ทิวเขาภูพาน

พิกัด: 16°46′22″N 104°21′45″E / 16.77278°N 104.36250°E / 16.77278; 104.36250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวเขาภูพาน
ทิวเขาภูพาน วิวจากวัดถ้ำคำ
จุดสูงสุด
ยอดภูลังกา
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
624 เมตร (2,047 ฟุต)
พิกัด16°46′22″N 104°21′45″E / 16.77278°N 104.36250°E / 16.77278; 104.36250
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว180 กม. (112 ไมล์) NW/SE
กว้าง50 กม. (31 ไมล์) NE/SW
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
แผนที่ภาคอีสานที่แสดงเทือกเขาภูพานด้านขวา
ประเทศประเทศไทย
รัฐ/จังหวัดจังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดอุดรธานี
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดนครพนม
จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมุกดาหาร
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินยุคครีเทเชียสตอนต้น
ประเภทหินหินทราย และ หินทรายแป้ง

ทิวเขาภูพาน เป็นระบบทิวเขาหินปูนขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ทิวเขาเริมต้นจากอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีพาดตัวยาวไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาว 250 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างสุด 90 กิโลเมตร ระหว่างภูหินปูนในอำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี กับภูผานาในอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม [1]

ทิวเขาแห่งนี้ได้แบ่งที่ราบในภาคอีสานออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ที่ราบโคราชที่ราบอุบลอยู่ทางตอนใต้ กับ ที่ราบอุดรที่ราบนครพนมอยู่ทางตอนเหนือ [1][2] อุทยานแห่งชาติภูพานเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอพรรณานิคม, อำเภอเมือง, อำเภอกุดบาก, อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และอำเภอสมเด็จ, อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

ทิวเขาภูพานเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการลักลอบตัดไม้พะยูงอย่างผิดกฎหมาย แม้ว่าจะถูดจดให้เป็นไม้หวงห้ามอย่างเป็นทางการ แต่ก็ยังมีการแอบตัดและซื้อขายต้นพะยูงใกล้สูญพันธุ์ในเขตป่าภูเขาของประเทศไทยแม้แต่ในป่าอนุรักษ์ [3][4]ประเทศไทยและประเทศจีนไม้พะยูงถือว่ามีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ชื่อของภูพานมาจากลักษณะของภูเขาที่คล้ายกับเขารูปโต๊ะ เนื่องจากคำว่า "พาน" คือภาชนะประเภทถาดซึ่งเหมือนกับภูพานที่เป็นเขายอดตัด

คำว่า "ภู" ในภาษาอีสานและภาษาลาวหมายความว่า "ภูเขา" ในภาษาไทย

ภูมิศาสตร์[แก้]

ทิวเขาภูพานมีลักษณะเป็นเขาขนาดใหญ่อยู่ทางด้านใต้ของจังหวัดสกลนครส่วนของทิวเขาที่พาดตัวไปทางทิศตะวันออกมีอยู่ 4 แนวคือ [1]

  • แนวที่ 1 เริ่มจากแนวลำห้วยบางทรายไปจนถึงภูพระบาท ห่างจากแม่น้ำโขง 4 กิโลเมตร บริเวณทิวเขาที่พาดตัวช่วงนี้มียอดเขาสูงระหว่าง 200 - 600 เมตรและกว้างประมาณ 2 กิโลเมตร
  • แนวที่ 2 เป็นแนวระหว่างห้วยบางทรายกับห้วยมุก ห่างจากแม่น้ำโขง 10 กิโลเมตร เป็นแนวที่ติดกันโดยตลอด มียอดสูงระหว่าง 300 - 500 เมตร
  • แนวที่ 3 เป็นแนวระหว่างห้วยมุกกับห้วยบังอี่ในจังหวัดมุกดาหารทอดตัวไปทางตะวันออกจนถึงแม่น้ำโขงบริเวณแนวภูเขาด้านตะวันออกจะไม่ปะติดปะต่อกันมีความสูงของยอดเขา ประมาณ 200 - 400 เมตร
  • แนวที่ 4 เป็นแนวที่อยู่ทางใต้แนวที่สามลงมาบริเวณด้านตะวันออกคล้ายกับแนวที่สามคือภูเขาจะไม่ปะติดปะต่อกันมีที่ราบคั่นเป็นตอน ๆ ทอดยาวลักษณะนี้ไปจนถึงแม่น้ำโขงในเขตอำเภอโขงเจียม ทิวเขานี้จะปันน้ำให้ทั้งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล

ยอดเขาที่สูงที่สุดของทิวเขาภูพานคือภูลังกาอยู่ในจังหวัดนครพนมมีความสูง 641 เมตร [5] โดยมียอดเขาสำคัญ ๆ อื่น ๆ ได้แก่ภูไม้เฮี๊ยะอยู่ในจังหวัดมุดดาหารมีความสูง 624 เมตร[6] เนินเขาส่วนใหญ่ถูกลักลอบตัดไม้ทำลายป่า แต่ก็ยังมีป่าเบญจพรรณกระจายอยู่ทั่วทิวเขา[7]

ในภูพานมีสถานที่เที่ยวที่โด่งดังเช่นพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เขื่อนน้ำอูน และยังมีสถานที่เที่ยวในท้องถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ทะเลสาบหนองหาน และพระธาตุภูเพ็กซึ่งเป็นเจดีย์รูปแบบขอมขนาดใหญ่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16[8][9]

ประวัติศาสตร์[แก้]

การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย[แก้]

ภูพานเป็นสัญลักษณ์และสมรภูมิการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับฝ่ายรัฐบาลไทยโดยมีเหตุการณ์ที่สำคัญคือ "วันเสียงปืนแตก" เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2508 เป็นการปะทะด้วยกำลังอาวุธครั้งแรก ที่บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2508 - 2509 การเคลื่อนไหวทางการเมืองและการก่อการกำเริบของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในภาคอีสานค่อนข้างชัดเจนเปิดเผยและมีความรุนแรงกว่าภาคอื่น ๆ และการเคลื่อนไหวในภาคอีสานนี้มีมวลชนเป็นแนวร่วมค่อนข้างมาก[10]

ก่อนเหตุการณ์เสียงปืนแตกที่บ้านนาบัวพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มเคลื่อนไหวปฏิบัติงานจริงจังบริเวณทิวเขาเขาภูพานมาตั้งแต่ พ.ศ. 2504 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และมีการจับกุมผู้เห็นต่างครั้งใหญ่ด้วยข้อกล่าวหาว่า "การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ทำให้ปัญญาชนในยุคนั้นต้องปรับแนวความคิดใหม่ การตั้งข้อหาในลักษณะนี้ส่วนสำคัญในการผลักดันให้ปัญญาชนจำนวนหนึ่งมุ่งสู่ป่าบนทิวเขาภูพาน และต่อสู้อย่างต่อเนื่องยาวนานด้วยยุทธศาสตร์ "ป่านำบ้าน"[10]

เสรีไทย[แก้]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทิวเขาภูพานเคยเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ของขบวนการเสรีไทยเพื่อใช้สำหรับต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ปัจจุบันในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนครมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือถ้ำเสรีไทยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ 4.5 กิโลเมตร [10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "ภูมิศาสตร์ประเทศไทย". web.archive.org. 17 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 16 March 2024.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. Schuler, Ulrich. "NE-Thailand (Isan)". Geosciences. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
  3. Fredrickson, Terry (2011-09-19). "Forest robbery". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 November 2015.
  4. Waewkraihong, Jakkrit (6 Feb 2013). "Cambodians caught for phayung smuggling". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 November 2015.
  5. "PHU LANGKA NATIONAL PARK". Tourism Authority of Thailand (TAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-23. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
  6. "Phu Mai Hia". getamap.net. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
  7. Phu Kao - Phu Phan Kham National Park เก็บถาวร 2012-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Nam Un Dam เก็บถาวร 2012-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "พระธาตุภูเพ็ก". Tourism Authority of Thailand (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 March 2024.
  10. 10.0 10.1 10.2 "จาก 7 สิงหา 'เสียงปืนแตก' ถึงปัจจุบันของ 'คนกับป่า' ที่ 'ภูพาน'". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 22 March 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]