พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
![]() | |
ประธานองคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2495 |
รองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2475 |
หม่อม | หม่อมหลวงชุบ ศุขสวัสดิ |
พระบุตร | 10 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช |
พระมารดา | หม่อมขาบ ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา |
ประสูติ | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2423 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ (24 ตุลาคม พ.ศ. 2423 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495) อดีตรองเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและอดีตประธานองคมนตรี เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ประสูติแต่หม่อมขาบ ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา
พระประวัติ[แก้]
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าอลงกฎ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ประสูติแต่หม่อมขาบ ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา ณ วังท้ายวัดพระเชตุพน เมื่อวันอาทิตย์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง จุลศักราช 1242 ตรงกับวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2423 ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา หม่อมเจ้าอลงกฎ ศุขสวัสดิ เป็น “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า“ ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ ครุฑนาม ทรงศักดินา 3000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ในปี พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ครุฑนาม ทรงศักดินา 11000 ตามอย่างธรรมเนียม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง และทรงตั้งเจ้ากรมเป็นหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ถือศักดินา 500 ปลัดกรมเป็นพันบริรักษ์ภูเบศร ถือศักดินา 300 สมุห์บัญชีเป็นพันวิเศษพลขันธ์ถือศักดินา 200[1]
พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการสนองคุณมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จออกไปจัดระเบียบกองทหารสำหรับประจำรักษาหัวเมืองในมณฑลภาคพายัพ ตามพระบรมราโชบายเพื่อรักษาความปลอดภัยแห่งพระราชอาณาเขต อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการก่อความไม่สงบของพวกเงี้ยวในภาคเหนือ จนได้ดำรงพระยศและพระตำแหน่งเป็นนายพลตรีผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นแม่ทัพกองที่ 2 และนายพลโทแม่ทัพกองทัพน้อยทหารบกที่ 2 ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายกลับเข้ามาในพระนครเพื่อให้ทรงเป็น จเรทหารบก เสนาธิการทหารบก และรองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม จนกระทั่งพ้นจากหน้าที่ราชการเมื่อคณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ดำรงพระฐานะเป็น "นายทหารนอกราชการ" และ "นายทหารพ้นราชการ" อยู่นานถึงประมาณ 15 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2490 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้กลับมารับพระราชทานสนองพระราชภาระงานฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้ทรงดำรงตำแหน่งต่าง ๆ คือ อภิรัฐมนตรี คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ องคมนตรี และประธานองคมนตรี และทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี ในวันที่ 13 มีนาคม ถึง 29 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2494 ทรงดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 แทน พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีจนถึงวันที่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร (จอมพล ป. พิบูลสงคราม)
พลเอก พลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ประชวรด้วยพระโรคไข้ไทฟอยด์ โดยมีพระอาการหนักจนถึงสิ้นพระชนม์ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 สิริพระชันษา 72 ปี 1 เดือน 26 วัน พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
ตราประจำพระองค์[แก้]
การศึกษา[แก้]
- พ.ศ. 2435 เข้ารับราชการเป็นนักเรียนนายร้อยชั้นเล็ก และสอบไล่เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนนายร้อยชั้น 1 ได้เป็นที่ 1
- พ.ศ. 2437 สอบไล่เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนนายร้อยชั้น 2 ได้เป็นที่ 4
- พ.ศ. 2438 สอบไล่เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนนายร้อยชั้น 3 ได้เป็นที่ 1
- พ.ศ. 2441 สอบไล่เพื่อออกเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้เป็นที่ 1
หน้าที่ราชการ[แก้]
- 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 นายร้อยตรี[2]สำรองราชการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ. 2443 นายทหารประจำกองร้อยที่ 3 กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ. 2444 นายร้อยโท[3]ทำการแทนนายร้อยเอกตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
- 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 นายร้อยเอก[4]
- 16 ธันวาคม พ.ศ. 2445 ประจำกรมราชองครักษ์ ตำแหน่งราชองครักษ์ประจำการ[5]
- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ผู้บังคับกองพันพิเศษกรมทหารมณฑลนครราชสีมา[6]
- 3 กันยายน พ.ศ. 2447 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 5 มณฑลนครราชสีมา[7]
- 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 นายพันตรี[8]
- 14 ธันวาคม พ.ศ. 2449 นายพันโท[9]
- พ.ศ. 2451 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ผู้รั้งผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก[10]
- 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 นายพันเอก[11]
- มีนาคม พ.ศ. 2452 ผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก[12]
- 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 นายพลตรี[13]
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 ผู้บัญชาการกองพลที่ 5 มณฑลนครราชสีมา[14]
- มิถุนายน พ.ศ. 2456 ผู้รั้งตำแหน่งแม่ทัพกองที่ 2 และ ผู้บัญชาการกองพลที่ 5 มณฑลนครราชสีมา[15]
- กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ผู้บัญชาการกองพลที่ 7 และรั้งตำแหน่งแม่ทัพกองที่ 2[16]
- มีนาคม พ.ศ. 2457 แม่ทัพกองที่ 2 และรั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 7[17]
- เมษายน พ.ศ. 2457 แม่ทัพกองที่ 2 เพียงตำแหน่งเดียว[18]
- 28 เมษายน พ.ศ. 2458 นายพลโท[19]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2471 รั้งตำแหน่งเสนาธิการทหารบก[20]
- พ.ศ. 2471 เสนาธิการทหารบก[21] และที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
- พ.ศ. 2474 ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม แล้วเป็นรองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ได้รับพระราชทานพระยศทางทหารเรือให้เป็นนายพลเรือโท[22]
- พ.ศ. 2475 ทรงถูกเวนคืนตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เนื่องจากคณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน เปลี่ยนพระฐานะเป็น “นายทหารนอกราชการ” สังกัดกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ. 2490 อภิรัฐมนตรีสภาและผู้รักษาการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนายทหารพิเศษประจำกองทัพบก
- พ.ศ. 2492 องคมนตรี (18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2494)
- พ.ศ. 2493 พลเอก[23]
- พ.ศ. 2494 ประธานองคมนตรี[24] (13 มีนาคม - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494)
- พ.ศ. 2495 องคมนตรี[25] (8 เมษายน พ.ศ. 2495 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495)
พระยศ[แก้]
พลเอก พลเรือโท นายกองใหญ่ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกไทย กองเสือป่า |
ชั้นยศ | ![]() ![]() ![]() |
พระยศทหาร[แก้]
- นายร้อยตรี[26]
- นายร้อยโท[27]
- นายร้อยเอก[28]
- นายพันตรี[29]
- นายพันโท[30]
- นายพันเอก[31]
- นายพลตรี[32]
- นายพลโท[33]
- พลเรือโท[22]
- พลเอก[23]
พระยศเสือป่า[แก้]
พระโอรส-ธิดา[แก้]
เมื่อปี พ.ศ. 2443 นายร้อยตรี หม่อมเจ้าอลงกฎ เสกสมรสกับ หม่อมหลวงชุบ ศุขสวัสดิ ท.จ.ว. ธิดาของ พันตรี หลวงครรชิตสรกรรม (หม่อมราชวงศ์ดัด สนิทวงศ์) กับนางสาตร สกุลเดิม ประกอบศร มีพระโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 10 คน ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์หญิงรัชนีพันธุ์ ศุขสวัสดิ (29 ตุลาคม พ.ศ. 2445 - 31 มกราคม พ.ศ. 2526)
- หม่อมราชวงศ์หญิงจันทร์กระจ่าง กฤดากร (6 เมษายน พ.ศ. 2449 - 22 มกราคม พ.ศ. 2534) สมรสกับพลตรี หม่อมกฤดากรราชเสนา (หม่อมราชวงศ์เทียมพันธุ์ กฤดากร) มีบุตร-ธิดา 5 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงสอางโสม โรจนบุรานนท์ (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2540) สมรสกับปุ๋ย โรจนบุรานนท์ มีบุตร-ธิดา 4 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงโฉมแข คมกฤส (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2541) สมรสกับศาสตราจารย์เทียม คมกฤส มีบุตร-ธิดา 3 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงนิลตระการ วงษ์ตา (23 ธันวาคม พ.ศ. 2455 - 23 เมษายน พ.ศ. 2539) สมรสกับสุวัฒน์ วงษ์ตา มีบุตร-ธิดา 2 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงสังวาลพจน์ กฤดากร (7 มีนาคม พ.ศ. 2457) สมรสกับหม่อมราชวงศ์ทันพงศ์ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงรจนากร เหล่าวานิช (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549) สมรสกับประกอบ เหล่าวานิช มีบุตร-ธิดา 6 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุภรณ์รัศมี ศุขสวัสดิ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2459 - พ.ศ. 2546)
- หม่อมราชวงศ์ชายปิโยรส ศุขสวัสดิ (21 กันยายน พ.ศ. 2464 - 28 เมษายน พ.ศ. 2549) สมรสกับสายสุรีวรรณ (สกุลเดิม สุวรรณานุช) มีบุตร 4 คน และสมรสกับฤดี (สกุลเดิม มุสิกสวัสดิ์)
- พันเอก หม่อมราชวงศ์ชายพชรดนัย ศุขสวัสดิ ท.ม. ท.ช. ต.จ. (18 สิงหาคม พ.ศ. 2467 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549) สมรสกับนิยมลักษณ์ (สกุลเดิม เกษะโกมล) มีบุตร-ธิดา 2 คน
พระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
- หม่อมเจ้าอลงกฎ (24 ตุลาคม พ.ศ. 2423 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495)
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2495 –
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[37]
- พ.ศ. 2474 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[38]
- พ.ศ. 2493 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[39]
- พ.ศ. 2460 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[40]
- พ.ศ. 2457 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[41]
- พ.ศ. 2457 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[42]
- พ.ศ. 2455 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[43]
- พ.ศ. 2453 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[44]
- พ.ศ. 2461 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[45]
- พ.ศ. 2460 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))
- พ.ศ. 2470 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[46]
- พ.ศ. 2457 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2464 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2469 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2469 –
เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
ญี่ปุ่น : พ.ศ. 2472 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน (หน้า 731 มณฑลพิษณุโลก)
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เปลี่ยนแปลงตำแหน่งราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ถอนและตั้งตำแหน่งหน้าที่ราชการทหาร
- ↑ รั้งตำแหน่งแม่ทัพกองที่ 2
- ↑ รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 7
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายนายทหารรับราชการ
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้รั้งตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
- ↑ แต่งตั้งเสนาธิการทหารบก
- ↑ 22.0 22.1 พระราชทานยศทหาร
- ↑ 23.0 23.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ แต่งตั้งประธานองคมนตรี
- ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก[ลิงก์เสีย]
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน (หน้า 731 มณฑลพิษณุโลก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานยศนายหมู่เอก
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๓๖๙๕)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2015-02-22.
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานถานันดรแห่งเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เล่ม 35 หน้า 2183 วันที่ 2 ธันวาคม 2461
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2017-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 44 หน้า 2567 วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- กองทัพเรือ. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย เล่มที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์-กรุงเทพ, 2538. (กองทัพเรือพิมพ์ถวาย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เนื่องในพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยศักดิ์และบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 6 รอบ วันที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2538).
- ศิลปากร, กรม. “เมืองพิษณุโลกและพระพุทธชินราช.” อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ประชาช่าง, 2496. (นายพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ พิมพ์ถวายสนองพระคุณ).
- อลงกฎ, พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. “กองทัพไทยของเรา.” อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส). พระนคร : โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์, 2494. (หม่อมหลวงเครือวัลย์ ประเสริฐสงคราม พิมพ์แจก)
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา), หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส) | ![]() |
![]() ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พ.ศ. 2490 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495) |
![]() |
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2423
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2495
- พระวรวงศ์เธอ
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหมื่น
- ราชสกุลศุขสวัสดิ
- องคมนตรี
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ร.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- เสียชีวิตจากไข้รากสาดน้อย
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์