ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอสะบ้าย้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสะบ้าย้อย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Saba Yoi
คำขวัญ: 
ยางพันธุ์ดี มีร้อยภู ดูร้อยถ้ำ
ฉ่ำน้ำไหล ลิกไนต์ดี สามัคคีเป็นเลิศ
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสะบ้าย้อย
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสะบ้าย้อย
พิกัด: 6°37′6″N 100°57′6″E / 6.61833°N 100.95167°E / 6.61833; 100.95167
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด852.81 ตร.กม. (329.27 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด80,365 คน
 • ความหนาแน่น94.24 คน/ตร.กม. (244.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90210
รหัสภูมิศาสตร์9006
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสะบ้าย้อย หมู่ที่ 1 ถนนสะบ้าย้อย-ลำไพล ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 90210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สะบ้าย้อย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา และเป็น 1 ใน 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

ได้ปรากฏหลักฐานเอกสารราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2440 (ร.ศ.116) เป็นเขตการปกครองของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ท้องที่นี้เคยมีฐานะเป็น "กิ่งอำเภอบาโหย" พบหลักฐานการเป็นกิ่งในปี พ.ศ. 2460[1] แต่ได้ยุบรวมเข้ากับอำเภอเทพา เพราะผู้คนพลเมืองน้อย การงานก็เบาบางลง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2466 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่บ้านสะบ้าย้อย เรียกว่า "กิ่งอำเภอสะบ้าย้อย"[2] ขึ้นกับอำเภอเทพา โดยมีเขตการปกครอง 5 ตำบล คือ ตำบลบาโหย ตำบลจะแหน ตำบลเปียน ตำบลเขาแดง และตำบลโมง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลสะบ้าย้อย) เมื่อปี พ.ศ. 2481 มีเขตการปกครองจำนวน 8 ตำบล

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็น "อำเภอสะบ้าย้อย"[3] และปี พ.ศ. 2531 ได้เพิ่มเขตการปกครองอีก 1 ตำบลคือ ตำบลธารคีรี[4](แยกจากตำบลบ้านโหนด และตำบลจะแหน) คำว่า "สะบ้าย้อย" เข้าใจว่า เป็นชื่อเถาว์วัลย์ชนิดหนึ่งที่มีผลเป็นฝักคล้ายสะตอ เมื่อผลสุกเมล็ดข้างในที่หุ้มเปลือกหนาจะมีเนื้อแข็งมาก ชาวบ้านนำมาใช้ในการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่า "การเล่นสะบ้า" ซึ่งมีมากในบึงแม่สะบ้าย้อย จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อตำบลและอำเภอจนถึงทุกวันนี้

  • วันที่ 16 กันยายน 2466 ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่บ้านสะบ้าย้อย เรียกว่า กิ่งอำเภอสะบ้าย้อย ขึ้นกับอำเภอเทพา[2]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลลำไพล มาขึ้นกับตำบลสะบ้าย้อย และตั้งตำบลทุ่งพอ แยกออกจากตำบลสะบ้าย้อย ตั้งตำบลบ้านโหนด แยกออกจากตำบลเปียน และตั้งตำบลคูหา แยกออกจากตำบลเขาแดง[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลเขาแดง แยกออกจากตำบลคูหา และตั้งตำบลบาโหย แยกออกจากตำบลจะแหน[6]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพา เป็น อำเภอสะบ้าย้อย[3]
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสะบ้าย้อย ในท้องที่บางส่วนของตำบลสะบ้าย้อย[7]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลธารคีรี แยกออกจากตำบลจะแหน และตำบลบ้านโหนด[4]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสะบ้าย้อย เป็นเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย[8] ด้วยผลของกฎหมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอสะบ้าย้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

28 เมษายน พ.ศ. 2547 เกิดเหตุคนร้ายบุกทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ หน่วยบริการประชาชน บริเวณห้าแยกทางเข้าตลาดสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสังหารคนร้ายทั้งหมด 19 ราย โดย 15 ราย เสียชีวิตที่ ร้านอาหารสวยน๊ะ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอสะบ้าย้อยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 62 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอสะบ้าย้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสะบ้าย้อย
  • เทศบาลตำบลท่าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะบ้าย้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งพอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเปียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโหนดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะแหนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูหาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาโหยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารคีรีทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. 2.0 2.1 "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. September 16, 1923.
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. June 5, 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-45. October 21, 1988.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3039–3040. December 12, 1938.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 77-78. November 29, 1956.
  8. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.