เกมล่าเกม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกมล่าเกม
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับแกรี รอสส์
บทภาพยนตร์
สร้างจากเกมล่าชีวิต
โดย ซูซาน คอลลินส์
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพทอม สเทิร์น
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบเจมส์ นิวตัน โฮเวิร์ด
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายไลออนส์เกท
วันฉาย21 มีนาคม ค.ศ. 2012 (เบลเยียม, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, ฟิลิปปินส์)
23 มีนาคม ค.ศ. 2012 (สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร)
ความยาว142 นาที[1]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน364,933,000 ดอลลาร์สหรัฐ[3]

เกมล่าเกม (อังกฤษ: The Hunger Games) เป็นภาพยนตร์อเมริกัน ค.ศ. 2012 แนวแอ็คชั่นดราม่ารูปแบบนิยายวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องราวอันโหดร้าย กำกับโดย แกรี รอสส์ ซึ่งอิงจากนิยายเนื้อเรื่องเดียวกัน ที่เขียนขึ้นโดย ซูซาน คอลลินส์ นำแสดงโดย เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์, จอช ฮัทเชอร์สัน, เลียม เฮมส์เวิร์ท, วู้ดดี้ ฮาร์เรลสัน และ เอลิซาเบธ แบงส์[4] ภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2012 ในประเทศฝรั่งเศสรวมถึงประเทศอื่นๆ[5] และในระดับสากล ณ วันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2012 [6] โดยจัดฉายทั้งในโรงภาพยนตร์ทั่วไปรวมถึงโรงภาพยนตร์ดิจิทัลไอแมกซ์[7] ภาพยนตร์ชุดนี้ทำสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศอันดับสามในช่วงสุดสัปดาห์เปิดตัวนับตั้งแต่ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เคยมีมา (155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในสหรัฐอเมริกาถัดจาก แบทแมน อัศวินรัตติกาล (158 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 (169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[8] รวมถึงเป็นภาพยนตร์ที่มิใช่ภาคต่อที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ ซึ่งได้ยกย่องการแสดงของลอว์เรนซ์รวมถึงรูปแบบกับถ้อยคำที่ใช้

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

เนื้อเรื่องของเกมล่าเกม เกิดขึ้นที่ พาเน็ม เดิมพาเน็มแบ่งออก 13 เขตปกครอง มีแคปปิตอลเป็นเมืองหลวง แคปปิตอลนั้นกดขี่ทั้ง 13 เขตมาโดยตลอด จนทำให้เขต 13 ก่อกบฏ แคปปิตอลไหวตัวได้ทันและทำลายเขต 13 ทิ้งจนไม่เหลือซาก และเพื่อเป็นตอกย้ำให้ประชากรอีก 12 เขตทราบถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากคิดก่อกบฏ แคปปิตอลจึงจัดการแข่งขัน "เกมล่าชีวิต" ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจประชาชนทุกคนว่าแคปปิตอลมีอำนาจแม้กระทั่งควบคุมชีวิตคนได้ กฎของเกมล่าชีวิตคือ ทั้ง 12 เขต ต้องจับสลากเลือกบรรณาการชายหญิงอายุ 12-18 ปี ในวันเก็บเกี่ยว อย่างละคน มาเพื่อลงแข่ง และทั้ง 24 คน จาก 12 เขต ต้องฆ่ากันเองจนกว่าจะเหลือผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว

แคตนิส เอฟเวอร์ดีน เด็กสาววัย 16 ปี อาศัยอยู่ในเขต 12 ที่แร้นแค้น เธอเป็นเสาหลักให้ครอบครัวนับตั้งแต่พ่อตาย คอยหาอาหารประทังแม่กับน้องสาว ในวันเก็บเกี่ยว ก่อนเกมล่าชีวิตครั้งที่ 74 พริมโรส เอฟเวอร์ดีน น้องสาวของแคตนิสถูกจับชื่อเป็นบรรณาการหญิงของเขต 12 ซึ่งแคตนิสเองก็อาสาแทนพริมเนื่องจากไม่ต้องการให้เธอตายในสนามประลอง และบรรณาการชายของเขต 12 ก็ตกเป็นของ พีต้า เมลลาร์ก ลูกชายร้านขนมปังที่เคยช่วยชีวิตแคตนิสไว้ในตอนที่เธอเกือบจะอดตาย แคตนิสล่ำลาครอบครัวและออกเดินทางออกจากเขต 12 ตรงสู่แคปปิตอลเพื่อเข้าแข่งเกมล่าชีวิตทันที แคตนิสและพีต้าต้องเข้าพบกับพี่เลี้ยงเขต 12 ซึ่งก็คือ เฮย์มิช อาเบอร์นาธี ผู้ชนะเพียงคนเดียวของเขต 12 จากเกมล่าชีวิตครั้งที่ 50 ซึ่งแคตนิสก็ไม่ถูกชะตากับเฮย์มิชเท่าไรนัก เมื่อถึงแคปปิตอลทั้งสองเข้าพบกับทีมสไตล์ลิส ที่นำโดยซินน่า เพื่อแปลงโฉมให้ทั้งสองเป็นที่สนใจและดึงดูดแก่เหล่าสปอนเซอร์ที่จะส่งของมาช่วยเหลือในสนามประลองได้ และผลก็เป็นดังคาด เขต 12 ได้รับการจับตามองจากผู้ชมอย่างล้นหลาม

ในการฝึกซ้อมแคตนิสและพีต้าสามารถทำผลงานได้ดี จนทำให้ทุกสายตาของแคปปิตอลจับจ้องไปยังพวกเขาทั้งคู่ และในวันสัมภาษณ์ก่อนการแข่งขันพีต้า ให้สัมภาษณ์กับพิธีกรว่า เขามาแข่งครั้งนี้พร้อมกับคนที่เขาหลงรัก นั่นก็คือแคตนิส ทำให้ผู้ชมเริ่มเห็นใจและเทคะแนนให้เขต 12 มากขึ้น แต่แคตนิสกลับมองว่าพีต้าทำเพื่อตัวเองเสียมากกว่า ในวันแข่งขัน สนามประลองถูกออกแบบให้เป็นป่าขนาดใหญ่ มีทุ่งอยู่ตรงกลาง พร้อมกับคอร์นูโคเปีย ที่รวบรวมอาวุธและข้าวของเครื่องใช้ให้บรรณาการมาแย่งกัน บรรณาการทั้ง 24 คนถูกปล่อยตัว และการแข่งขันจึงเริ่มต้น เพียงแค่ในวันแรกบรรณาการเขตต่างๆถูกฆ่าตายไปกว่าครึ่งนึงที่คอร์นูโคเปีย ส่วนแคตนิสใช้วิธีหนีออกห่างบรรณาการคนอื่นๆให้ไกลที่สุด แต่เธอถูกไฟป่าที่แคปปิตอลสร้างขึ้นไล่ต้อนจนทำให้บาดเจ็บสาหัส

แคตนิสได้รับความช่วยเหลือจากสปอนเซอร์ที่เฮย์มิสหามาให้ เธอได้รับเป็นยาทาแผล ทำให้สามารถรอดจากบาดแผลไฟไหม้ได้ แต่แล้วแคตนิสกลับต้องเข้าตาจนเมื่อต้องพบกับเหล่า"มืออาชีพ" ซึ่งก็คือกลุ่มบรรณาการที่แข็งแกร่งจับกลุ่มกันออกล่าบรรณาการคนอื่น ๆ ซึ่งในกลุ่มของมืออาชีพก็มีพีต้าอยู่ด้วย แคตนิสทิ้งรังแทร็กเกอร์ แจ็กเกอร์ ตัวต่อมรณะใส่พวกมืออาชีพ ทำให้กลุ่มมืออาชีพแตกกลุ่มกระเจิง แต่แคตนิสเองก็ถูกแทร็กเกอร์ แจ็กเกอร์ต่อยเช่นกัน พิษของมันทำให้แคตนิสประสาทหลอนและเกือบถูก คาโต้จากเขต 2 ฆ่าตายแต่พีต้าเข้ามาขวางไว้ ทำให้เธอรู้ทันทีว่าพีต้าร่วมกลุ่มกับพวกมืออาชีพเพื่อช่วยเธอ แคตนิสหนีไปได้แต่ก็สลบไปเพราะพิษของแทร็กเกอร์ แจ็กเกอร์ แคตนิสฟื้นขึ้นพบกับริว เด็กสาววัย 12 ปีจากเขต 11 ที่ช่วยเธอไว้ ทั้งสองช่วยกันหาอาหารทำให้แคตนิสเอ็นดูริว แต่แล้วริวกลับถูกฆ่าตายในขณะที่พลัดหลง ทำให้แคตนิสเริ่มเห็นถึงความอยุติธรรมที่แคปปิตอลมอบให้เด็กอายุ 12 คนนึง เธอจัดแต่งศพของริวให้สวยงาม พร้อมกับชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วแสดงถึงการบอกลาและขอบคุณ จากจุดนี้ทำให้ประชาชนเขตต่าง ๆ เริ่มรู้สึกฮึกเหิมที่จะไม่อยู่ใต้อำนาจของแคปปิตอลตลอดไป

แคตนิสหนีไปจนพบกับพีต้า แต่เธอพบว่าพีต้าได้รับบาดเจ็บสาหัสจากตอนสู้กับคาโต้ แคตนิสอาสาไปงานเลี้ยงเสบียงเพื่อนำยากลับมาช่วยพีต้า ทั้งสองแกล้งทำเป็นรักกันจนทำให้สปอนเซอร์ส่งของมาช่วยเหลือมากขึ้น ผู้คุมเกมประกาศให้มีผู้ชนะ 2 คนจากเขตเดียวกันได้ ทำให้ทั้งสองมีโอกาสมากขึ้น สุดท้ายบรรณาการเหลือเพียงแค่ คาโต้ แคตนิส และพีต้า ทั้งสามหนีการไล่ล่าของมัตต์ อสูรกลายพันธ์ของแคปปิตอล แคตนิสฆ่าคาโต้ตาย แต่แล้วเกมกลับยังไม่จบเนื่องจากผู้คุมเกมเปลี่ยนกฎให้มีผู้ชนะเพียงคนเดียว ซึ่งเท่ากับว่าแคตนิสและพีต้าต้องฆ่ากันเอง แคตนิสไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจของแคปปิตอล เธอหยิบลูกเบอร์รีพิษขู่ผู้คุมเกมว่าจะกินลูกเบอร์รีพร้อมพีต้าและจะตายไปด้วยกัน ทำให้ผู้คุมเกมถูกปั่นหัวและเปลี่ยนให้มีผู้ชนะสองคนในตอนสุดท้าย

หลังเกมจบทั้งสองได้รับการรักษา และรับตำแหน่งผู้ชนะเกมล่าชีวิตครั้งที่ 74 ร่วมกัน แต่การที่แคตนิสให้ความสำคัญกับการตายของริว และใช้ลูกเบอร์รีข่มขู่แคปปิตอลนั้นเริ่มสร้างความกระด้างกระเดื่องเล็ก ๆ ในหมู่ประชาชนทั้ง 12 เขต เนื่องจากผู้คนเริ่มเห็นว่าตนไม่ได้ตกภายใต้อำนาจของแคปปิตอลอีกต่อไป แคตนิสและพีต้ากลับสู่เขต 12 เพื่อรับรางวัลเป็นความเป็นอยู่ที่ดีตลอดชีวิตที่แคปปิตอลจะมอบให้ พีต้าบอกกับแคตนิสว่าเขารักเธอจริง ๆ แต่แคตนิสไม่ได้คิดไปมากกว่านั้น สิ่งที่เธอคิดเพียงแค่ช่วยให้ครอบครัวของเธอรอดชีวิตเท่านั้น ทั้งสองถูกต้อนรับชัยชนะโดยประชาชนเขต 12 โดยไม่รู้เลยว่า พาเน็มกำลังจะเปลี่ยนไปตลอดกาล

นักแสดงนำ[แก้]

การสร้าง[แก้]

การถ่ายทำภาพยนตร์[แก้]

แกรี รอสส์ กลายมาเป็นผู้กำกับในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 [11][12] บริษัทประกันภัยกองทุนไฟเยอร์แมนได้ประกันการผลิต แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงถึงอันตรายโดยละเอียดหลายประการ อาทิ จากลูกธนู, ไม้เลื้อยพิษ, หมี, ฝูงผึ้ง และการไล่ล่าข้ามห้วงน้ำอย่างรวดเร็ว[13]

ลอว์เรนซ์ได้ย้อมผมของเธอเป็นสีดำ[14] เธอยังเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ได้รูปร่างที่เข้ากับบทบาท อาทิ การยิงธนู, การปีนก้อนหินและต้นไม้, การต่อสู้, การวิ่ง, ปาร์กัว และโยคะ[15] รวมทั้งได้เกิดอุบัติเหตุในวันสุดท้ายของสัปดาห์ที่หกจากการฝึกหัดของเธอ ซึ่งเธอได้วิ่งชนกำแพงขณะที่เธอวิ่งอย่างรวดเร็วเต็มที่ แต่ไม่ได้บาดเจ็บสาหัสแต่อย่างใด นักแสดงคนอื่นที่ทำการย้อมผม ประกอบด้วย จอช ฮัทเชอร์สัน ในบทของ พีตา และ เลียม เฮมส์เวิร์ท ในบทของ เกล[2] ไลออนส์เกทยังได้ทำการจ้างนักยิงธนูเจ้าของเหรียญทองแดงโอลิมปิกอย่าง คาทูนา ลอริก มาสอนถึงวิธีการยิงธนูให้แก่ลอว์เรนซ์ด้วยเช่นกัน[13]

การตอบรับ[แก้]

ปฏิกิริยาการตอบรับ[แก้]

เกมล่าเกม ได้รับการสรรเสริญจากนักวิจารณ์ในเวทีสากล โดยอิงจาก 226 ความคิดเห็นที่รวบรวมจากเว็บไซต์รอทเทนโตเมโต้ ภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการจัดระดับที่ 85% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ "รับรองความสด" และได้ค่าเฉลี่ยที่ 7.3/10 คะแนน ภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับคะแนนที่ค่า 80% จากนักวิจารณ์ชั้นนำ ฉันทามติของเว็บไซต์ดังกล่าวระบุว่า "น่าตื่นเต้นและแสดงได้ดีเยี่ยม เกมล่าเกม สามารถเข้าถึงความรุนแรง, อารมณ์ดิบ รวมถึงขอบเขตการทะเยอทะยานที่มีอยู่ในนิยายต้นฉบับได้เป็นอย่างมาก"[16] เว็บไซต์เมต้าคริทิคส์ ให้คะแนนภาพยนตร์ดังกล่าวที่ 67 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 และมีการบอกถึงการตอบรับโดยทั่วไปในเกณฑ์ที่ดี โดยอิงจาก 44 ความคิดเห็นของนักวิจารณ์[17]

บ็อกซ์ออฟฟิศ[แก้]

ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เกมล่าเกม ได้ทำลายสถิติยอดบัตรเข้าชมผ่านทางแฟนแดงโก ทำลายสถิติ แวมไพร์ ทไวไลท์ 3 อีคลิปส์ ที่ได้ทำไว้ในช่วงก่อนหน้าเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 โดยยอดจำหน่ายได้รับการรายงานว่าอยู่ที่ 83 เปอร์เซ็นต์ของยอดรวมตลอดวัน[18]

โฮมมีเดีย[แก้]

ภาพยนตร์ได้รับการเปิดตัวในทวีปอเมริกาเหนือและเนเธอร์แลนด์ในรูปแบบดีวีดีและบลูเรย์ ณ วันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2012 และในยุโรป ณ วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2012 และแถมเบื้องหลัง 'ภาพยนตร์ที่คนทั้งโลกเฝ้ารอคอย: การสร้างเกมล่าเกม', ฟีเจอร์ที่หลากหลาย, วิดีโอประชาสัมพันธ์, การพูดคุยกับผู้กำกับ แกรี รอสส์ และ เอลวิส มิชเชล กับความสำเร็จในการทำการตลาด

ในสุดสัปดาห์แรกของการจัดจำหน่าย ไลออนส์เกตได้รายงานว่ามีการจำหน่ายดีวีดีและบลูเรย์ไปแล้ว 3.8 ล้านชุด โดยมากกว่าหนึ่งในสามอยู่ในรูปแบบของบลูเรย์[19] สามสัปดาห์ภายหลังจากการเปิดตัวภาพยนตร์ในรูปแบบโฮมมีเดียในสหรัฐฯ ได้มีการจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีไปแล้ว 5 ล้านชุด และในรูปแบบบลูเรย์อีก 3.7 ล้านชุด[20][21]

ภาคต่อ[แก้]

ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ในช่วงที่การถ่ายทำยังคงดำเนินอยู่ ทางไลออนส์เกทได้ประกาศว่า ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนิยายภาคสองในไตรภาคของ เดอะฮังเกอร์เกมส์ ที่มีชื่อว่า ปีกแห่งไฟ มีกำหนดเปิดตัว ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 [22]

เดอะฮังเกอร์เกมส์แอดเวนเจอร์[แก้]

เกมโซเชียลเน็ตเวิร์คในชื่อชุด เดอะฮังเกอร์เกมส์แอดเวนเจอร์ ได้รับการเปิดตัวผ่านทางเฟซบุ๊กในช่วงเดียวกันกับการเปิดตัวภาพยนตร์ชุดนี้ ซึ่งเป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่พัฒนาขึ้นโดยไลออนส์เกท ที่ได้ร่วมมือกับฟังแทคติกซ์[23]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Hunger Games" (Press release). Lions Gate Entertainment. March 3, 2012. สืบค้นเมื่อ March 3, 2012.
  2. 2.0 2.1 "9 Untold Secrets of the High Stakes 'Hunger Games'". The Hollywood Reporter. February 1, 2012. สืบค้นเมื่อ February 7, 2012.
  3. "The Hunger Games (2012)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 1, 2012.
  4. Fleming, Mike (May 24, 2011). "Toby Jones In 'The Hunger Games'". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ May 24, 2011.
  5. "Release dates for The Hunger Games". Internet Movie Database. สืบค้นเมื่อ March 14, 2012.
  6. Valby, Karen (January 25, 2011). "'The Hunger Games' gets a release date". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-17. สืบค้นเมื่อ April 6, 2011.
  7. Goldberg, Matt (February 2, 2012). "THE HUNGER GAMES Will Get a One-Week IMAX Run". Collider.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ March 8, 2012.
  8. Box Office Shocker: 'Hunger Games' Third-Best Opening Weekend of All Time, สืบค้นเมื่อ 2012-03-26
  9. Joshua L. Weinstein (March 16, 2011). "Jennifer Lawrence Gets Lead Role in 'The Hunger Games'". The Wrap. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-24. สืบค้นเมื่อ March 17, 2011.
  10. 10.0 10.1 Sperling, Nicole (April 4, 2011). "'The Hunger Games': Josh Hutcherson and Liam Hemsworth complete the love triangle". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ April 6, 2011.
  11. "The Changing Objective of the American Film Market". Baseline Intel. November 18, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-04. สืบค้นเมื่อ April 6, 2011.
  12. Valby, Karen (January 6, 2011). "'Hunger Games' exclusive: Why Gary Ross got the coveted job, and who suggested Megan Fox for the lead role". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-24. สืบค้นเมื่อ April 6, 2011.
  13. 13.0 13.1 Janet Morrissey (March 24, 2012). "Insuring Hollywood Against Falls (but Not Flops)". The New York Times. BU1.
  14. Ayres, Tom (May 23, 2011). "Jennifer Lawrence 'unaware of Hunger Games hate'". Digital Spy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-09. สืบค้นเมื่อ December 18, 2011.
  15. Still, Jennifer (May 26, 2011). "Jennifer Lawrence: 'Hunger Games training fun'". Digital Spy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ December 18, 2011.
  16. "The Hunger Games". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
  17. "The Hunger Games". Metacritic. สืบค้นเมื่อ March 17, 2012.
  18. Semigran, Aly (February 24, 2012). "'The Hunger Games' breaks a 'Twilight' ticket sales record; hundreds of showings already sold out". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ February 17, 2012.
  19. "3.8 million Hunger Games DVDs sold". Coming Attractions by Corona. สืบค้นเมื่อ August 21, 2012.
  20. "DVD Sales Chart - Week Ending Sep 9, 2012". The-numbers.com. สืบค้นเมื่อ September 20, 2012.
  21. "Domestic Weekly Blu-ray Sales Chart". The Numbers. สืบค้นเมื่อ September 20, 2012.
  22. Weinstein, Joshua L (August 8, 2011). "The Hunger Games Sequel Set for 2013 Release". The Wrap. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-07. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
  23. "'The Hunger Games Adventures' New Facebook Game". WhatCulture!. March 28, 2012. สืบค้นเมื่อ 29 March 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]