ข้ามไปเนื้อหา

ทางรถไฟสายคอคอดกระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายคอคอดกระ
Kra Isthmus Railway
หัวรถจักรไอน้ำที่อดีตสถานีเขาฝาชี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งจังหวัดชุมพรและระนอง ประเทศไทย
ปลายทาง
  • วังไผ่
  • เขาฝาชี
จำนวนสถานี7
ประวัติ
เปิดเมื่อ31 พฤษภาคม พ.ศ. 2486
ปิดเมื่อ15 มิถุนายน พ.ศ. 2488
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง90.82 กม. (56.43 ไมล์)
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
แผนที่เส้นทาง

สายใต้  ธนบุรี 
0.00
ชุมพร
สายใต้  สุไหงโก–ลก 
วังไผ่
ท่าสาร
ปากจั่น
ทับหลี
กระบุรี
คลองลำเลียง
90.82
เขาฝาชี
เรือข้ามฟาก
ท่าเรือ คลองละอุ่น

ทางรถไฟสายคอคอดกระ เป็นทางรถไฟทหารข้ามพื้นที่คอคอดกระ (ชุมพรกระบุรี) ที่สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วถูกรื้อถอนไปหลังสิ้นสุดสงคราม สำหรับการสร้างเส้นทางรถไฟ สายชุมพร-กระบุรี-คลองละอุ่น นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลำเลียงเสบียงอาหาร กำลังพล อาวุธหนักจากจังหวัดชุมพรไปฝั่งอันดามัน

ประวัติ

[แก้]

ริเริ่มการก่อสร้างเส้นทาง

[แก้]

ในรัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับยุคที่สหราชอาณาจักรแผ่แสนยานุภาพครอบคลุมไปทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและเอเชียตะวันออก ซึ่งการการรถไฟของประเทศอังกฤษมีความก้าวหน้ามาก ถึงกับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมีพระราชไมตรี ส่งรถไฟจำลองที่เป็นเครื่องราชบรรณาการ ที่มีแบบรถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริง ประกอบด้วยรถจักรไอน้ำและรถพ่วงครบขบวน เดินบนรางด้วยแรงไอน้ำทำนองเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทรงคิดสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกับสหราชอาณาจักรบ้าง

ต่อมามิสเตอร์ไวซ์ แห่งบริษัทลอยด์ในกรุงลอนดอน ก็ได้ส่งหนังสือมายังรัฐบาลสยาม มีใจความสำคัญ "เพื่อขอสัมปทานสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นในประเทศสยาม มีเส้นทางจากชายฝั่งทะเลอันดามันด้านมหาสมุทรอินเดียข้ามคอคอดกระไปจรดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยทางด้านตะวันออก โดยจะขอแผ่นดินสองข้างทางรถไฟข้างละประมาณ 5 ไมล์ โดยบริษัทจะมีอำนาจสิทธิขาดเหนือแผ่นดินนั้น ตลอดทั้งสินแร่ทรัพยากรในที่ดินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของบริษัทด้วย นอกจากนั้นถ้าหากรัฐบาลสยามต้องการจะสร้างทางรถไฟสายใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ บริษัทก็ยินดีจะจัดหาวิศวกรและรางเหล็กให้แก่รัฐบาลสยาม"[1] ทางฝ่ายอังกฤษได้จัดตั้งบริษัท "บริษัทรถไฟสยาม" เพื่อบริหารโครงการนี้ ฝ่ายรัฐบาลสยามได้ตอบรับยอมให้บริษัทรถไฟสยามสร้างทางรถไฟข้ามคอคอดกระเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ได้ แต่จะต้องทำตามเงื่อนไขบางประการของฝ่ายไทย โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายคอคอดกระในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยุติไป

สงครามโลกครั้งที่สองและการก่อสร้าง

[แก้]

ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ได้มีการตกลงร่างข้อตกลงเกี่ยวกับการสร้างเส้นทางรถไฟผ่านคอคอดกระ ระหว่างรัฐบาลไทย กับตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตัวแทนฝ่ายไทย และอาเกโต นากามูระ ตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่น[2] ทหารญี่ปุ่นได้ลงมือก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ยาวประมาณ 90 กิโลเมตร การจัดหาไม้หมอน ไม้สะพาน และหินนั้น ทหารญี่ปุ่นได้จัดหาเองและให้นายช่างฝ่ายไทยร่วมด้วยรางรถไฟจะเป็นรางขนาด 50 ปอนด์ และ 60 ปอนด์/หลา โดยนำรางเหล็กมาจากมลายู

การรื้อถอนทาง

[แก้]

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ทหารญี่ปุ่นได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟสายนี้บางช่วง โดยแจ้งฝ่ายไทยว่าจะนำไปซ่อมแซมในเส้นทางรถไฟสายใต้ที่ถูกโจมตีด้วยระเบิด ต่อมากองทัพญี่ปุ่นเสนอยอมแพ้สงครามเมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ทหารสหประชาชาติได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทยเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ต่อจากนั้นทหารอังกฤษจึงได้รื้อทางรถไฟสายนี้ต่อจากญี่ปุ่น แล้วนำกลับไปมลายูลำเลียงโดยรถไฟ [3]

ต้นปี พ.ศ. 2556 มีการขุดพบซากทางรถไฟสายดังกล่าว ขณะปรับเส้นทางขยายเส้นทางจราจรของถนนเพชรเกษม ช่วงอำเภอกระบุรี-ละอุ่น โดยพบเป็นเหล็กหล่อขนาดความยาว 4 เมตร ประมาณ 8 ท่อน อยู่ในลักษณะบิดเบี้ยวและโค้งงอ บางท่อนมีสภาพฉีกขาดคล้ายถูกระเบิด[4]

เส้นทางและสถานี

[แก้]

ทางรถไฟสายคอคอดกระ เป็นทางรถไฟรางเดี่ยว ขนาดความกว้างรางรถไฟ 1.000 เมตร (มิตเตอร์เกจ) ขนาดตัวรางเหล็ก 40-50 ปอนด์/หลา ตัวสถานีทำด้วยไม้ไผ่และไม้เนื้ออ่อน ก่อสร้างอย่างง่าย มีหลังคาเป็นสังกระสี มีสถานีตลอดรายทางจากชุมพรถึงเขาฝาชี จำนวน 7 สถานี ดังนี้

โครงการในอนาคต

[แก้]

กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันได้มีการเสนอ การสร้างทางรถไฟ และผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการจราจร ได้มีการเสนอแนวทางไว้ คือ เส้นทางชุมพร - ระนอง ระยะทาง 83 กิโลเมตร [5] ซึ่งเป็นแนวความคิดทางรถไฟสายคอคอดกระ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-17.
  2. โยชิกาวา โทชิฮารุ, ทางรถไฟสายไทย-พม่าในสงครามมหาเอเชียบูรพา (กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2538), หน้า 328.
  3. วารสารฟ้าขาว โรงเรียนสตรีระนอง ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ปี 2544
  4. "ขุดพบรางรถไฟโบราณ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อำเภอละอุ่น". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 9 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. กระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กระทู้ถามที่ 185/ร . เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการก่อสร้างทางรถไฟไปยังกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง) ของ นายสาคร เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เล่มที่ 127 ตอนที่ พิเศษ 137 ง ประกาศวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 หน้าที่ 122