ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอม เป็นภาษาไทยใต้กลุ่มหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากภาษาใต้อื่นๆ มีคำศัพท์ที่ได้รับอิทธพลมาจากภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษามลายูปัตตานี เป็นต้น ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอมมีใช้พูดสื่อสารกันในระหว่างสองตำบล ในสองอำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ และตำบลสะกอม อำเภอเทพา มีอาณาเขตตั้งแต่ออกจากตัวเมืองจะนะ 4 กิโลเมตร เรื่อยไปจนถึงชายฝั่งทะเลจรดตำบลปากบาง อำเภอเทพา ผู้พูดมีทั้ง ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยพุทธ และชาวไทยเชื้อสายจีน
ประวัติ[แก้]
คำว่าสะกอม มาจากภาษามลายูผสมอาหรับคำว่า "สกาโฮม"سقوم (อ่านว่า เซอ-กาโฮม)และเพี้ยนเป็นสะกอมในภายหลัง โดยเชื่อว่าภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอมซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ศัพท์สูงสันนิษฐานว่ามาจากการใช้ราชาศัพท์กับนายหัวเมือง คือ เจ้าขุนสะกอมไกร และมาจากภาษามลายูบ้าง[1]
ลักษณะของภาษา[แก้]
เนื่องจากเป็นภาษาที่อยู่ระหว่างรอยต่อของภาษาไทยถิ่นใต้ กับภาษามลายูปัตตานี ทำให้ชุมชนชาวสะกอมได้รับอิทธิพลดังกล่าวนี้มาผสมผสานเข้าด้วยกัน จนเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะคำศัพท์ และสำเนียงการพูด โดยภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอมจะใช้เสียงดัง เนื่องจากต้องพูดสู้เสียงทะเล ไม่สุภาพนุ่มนวล และพูดอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอม ยังมีความใกล้เคียงกับภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ มากกว่าภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา[2] แต่มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์คือ คำที่มีสองพยางค์ จะไม่นิยมตัดคำเหมือนภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป มีการเติมเสียงพยางค์หน้า และยังมีการเรียงคำสับ ที่เป็นภาษาถิ่นใต้ทั่วไปเช่น พุงขึ้น (ท้องขึ้น) จะเป็นขึ้นพุง เป็นต้น [3]
ตัวอย่างคำ[แก้]
ตัวอย่างคำของภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอมที่ใช้สื่อสารกัน เช่น
|
ภาษาสะกอม |
คำแปล |
หมายเหตุ
|
1 |
ปะ |
พ่อ |
|
2 |
เวาะ |
ลุง |
|
3 |
แขบ |
เร่งรีบ |
|
4 |
ตีหมาตักน้ำ |
ถัง, ถังน้ำ, ถังตักน้ำ |
มาจากคำมลายู คำว่า Timba
|
5 |
ข้าวเปียก |
ข้าวต้ม |
|
6 |
ข้าวต้ม |
ข้าวต้มมัด |
|
7 |
กะต้ม |
ข้าวต้มใบกะพ้อ |
|
8 |
พาปล๋อย |
ผ้าขาวม้า |
มาจากคำมลายู คำว่า กาอิง เลอปะฮฺ (كائن لفس)
|
9 |
แหน็บเพลา |
กางเกง |
มาจากคำเขมรคำว่า สนาบ่เภฺลา อ่านว่า สนับเภลิว แปลว่าร่องขา แต่ชาวใต้ทั่วไปเรียกว่า หนับเพลา หรือ หน้าเพลา[4]
|
10 |
จะคง |
ข้าวโพด |
มาจากคำมลายูว่า ญาฆง (Jagong) ชาวใต้ทั่วไปนิยมเรียกสั้นๆว่า คง
|
11 |
ดูหลำ |
คนฟังเสียงปลา |
ภาษามลายูปัตตานีเรียกว่า ยูสะแล บางท้องถิ่นเรียกว่า ยูสะหลำ[5]
|
12 |
ปลาลามา |
ปลาจวด |
|
13 |
ปลาลามาสองซี่ |
ปลาจวดเทียน |
|
14 |
ปลาลามาคลอง |
ปลาจวดคอม |
|
15 |
ปลาลามาจีน |
ปลาหางไก่ |
|
16 |
ปลาลามาจูหวา |
ปลาปากกว้าง |
|
17 |
ปลาลามาแดง |
ปลาจวดขี้แตก |
|
18 |
ปลาขี้เกะ |
ปลาแป้น |
|
19 |
อวนตาเระ |
อวนเข็น |
|
ตัวอย่างประโยค[แก้]
|
ภาษาสะกอม |
คำแปล
|
1 |
แลต่ะ ดำน้ำหิดเดียวเหนื่อยแข๋ตายแหล่ว |
ดูสิ ดำน้ำแค่นิดเดียว เหนื่อยจะตายแล้วเนี่ย
|
2 |
มึ๋งนิ ใหย๋จนหมาเลียวานไม่ถึงแหล่ว เทียวเดิ๋นแกเปลื๋อยโหย่เหลย ไปหาแหน็บเพลามาใสซะมังไป๊ |
มึงนี่ โตจนหมาเลียก้นไม่ถึงแล้ว ยังเที่ยวเดินแก้ผ้าอยู่เลย ไปหากางเกงมาใส่ซะบ้างไป
|
3 |
ไม่ล่าดอก |
ไม่ถอยหรอก
|
4 |
แม่ค้าๆ เส่อจะคงต๋อมสักช่อทิ คีบาทนิ? |
แม่ค้าๆ ซื้อข้าวโพดต้มสักช่อหนึ่ง ราคาเท่าไหร่?
|
อ้างอิง[แก้]
|
---|
| ภาษาราชการ | |
---|
| ภาษาพื้นเมือง | |
---|
| ภาษามือ | |
---|
|