62] ขณะที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำฮอลลีวูด (ผู้จัดรางวัลลูกโลกทองคำ) ถือว่าเป็นแอนิเมชันตามเกณฑ์ที่กำหนด[63]

สถิติของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

[แก้]

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเรียงตามปีที่ออกฉาย

[แก้]
ภาพยนตร์ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพ เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2546 ด้วยรายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 184.63 ล้านบาท (สูงสุดเป็นอันดับสาม ณ ขณะนั้น)

มีภาพยนตร์ไทยเก้าเรื่องที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปี โดยเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสามปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2542–2544) และหากนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์ อีเรียมซิ่ง กลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปีเพียงเรื่องเดียวที่ทำเงินต่ำกว่า 100 ล้านบาท เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19

ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ เป็นค่ายผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงหกเรื่อง ครึ่งหนึ่งเป็นผลงานการกำกับของ เจมส์ คาเมรอน และเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสี่ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2537–2540) ต่อมาภาพยนตร์แนวแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ได้รับความนิยม และทำเงินได้อย่างถล่มทลายในช่วงเปลี่ยนผ่านคริสต์ศตวรรษ ก่อนที่ภาพยนตร์ชุดแนวซูเปอร์ฮีโรจะกลายเป็นภาพยนตร์กระแสหลักของผู้ชมชาวไทย นับจนถึงปัจจุบัน มีภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงห้าเรื่องที่มาจากค่ายมาร์เวลสตูดิโอส์

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเรียงตามปีที่ออกฉายYR
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น)
ปี ภาพยนตร์ บริษัทผู้จัดจำหน่าย ทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
2536 จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ยูไอพีUIP 74.34 [22]
2537 สปีด เร็วกว่านรก ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 56 [64]
2538 ดาย ฮาร์ด 3 แค้นได้ก็ตายยาก บัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล 60 [65]
2539 ไอดี 4 สงครามวันดับโลก ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 123.42 [22]
2540 ไททานิค ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 213.65 [13][22]
2541 อาร์มาเกดดอน วันโลกาวินาศ บัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล 116.09 [22]
2542 นางนาก ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 149.60 [13][22]
2543 บางระจัน ฟิล์มบางกอก 151 [10][13]
2544 สุริโยไท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 324.5R [9][10]
2545 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส 149.81 [22]
2546 เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพ มงคลเมเจอร์ 184.63 [24]
2547 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส 161.80 [24]
2548 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส 190.86 [24]
2549 สงครามปีศาจโจรสลัดสยองโลก บัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล 125.93 [24]
2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 219.06 [13][19]
2551 เดอะมัมมี่ 3 คืนชีพจักรพรรดิมังกร ยูไอพี 123 [66]
2552 อวตาร ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 303 [5][13]
2553 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส 171.4 [13]
2554 ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 3 ยูไอพี 291.20 [5]
2555 ดิ อเวนเจอร์ส บัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล 252.16 [5]
2556 พี่มาก..พระโขนง จีทีเอช 568.55 [6][7]
2557 ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ จีทีเอช 330.55 [5][7]
2558 เร็ว..แรงทะลุนรก 7 ยูไอพี 387.85 [5]
2559 กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 311.21 [12]
2560 เร็ว..แรงทะลุนรก 8 ยูไอพี 321.96 [11]
2561 อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 420.89 [5]
2562 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 617.55 [5]
2563 อีเรียมซิ่ง เอ็ม พิคเจอร์ส 76.49 [50]
2564 สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม โซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง 239.29 [17]
2565 อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 376.23 [8]
2566 สัปเหร่อ ไทบ้าน สตูดิโอ 245.10 [16]
2567 ธี่หยด 2 เอ็ม สตูดิโอ 255.54 [14]

YRการฉายของภาพยนตร์นั้น โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายช่วงปลายปี ภาพยนตร์หลายเรื่องนั้นสามารถทำเงินได้มากกว่าหนึ่งปี (ข้ามปี) ดังนั้นจำนวนเงินที่ภาพยนตร์ทำได้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ปีที่ฉายเท่านั้น เพียงแต่ปีที่ระบุในตารางข้างต้นนี้ ยึดจากวันที่ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เริ่มเข้าฉายในประเทศไทย รายได้จึงถูกนับรวมตลอดโปรแกรมการฉายของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในประเทศไทย แต่ไม่ได้นับรวมรายได้จากการนำกลับมาฉายใหม่

เส้นเวลาของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

[แก้]
ไททานิค (พ.ศ. 2540) เคยเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 213.65 ล้านบาท

มีภาพยนตร์เพียงแปดเรื่องเท่านั้นที่ได้รับการบันทึกว่าครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ของผู้กำกับสตีเวน สปีลเบิร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2536 ต่อมาภาพยนตร์เรื่อง ไอดี 4 สงครามวันดับโลก กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำเงินในประเทศไทยเกิน 100 ล้านบาท ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิค สามารถทำลายสถิติเพียงหกเดือนของเดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค สำเร็จ หลังทำเงินรวมเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 213.65 ล้านบาท เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2541

ภายหลังมีภาพยนตร์ไทย ทั้งสองเรื่องอย่าง สุริโยไท และพี่มาก..พระโขนง ถือครองสถิตินี้รวมกันนานกว่าสิบแปดปี ก่อนที่ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จะทำเงินแซงหน้าไปในที่สุด เมื่อปี พ.ศ. 2562 และถือครองสถิตินี้มายาวนานจนถึงปัจจุบันรวมห้าปี

เส้นเวลาของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น)
ปีที่เริ่ม ภาพยนตร์ บริษัทผู้จัดจำหน่าย ทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
2536 จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ยูไอพีUIP 74.34 [22]
2539 ฅนเหล็กพยัคฆ์ร้ายพระกาฬ วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส 79.85 [22]
ไอดี 4 สงครามวันดับโลก ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 123.42 [22]
2540 เดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค ยูไอพี 124.75 [22]
2541 ไททานิค ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ 213.65 [13][22]
2544 สุริโยไท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล 324.5R [9][10]
2556 พี่มาก..พระโขนง จีทีเอช 568.55 [6][7]
2562 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ 617.55 [5]

ภาพยนตร์ที่ทำเงินเปิดตัวสูงสุด

[แก้]

ภาพยนตร์จากมาร์เวลคอมิกส์ ทำเงินเปิดตัววันแรกในประเทศไทยติดสิบอันดับแรกมากถึงแปดเรื่อง โดยภาพยนตร์เรื่อง อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัววันแรกในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่สูงสุดตลอดกาลที่ 75.32 ล้านบาท ทั้งที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันธรรมดา และยังเป็นรายรับสูงสุดตลอดกาลในหนึ่งวันของภาพยนตร์ที่เข้าฉายในประเทศไทยอีกด้วย ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง ไอรอนแมน 3, ดิ อเวนเจอร์ส และ ไอ้แมงมุม 3 ต่างเข้าฉายวันแรกตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ (1 พฤษภาคม) ทั้งสิ้น สำหรับภาพยนตร์เรื่อง ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ เป็นภาพยนตร์ไทยทำเงินเปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดกาลที่ 29.17 ล้านบาท แต่ไม่ติดอยู่ในสิบอันดับแรก[67]

ภาพยนตร์แฟรนไชส์ อเวนเจอร์ส ทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกในประเทศไทยติดสิบอันดับแรกมากถึงสามเรื่อง โดยภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกที่ 251.89 ล้านบาท ใกล้เคียงกับรายรับรวมตลอดทั้งโปรแกรมฉายของภาพยนตร์ภาคแรกในแฟรนไชส์อย่าง ดิ อเวนเจอร์ส ส่วนภาพยนตร์จากแฟรนไชส์ เร็ว...แรงทะลุนรก, จูราสสิค เวิลด์ และทรานส์ฟอร์เมอร์ส ทำเงินติดอันดับเข้ามาชุดละสองเรื่อง ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง เป็นเจ้าของตำแหน่งภาพยนตร์ไทยทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุดตลอดกาลที่ 105.98 ล้านบาท แต่ไม่ติดอยู่ในสิบอันดับแรก[68]

 พื้นหลังสีเหลืองแสดงภาพยนตร์ที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดตามประเพณี

ODรายได้เฉพาะวันแรกของการเข้าฉายปกติ ไม่นับรวมรายได้จากการเปิดรอบพิเศษก่อนฉายจริง (Sneak Preview)

OWรายได้เฉพาะช่วงวันพฤหัสบดี จนถึงวันอาทิตย์แรกของการเข้าฉายเท่านั้น ไม่นับรวมรายได้จากการเปิดรอบพิเศษก่อนฉายจริง (Sneak Preview) หรือการเข้าฉายปกติก่อนวันพฤหัสบดี

แฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

[แก้]

ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนคริสต์ศตวรรษเป็นต้นมา จำนวนของภาพยนตร์ชุดก็เพิ่มขึ้น โดยมีมากกว่าห้าสิบภาพยนตร์ชุด[87] นอกจากอัตราเงินเฟ้อและการขยายของตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้วนั้น ยังรวมถึงการที่ฮอลลีวู้ดได้สร้างรูปแบบของภาพยนตร์ชุดใหม่ เช่น การสร้างภาพยนตร์ที่มาจากนวนิยายชื่อดังหรือการสร้างตัวละครให้เป็นที่จดจำ ซึ่งวิธีการนี้มีแนวคิดที่ว่า ภาพยนตร์ที่สร้างจากสิ่งผู้ชมมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ทำให้สามารถขายให้กับผู้ชมเหล่านั้นได้ เรียกว่าเป็นการ "พรี–โซลด์" ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์[88]

รูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีแนวคิดของการข้ามฝั่งหรือการครอสโอเวอร์ หมายถึง "เป็นการนำสิ่งต่างๆ ในเรื่องแต่ง เช่นตัวละคร สถานที่ หรือจักรวาลของเรื่องแต่งสองเรื่องเป็นอย่างน้อยที่แตกต่างกันมารวมอยู่ในบริบทของเรื่องแต่งเรี่องเดียว"[89] ผลที่ตามมาของการข้ามฝั่งคือทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกใช้โดยแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งแฟรนไชส์ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ไม่เพียงแค่อยู่ในแฟรนไชส์ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน เท่านั้น แต่อยู่ใน จักรวาลขยายดีซี ด้วย ซึ่งเป็น "จักรวาลร่วม"[90]

มีภาพยนตร์เพียงเก้าชุดเท่านั้นที่สามารถทำเงินรวมในประเทศไทยเกิน 1 พันล้านบาท โดย จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ถือเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินรวมสูงที่สุดในประเทศไทย มีภาพยนตร์ในแฟรนไชส์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึงยี่สิบห้าเรื่อง แต่หากย้อนไป ภาพยนตร์ชุด โลกเวทมนตร์ เป็นแฟรนไชส์ชุดแรกที่สามารถทำเงินทะลุ 1 พันล้านบาท หลังจากที่ภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ เข้าฉายไปได้เจ็ดภาค ขณะที่ภาพยนตร์ชุด อเวนเจอร์ส และ อวตาร เป็นเพียงสองแฟรนไชส์ต่างประเทศที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องทำเงินมากกว่า 100 ล้านบาท มีภาพยนตร์ไทยเพียงชุดเดียวที่ติดอันดับเข้ามา นั่นคือ ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และยังไม่มีภาพยนตร์แอนิเมชันชุดใดสามารถทำเงินรวมในประเทศไทยติดยี่สิบอันดับแรกได้

 ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567
ภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น)
ดูรายละเอียดภาพยนตร์ในแต่ละภาพยนตร์ชุดได้โดยการกด "ขยาย"
อันดับ ภาพยนตร์ชุด ทำเงินรวม จำนวน ทำเงินเฉลี่ย ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

Sภาพยนตร์ชุดที่ดำเนินเรื่องอยู่ในจักรวาลเดียวกัน ซึ่งบางภาพยนตร์ก็มีภาพยนตร์ชุดเป็นของตัวเอง

BWภาพยนตร์ แบล็ค วิโดว์ เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 5 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และปรากฏรายได้เฉพาะสุดสัปดาห์แรกที่เข้าฉายเท่านั้น

TSSภาพยนตร์ เดอะ ซุยไซด์ สควอด เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 16 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และปรากฏรายได้เฉพาะวันแรกที่เข้าฉายเท่านั้น

JBภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ฉบับที่นำแสดงโดยโรเจอร์ มัวร์, ฌอน คอนเนอรี, ทิโมธี ดาลตัน และจอร์จ ลาเซนบี ไม่ปรากฏข้อมูลรายได้ในประเทศไทย

SWภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม ไม่ปรากฏข้อมูลรายได้ในประเทศไทย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กลยุทธ์ทางเลือกในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของผู้สร้างภาพยนตร์รายย่อยในประเทศไทย
  2. ทำความรู้จักกับ “สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย
  3. ม็อกค่าปาท่องโก๋ : Checker ฟันเฟืองสำคัญของ “หนังไทย”
  4. อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทย รายได้ประจำสัปดาห์ 5 มิถุนายน 62
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 5.20 5.21 5.22 5.23 5.24 Avengers: Endgame ครองแชมป์หนังทำรายได้สูงสุดตลอดกาลของไทย และอีก 19 อันดับนับถึงปัจจุบัน
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 หนังไทยเรื่องไหนที่เป็นที่ถูกใจคอหนัง จนผงาดขึ้นมาเป็นแชมป์หนังทำเงินช่วงปิดเทอมใหญ่มาแล้วบ้าง เราจะย้อนกลับไปดูกัน
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 ทำเนียบหนังไทยทำเงินรวมในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงสุดตลอดกาล
  8. 8.0 8.1 รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน 2566
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 สรุป 10 อันดับหนังไทย ทำเงินสูงสุดตลอดกาล (สิ้นสุด 4 กันยายน 2548)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Country Project #2: Thai Film Industry
  11. 11.0 11.1 รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 18-21 พฤษภาคม 2560
  12. 12.0 12.1 Avengers : Infinity War กลายเป็นหนัง MCU ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 13.16 13.17 13.18 13.19 13.20 13.21 13.22 Thailand Box Office ฉบับข้อมูลเน้นๆ สรุปข้อมูลรายได้หนัง และ สถิติต่างๆ ในไทย ประจำปี 2554 อย่างละเอียดยิบ
  14. 14.0 14.1 14.2 อันดับหนังทำเงินบ้านเราประจำวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567
  15. รายได้หนังสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 ทำเนียบหนังไทยทำเงินในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีนี้
  17. 17.0 17.1 รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ 24 - 27 กุมภาพันธ์ 2565
  18. อันดับหนังทำเงินประจำสุดสัปดาห์ที่ 16-19 มิ.ย. 2565
  19. 19.00 19.01 19.02 19.03 19.04 19.05 19.06 19.07 19.08 19.09 19.10 19.11 19.12 19.13 19.14 19.15 19.16 19.17 19.18 19.19 19.20 19.21 19.22 รู้หรือไม่? 20 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาลมีเรื่องอะไรบ้าง
  20. 20.0 20.1 20.2 Thai Box Office For 2009
  21. Top Grossers ~ Thailand (Bangkok)
  22. 22.00 22.01 22.02 22.03 22.04 22.05 22.06 22.07 22.08 22.09 22.10 22.11 22.12 สรุป 50 อันดับหนังทำเงินตลอดกาลในประเทศไทย สุริโยไท ยังครองอันดับหนึ่งหนังทำเงินตลอดกาลอย่างเหนียวแน่น
  23. 10 อันดับรายได้ "หนังต่างประเทศ" ในไทย 2018
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 24.5 สรุป 25 อันดับหนังต่างประเทศทำเงินสูงสุดตลอดกาลในประเทศไทย
  25. รายได้หนังทำเงินประจำสัปดาห์ 13 - 19 ธ.ค. 55
  26. 26.0 26.1 สรุปรายได้หนังไทยประจำปี 2548"ต้มยำกุ้ง" เข้าวิน183.35 ล้าน "หลวงพี่เท่ง" 141.7 ล้านที่ 2
  27. รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 10-13 สิงหาคม 2560
  28. "ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ยูไอพี)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-12. สืบค้นเมื่อ 2023-12-12.
  29. พี่มาก..พระโขนง PEE MAK – มรดกภาพยนตร์ของชาติ
  30. รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567
  31. รายได้หนังสุดสัปดาห์ 22 - 25 กันยายน 2565
  32. 32.0 32.1 32.2 ทำเนียบหนังไทยทำเงินรวมในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงสุดในรอบ 9 ปีนี้
  33. 33.0 33.1 10 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดปี 2018
  34. รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 9—12 มกราคม 2563
  35. 35.0 35.1 35.2 ลำดับรายได้ภาพยนตร์ค่าย GDH ตลอด 4 ปี
  36. 10 อันดับ “หนังไทย” ทำรายได้สูงสุด ปี 2562
  37. "สรุปรายได้หนังไทย ปี 2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
  38. ฉลาดเกมส์โกง สรุปยอดรายได้รวม 112.15 ล้านบาท
  39. "(สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26) สรุปรายได้ Box Office หนังไทยปี 2559". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
  40. รายได้รวมหนังไทยปี 2557
  41. 41.0 41.1 41.2 41.3 ข้อมูลเน้นๆ! สรุปข้อมูลรายได้หนัง และ สถิติต่างๆ ในไทย ครึ่งปีแรก ประจำปี 2554
  42. 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 42.5 42.6 100 อันดับ หนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาล !!! (รวบรวมถึงปี 2552)
  43. หนังทำเงินประจำสุดสัปดาห์ที่ 31 ธันวาคม 2563 – 3 มกราคม 2564 : Monster Hunter คว้าแชมป์รับหยุดยาวปีใหม่
  44. รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 2-5 มกราคม 2563
  45. รายได้หนังประจำสัปดาห์ที่ 6 - 12 ส.ค. 58
  46. รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 29 สิงหาคม - 1 กันยายน 2562
  47. รายได้หนังสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 7- 10 มีนาคม 2562
  48. รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567
  49. รายได้หนังประจำสัปดาห์ : 31 มี.ค. - 6 เม.ย. 2559
  50. 50.0 50.1 รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ 2564
  51. รายได้หนังประจำวันที่ 1-7 ส.ค. 2556
  52. รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2562
  53. Fast & Furious 7 แชมป์หนังต่างประเทศทำเงินสูงสุด ครึ่งปีแรกของไทย
  54. รายได้ภาพยนตร์ ช่วงสุดสัปดาห์ วันที่ 2-5 สิงหาคม 2561
  55. สรุป 10 อันดับหนังทำเงินสูงสุดในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่ช่วงครึ่งปีแรก ปี 2023
  56. รายได้หนังสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 10-13 มกราคม 2562
  57. THAI BOX OFFICE : 17 - 23 ก.ย. 2558
  58. Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทยประจำสุดสัปดาห์ 31 มีนาคม - 3 เมษายน 2559
  59. รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 13-16 กรกฎาคม 2560
  60. 10 อันดับหนังทำเงินสูงสุดในเขตกรุงเทพ ปริมณฑลเชียงใหม่ ประจำปี 2022
  61. Top Ten หนังแอนิเมชัน ทำเงินตลอดกาล ในประเทศไทย
  62. Smith, Nigel (July 29, 2019). "The Lion King Director Reveals There's One 'Real Shot' in Hit CGI Remake". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2019. สืบค้นเมื่อ March 1, 2020.
  63. Whitten, Sarah (2019-12-09). "Disney calls 'The Lion King' live-action. The Golden Globes just nominated it for best animated feature". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.
  64. Top Films in Thailand – 1994
  65. "Transformer" เปิดตัวสะท้านเมือง 4 วัน 60.1 ล้าน, "Die Hard 4.0" รอบพิเศษ อึดเฉียด 8 ล้าน
  66. 10 หนังไทย-เทศ ยอดฮิตแดนสยามปี 2551
  67. ธี่หยด 2 ทำเงินวันแรกในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงถึง 24.87 ล้านบาท กระโดดเข้าสู่ Top 3 หนังไทยเปิดตัววันแรกในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงสุดตลอดกาลได้สำเร็จ
  68. ธี่หยด 2 ทำเงินช่วงสี่วันสุดสัปดาห์แรกในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงถึง 104.97 ล้านบาท กลายเป็นหนังไทยเรื่องที่ 2 ตลอดกาลที่สามารถทำเงินสุดสัปดาห์แรกทะลุหลักร้อยล้านขึ้นมาได้
  69. รายได้หนังเข้าใหม่ ประจำวันพุธที่ 24 เมษายน 2562
  70. รายได้เปิดตัว AVENGERS: INFINITY WAR "อเวนเจอร์ส: อินฟินิตี้ วอร์ มหาสงครามล้างจักรวาล" เพียงแค่วันเดียว 54.88 ล้านบาท
  71. รายได้หนังประจำวันที่ 25 เม.ย. - 1 พ.ค. 56 และรายได้เปิดตัว Iron Man 3
  72. หนังทำเงินในไทย ประจำวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565 : Doctor Strange in the Multiverse of Madness ขึ้นแท่นเปิดตัววันแรกสูงสุดในบ้านเรารอบสามปีนี้
  73. รายได้หนังเข้าใหม่ วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565
  74. รายได้เปิดตัว FAST & FURIOUS 8 "เร็ว...แรงทะลุนรก 8" (เข้าฉาย 12 เมษายน)
  75. 75.0 75.1 "The Avengers" ทุบสถิติหนังเปิดตัวในไทยวันแรก 39.1 ล้านบาท
  76. รายได้หนังประจำสัปดาห์ : 21 - 27 เม.ย. 2559
  77. รายงานหนังทำเงิน วันพุธที่ 6 มีนาคม 2562 : Captain Marvel ขึ้นแท่นหนังเปิดตัววันแรกสูงสุดของปีนี้
  78. รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 25-28 เมษายน 2562
  79. รายได้ภาพยนตร์ ช่วงสุดสัปดาห์ 26-29 เมษายน 2561
  80. รายได้ภาพยนตร์ ช่วงสุดสัปดาห์ วันที่ 7 - 10 มิถุนายน 2561
  81. 81.0 81.1 สถิติเด่นอย่าง"รายได้สุดสัปดาห์แรกสูงสุดตลอดกาล" เรามาดูกันว่า 10 อันดับหนังเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุดของบ้านเรามีเรื่องอะไรกันบ้าง?
  82. Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทย ประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 30 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2558
  83. Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทยประจำสุดสัปดาห์ 28 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2559
  84. รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 13 - 16 เมษายน 2560
  85. Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทยประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 11-14 มิถุนายน 2558
  86. THAILAND BOX OFFICE**NEW UPDATE** 30 มิ.ย.-3 ก.ค. 2011
  87. "Movie Franchises". The Numbers. Nash Information Services, LLC. สืบค้นเมื่อ July 7, 2022.
  88. The Economist online (July 11, 2011). "Pottering on, and on". The Economist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2011.
  89. Nevins, Jess (August 23, 2011). "A Brief History of the Crossover". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
  90. Nevins, Jess (September 9, 2011). "The First Shared Universes". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.