ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อภิรัชต์ คงสมพงษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 มีชื่อเล่นว่า "แดง" บุคคลทั่วไปจึงเรียก "ผู้การแดง" เป็นบุตรชายคนโตของ พลเอก [[สุนทร คงสมพงษ์]] อดีต[[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุด|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] และหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ที่มีบทบาทในเหตุการณ์[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534|รัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534]] และ[[พฤษภาทมิฬ|เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535]] กับ พันเอกหญิง คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์
พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 มีชื่อเล่นว่า "ไอ้เหี้ยแดง" บุคคลทั่วไปจึงเรียก "ผู้การแดง" เป็นบุตรชายคนโตของ พลเอก [[สุนทร คงสมพงษ์]] อดีต[[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุด|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] และหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ที่มีบทบาทในเหตุการณ์[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534|รัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534]] และ[[พฤษภาทมิฬ|เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535]] กับ พันเอกหญิง คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์


=== ประวัติการศึกษา ===
=== ประวัติการศึกษา ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:13, 4 เมษายน 2562

อภิรัชต์ คงสมพงษ์
ไฟล์:Apiratch2018.jpg
ผู้บัญชาการทหารบก
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้าเฉลิมชัย สิทธิสาท
ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2561
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้าเฉลิมชัย สิทธิสาท
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน พ.ศ. 2557
ประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าสมชัย สัจจพงษ์
ถัดไปพลโท กู้เกียรติ ศรีนาคา
แม่ทัพภาคที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าพลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มีนาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสอมฤดา คงสมพงษ์ (หย่า)
รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์
บุตรร้อยเอก พิรพงษ์ คงสมพงษ์
ร้อยโท แพทย์หญิงอมรัชต์ คงสมพงษ์
บุพการี
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็นอภิรัชต์ คงสมพงษ์.png
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2527 –ปัจจุบัน
ยศ พลเอก

พลเอก[1] อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2503) เป็นผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.)[2] รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[3], เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[4] นายทหารพิเศษประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[5] นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ สังกัด กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ, นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ สังกัดกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์[6] อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล กรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)[7] กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[8] กรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์[9] และประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด[10]

ประวัติ

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 มีชื่อเล่นว่า "ไอ้เหี้ยแดง" บุคคลทั่วไปจึงเรียก "ผู้การแดง" เป็นบุตรชายคนโตของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่มีบทบาทในเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 กับ พันเอกหญิง คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์

ประวัติการศึกษา

พลเอก อภิรัชต์ สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 20 (ตท.20) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 31 (จปร.31) โดยเลือกเหล่าทหารขนส่ง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเหล่าทหารราบ ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสต์เทิร์น วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ เขายังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยเสนาธิการทหาร และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57

ประวัติรับราชการ

การรับราชการตำแหน่งที่สำคัญ เช่น นักบินศูนย์การบินทหารบก, ฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) และรองเสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระอง(รอง เสธ.ร.11 รอ.), ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน 2 รอ.) ก่อนติดยศพันเอก (พ.อ.) ในตำแหน่งเสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (เสธ.ร.11 รอ.)

จากนั้นขึ้นรับตำแหน่งรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (รอง ผบ.ร.11 รอ.) ขณะเดียวกันก็ไปราชการสนามที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ในหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส

จากนั้นขึ้นเป็นเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (เสธ.พล.1 รอ.) ในยศพันเอกพิเศษ พ.อ.(พิเศษ) ก่อนที่จะเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์[11]และขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (รอง ผบ.พล.1 รอ.)[12]และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 และในเวลาต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์,[13] รองแม่ทัพภาคที่ 1, แม่ทัพน้อยที่ 1, แม่ทัพภาคที่ 1 และดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560

ในวันที่ 1 กันยายน 2561 มีพระราชโองการแต่งตั้งให้พลเอกอภิรัชต์ เป็นผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน เป็นต้นไป[2]

ชีวิตส่วนตัว

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ สมรสครั้งแรกกับอมฤดา (สกุลเดิม อมฤต) โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทาน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529[14] มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ร้อยเอก พิรพงษ์ คงสมพงษ์ (ชื่อเล่น พลุ) และ ร้อยโท แพทย์หญิงอมรัชต์ คงสมพงษ์ (ชื่อเล่น เพลิน สมรสกับพันเอกไชยสิริ วิบูลมงคล[15]) ต่อมาพลเอกอภิรัชต์และอมฤดาได้หย่าขาดจากกัน

ปัจจุบัน พลเอก อภิรัชต์ ใช้ชีวิตคู่ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ (สกุลเดิม ศิริจรรยา) อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตพิธีกรรายการ The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3[16]

บทบาทที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติการเมือง

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ มีบิดาทำรัฐประหารและมีทรัพสิมากถึง4พันล้าน คอรัปชั่นอยู่ในสายเลือด เป็นที่รู้จักกันในเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ในฐานะผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเป็นที่บัญชาการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นผู้นำกำลังทหารปฏิบัติการยึดคืนสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยคมที่จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553 จากการยึดครองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นผู้นำทหารกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ 28 คนบนดาดฟ้าของอาคารที่ทำการสถานี ปกป้องสถานี[17]

ก่อนหน้านั้น พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็นผู้นำทหารในสังกัดกองทัพบกหลายคน หลายเหล่า แถลงข่าวตำหนิพฤติกรรมของ พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งเป็นนายทหารรุ่นพี่และเป็นอาจารย์มาก่อนที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ที่ออกมากล่าววิพากษ์วิจารณ์ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาระดับสูง อย่างรุนแรงหลายครั้ง และในต้นปี พ.ศ. 2551 พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็นผู้ที่เข้าไปกระซิบกับนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ให้หยุดพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันจนเป็นที่กล่าวขานมาแล้ว[17][18]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เหรียญราชการชายแดนแม่แบบ:ต.จ.สืบตระกูลจาก พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์[21]

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๒ ข พิเศษ หน้า ๑-๒๓ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐
  2. 2.0 2.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๑๒ ง พิเศษ หน้า ๑-๕๔ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๑๗ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑ กันยายน ๒๕๖๐
  4. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๓๙ ง พิเศษ หน้า ๕๙ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๑
  5. พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งนายทหารพิเศษ
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/062/15.PDF
  7. ประวัติกรรมการบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/D/023/16.PDF
  9. ประกาศ แต่งตั้งกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอน ๔ ง พิเศษ หน้า ๑ ๖ มกราคม ๒๕๖๒
  10. http://www.siamsport.co.th/football/thaileague2/view/109840 ปธ.อาร์มี่บุกให้กำลังใจนักเตะถึงสนามซ้อมก่อนเปิดซีซั่น]
  11. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ขานชื่อจองกฐิน"เสธ.แดง" จากข่าวสด
  12. ผบ.ทบ.ขยับ 86 พันเอกพิเศษสยบข่าวลือปฏิวัติ
  13. โปรดเกล้าฯโยกย้าย 203 นายทหารแล้ว
  14. พระราชกรณียกิจ วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2529 เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ
  15. นายกฯ เป็นประธานงานแต่ง พ.ท.ไชยศิริ-ร.ท.พญ.อมรัชต์ (ภาพชุด)
  16. กฤษติกา คงสมพงษ์ จากไทยรัฐ
  17. 17.0 17.1 หนังสือ ลับลวงเลือด โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน ISBN 9789740206552
  18. "อภิรัชต์ คงสมพงษ์" ทหารดีที่ควรยกย่อง
  19. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/B/047/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๗ ข หน้า ๑ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล พ.ศ. 2546, เล่ม 120, ตอนที่ 9 ข, 4 พฤษภาคม 2546, หน้า 3.