วัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดสงขลา)
หน้าตา
วัดมัชฌิมาวาส | |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรี |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดมัชฌิมาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เดิมเป็นชนิดวรวิหาร[1] ปัจจุบันเป็นชนิดสามัญ[2] ตั้งอยู่ที่ 222 หมู่ 11 ถนนไทรบุรี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ประวัติ
[แก้]วัดมัชฌิมาวาส เดิมชื่อ วัดเลียบ วัดกลาง วัดยายศรีจันทร์ เมื่อ 400 ปีมาแล้ว ยายศรีจันทร์ คหบดีผู้มั่งคั่งในเมืองสงขลา ได้อุทิศเงินสร้างขึ้น ต่อมาประชาชนพากันเรียกว่า "วัดกลาง" มีผู้สร้างวัดในจังหวัดสงขลาขึ้นทางทิศเหนือวัดหนึ่งชื่อวัดเลียบ แล ทิศใต้สร้างอีกวัดหนึ่งชื่อวัดโพธิ์ ชาวสงขลาจึงเรียกวัดยายศรีจันทร์ว่าวัดกลาง พ.ศ. 2431 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เสด็จเมืองสงขลา ทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นภาษาบาลีว่า วัดมัชฌิมาวาส
พิพิธภัณฑ์ภัทรศีลสังวร
[แก้]พิพิธภัณฑ์ภัทรศีลสังวร เป็นที่เก็บวัตถุโบราณต่าง ๆ ซึ่งรวบ รวมได้จากเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด และอื่น ๆ ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พระครูรัตนโมลี (รักษ์) | พ.ศ. 2358 | พ.ศ. 2379 |
2 | พระปลัดทอง | พ.ศ. 2379 | พ.ศ. 2389 |
3 | พระครูรัตนโมลี (พลู) | พ.ศ. 2389 | พ.ศ. 2394 |
4 | พระครูรัตนโมลี (มาส) | พ.ศ. 2394 | พ.ศ. 2416 |
5 | พระครูรัตนโมลี (ม้ง) | พ.ศ. 2416 | พ.ศ. 2426 |
6 | พระครูรัตนโมลี (กิมแสง) | พ.ศ. 2426 | พ.ศ. 2431 |
7 | พระภัทรธรรมธาดา (แจ้ง ภทฺทิโย) | พ.ศ. 2431 | พ.ศ. 2438 |
8 | พระครูวิสุทธิโมลี (จันทร์ทอง) | พ.ศ. 2438 | พ.ศ. 2453 |
9 | พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) | พ.ศ. 2453 | พ.ศ. 2472 |
10 | พระครูศาสนภารพินิจ (พลับ ฐิติกโร) | พ.ศ. 2472 | พ.ศ. 2477 |
11 | พระเทพวิสุทธิคุณ (เลี่ยม) | พ.ศ. 2477 | พ.ศ. 2521 |
12 | พระราชศีลสังวร (ช่วง) | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2525 |
13 | พระราชรัชมงคลโกศล (ขาว) | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2545 |
14 | พระราชศีลสังวร (ผ่อง จิรธมฺโม) | พ.ศ. 2545 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ ยกวัดใหญ่ของจังหวัดเป็นพระอารามหลวง, เล่ม 34, ตอน 0 ง, 26 สิงหาคม 2460, หน้า 1586
- ↑ ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒, หน้า 586
- บรรณานุกรม
- กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2548. 622 หน้า. หน้า 586-589.