พระตำหนักนนทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระตำหนักนนทบุรี
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมผสมผสาน
เมืองจังหวัดนนทบุรี
ประเทศประเทศไทย

พระตำหนักนนทบุรี สร้างขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่เศษ โดยคาดว่าพระตำหนักมีการใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารในช่วงปี 2534 [1]ถึง 2545 [2][3][4] [5]

หมู่พระตำหนัก[แก้]

พระตำหนักใหญ่[แก้]

เป็นสถานที่สำหรับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการโดยประกอบเป็นห้องต่าง ๆ เช่น

  • ท้องพระโรงใหญ่
  • ห้องสำหรับต้อนรับบุคคลสำคัญ
  • ห้องรับแขกส่วนพระองค์
  • ห้องเสวย
  • ห้องใหญ่
  • ห้องทรงงาน
  • ห้องทรงพระอักษร

พระตำหนักฟาร์มเฮ้าส์[แก้]

พระตำหนักหลังนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นที่ประทับของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา แต่ว่าทรงเปลี่ยนพระทัยโดยให้หม่อมเจ้าสิริวัณณวรี มหิดล ไปประทับกับพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาที่พระตำหนักใหญ่โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มาประทับในเวลาที่พระตำหนักวนอุทยานกำลังบูรณะอยู่โดยพระองค์ให้สร้างอาคารขึ้น 1 อาคารเพื่อใช้พระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ โดยอาคารหลังนี้เป็นอาคารทรง 8 เหลี่ยมโดยภายในเป็นห้องโล่งเพดานสูงโดยพระองค์ทรงใช้เป็นห้องอเนกประสงค์โดยด้านซ้ายบนเป็นโถงทางเข้าห้องรัชกาลที่ 1 บริเวณด้านหน้าพระตำหนักใหญ่สำหรับให้พระราชวงศ์เข้าเฝ้าโดยด้านซ้ายล่างนั้นเป็นห้องโถงซึ่งประดิษฐานพระบรมสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 บางโอกาสให้คณะทูตเข้าเฝ้าด้านขวาเป็นห้องโถงซึ่งเป็นส่วนที่แยกไปยังห้องต่าง ๆ โดยด้านหนึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระรูปของรัชกาลที่ 5 ซึ่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์มาสักการะอยู่เป็นประจำ

  • ด้านซ้าย เป็นท้องพระโรงใหญ่ เป็นส่วนที่คณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการและเป็นคณะใหญ่
  • ขวาบน เป็นที่ประดิษฐานเครื่องราชอิสริยยศและเครื่องราชอิสริยาภารณ์ ของสยามมกุฎราชกุมารซึ่งสือบทอดมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก
  • ขวาล่าง เป็นสถานที่จัดเก็บเครื่องเบญจรงค์ต่าง ๆ

ปัจจุบัน[แก้]

พระสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ในการแปรพระราชฐานที่ประทับไปยังพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จึงพระราชทานที่ดินบริเวณพระตำหนักนนทบุรีให้เป็นของแผ่นดิน ทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิม ต่อมาภาครัฐทำการจัดสรรที่ดินผืนดังกล่าว ให้แก่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำหรับจัดสร้างอาคารที่ทำการใหญ่

อ้างอิง[แก้]

  1. https://archive.li.mahidol.ac.th/bitstream/handle/0280026809/2537/MH02-01.pdf?sequence=1&isAllowed=y
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/048/4248.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/D/021/95.PDF
  4. "สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ - Nonthaburi Community Enterprise". sites.google.com.
  5. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTEROPM/DRAWER01/GENERAL/DATA0000/00000068.PDF