ข้ามไปเนื้อหา

วังสวนผักกาด

พิกัด: 13°45′24″N 100°32′16″E / 13.756575°N 100.537654°E / 13.756575; 100.537654
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วังสวนผักกาด
หอไตร ในสวนสนามหญ้าวังสวนผักกาดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปลี่ยนสภาพ
ประเภทวัง
ที่ตั้งแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี
เมือง กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
พิกัด13°45′25″N 100°32′14″E / 13.75694°N 100.53722°E / 13.75694; 100.53722
เริ่มสร้างไม่ทราบ
เจ้าของมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่6 ไร่
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
หอเขียนลายรดน้ำ

วังสวนผักกาด เดิมเป็นสวนผักกาด เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6 ไร่ บนถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยสร้างเพื่อประทับในช่วงสุดสัปดาห์ และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมศิลปะและโบราณวัตถุ โดยที่เจ้าของบ้านยังใช้เป็นที่พำนักอยู่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ภายหลังจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2502 พระชายา คือ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ได้มอบให้วังสวนผักกาดอยู่ในความดูแลของมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดตั้งแต่นั้นมา

วัตถุโบราณที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจนั้นได้แก่ ประติมากรรมพระอุมาเทวีศิลปะลพบุรี หอเขียนลายรดน้ำสมัยอยุธยาตอนปลาย และโบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี[1]

อาคารและบ้าน

[แก้]

วังสวนผักกาดมีอาคารและบ้านหลายแห่งด้วยกันดังนี้

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′24″N 100°32′16″E / 13.756575°N 100.537654°E / 13.756575; 100.537654

  1. Thailand, Museum. "พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด :: Museum Thailand". www.museumthailand.com.
  2. ประวัติวังสวนผักกาด สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564