พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม |
|
---|---|
![]() |
|
|
|
พระนาม | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม |
พระอิสริยยศ | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ |
ฐานันดรศักดิ์ | พระองค์เจ้า |
ราชวงศ์ | จักรี |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | 13 กันยายน พ.ศ. 2425 |
สิ้นพระชนม์ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดามรกฎ เพ็ญกุล |
ชายา | หม่อมเจ้าวรรณวิลัย เพ็ญพัฒน์ |
หม่อม | หม่อมเทียม คชเสนี |
พระบุตร | พรรณเพ็ญแข กฤดากร หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระนามเดิม พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "เพ็ญพัฒน์" เป็นผู้พระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือน
พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425 เสด็จไปศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2446 ขณะพระชนมายุ 20 พรรษา กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ
ในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ โดยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น สอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม พร้อมกับสร้างสวนหม่อนและสถานีเลี้ยงไหมขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพ ทรงจัดตั้งกองช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมา วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 กระทรวงเกษตราธิการได้รวมกองการผลิต, กองการเลี้ยงสัตว์ และกองช่างไหม ตั้งขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" โดยมี พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ เป็นอธิบดีกรมช่างไหมพระองค์แรก
งานหลักของกรมช่างไหม คือ การดำเนินงานตามโครงการของสถานีทดลองเลี้ยงไหม เริ่มด้วยการก่อตั้งโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นในพระราชวังดุสิต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2446 และเปิดโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นที่ปทุมวัน เรียกว่า "โรงเรียนกรมช่างไหม" เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาวิจัย และฝึกพนักงานคนไทยขึ้นแทนคนญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทย โปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า "วงพระองค์เพ็ญ" พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายชนิด และทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ เมื่อครั้งเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมได้เสด็จไปนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2446 ทรงชอบพอกับ เจ้าหญิงชมชื่น ณ เชียงใหม่ พระธิดาใน เจ้าราชสัมพันธวงศ์ ธรรมลังกา ณ เชียงใหม่, เจ้าราชสัมพันธวงศ์นครเชียงใหม่ กับ เจ้าหญิงคำย่น (ณ ลำพูน) ณ เชียงใหม่ ได้โปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอ แต่ได้รับการทัดทาน ไม่มีโอกาสที่จะได้สมรสกัน ทำให้พระองค์โศกเศร้ามาก และได้ทรงพระนิพนธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน (หรือ ลาวดวงเดือน) ขึ้น เมื่อใดที่ทรงระลึกถึง เจ้าหญิงชมชื่น ก็จะทรงดนตรีเพลงนี้มาตลอดพระชนมชีพ
วังที่ประทับของกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เป็นบ้านของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) บิดาของเจ้าจอมมารดามรกฎ มีชื่อเรียกว่าวังท่าเตียน (เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งวัง เช่นเดียวกับ วังท่าเตียน หรือ วังจักรพงษ์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์) มีโรงละครอยู่โรงหนึ่ง ในสมัยนั้นเรียกกันว่า ปรินส์เทียเตอร์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม สิ้นพระชนม์ด้วยโรคปอดเรื้อรัง เมื่อ พ.ศ. 2453 พระชนมายุ 28 พรรษา
พระโอรส-ธิดา[แก้]
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงวรรณวิลัย (กฤดากร) (1 ตุลาคม 2431 - 20 ธันวาคม 2476) พระธิดาในกรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2446 มีพระธิดา 1 พระองค์ คือ [1][2]
- หม่อมเจ้าหญิงพรรณเพ็ญแข เพ็ญพัฒน์ (11 กันยายน 2448 - 1 กรกฎาคม 2517) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร
- หม่อมหลวงเพ็ญศักดิ์ กฤดากร (12 ตุลาคม 2476 - ) สมรสกับ มยุรี สุขุม และ จุฑามาศ สุคนธา
- กฤษพงษ์ กฤดากร ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงหญิงพรรณศิริ กฤดากร (15 กันยายน 2478 - ) สมรสกับ วัฒนา อัศวรักษ์
- ศิริวัฒนา อัศวรักษ์
- หม่อมหลวงหญิงธิดาเพ็ญ กฤดากร (30 ธันวาคม 2480 - ) สมรสกับ วัฒนา อัศวรักษ์ และ ศุภโยกต์ มาลิก
- นัดดาเพ็ญ อัศวรักษ์
- พันธ์เพ็ญ อัศวรักษ์
- นภาเพ็ญ กฤดากร (ใช้นามสกุลมารดา)
- ศศิภา กฤดากร (ใช้นามสกุลมารดา)
- หม่อมหลวงเพ็ญศักดิ์ กฤดากร (12 ตุลาคม 2476 - ) สมรสกับ มยุรี สุขุม และ จุฑามาศ สุคนธา
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มีพระโอรสกับหม่อมเทียม คชเสนี (พฤศจิกายน 2433 - 24 เมษายน 2507) 1 พระองค์ คือ
- หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ (9 พฤษภาคม 2449 - 10 มกราคม 2503) สมรสกับหม่อมหลวงพอจิตร ปัทมสิงห์
- หม่อมราชวงศ์เพ็ญพิไชย เพ็ญพัฒน์ (2 มิถุนายน 2476 - ) สมรสกับ เชอร์ลีย์ แอนน์ วีเลอร์ ชาวอังกฤษ และ เพ็ญสินี แก้วสถิต
- หม่อมหลวงหญิงสุธารัตน์ เพ็ญพัฒน์ (แฝด) สมรสกับ วีระชัย อุดมมานะ
- หม่อมหลวงหญิงวิไลรัตน์ เพ็ญพัฒน์ (แฝด) สมรสกับ ชัยรักษ์ นภาบริรักษ์
- หม่อมหลวงพิพัฒนไชย เพ็ญพัฒน์
- หม่อมหลวงรังสิภัทร เพ็ญพัฒน์
- หม่อมหลวงนันทิวัชร เพ็ญพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์พัฒน์มหินทร์ เพ็ญพัฒน์ (16 มิถุนายน 2480 - 13 สิงหาคม 2523)
- หม่อมราชวงศ์เพ็ญพิไชย เพ็ญพัฒน์ (2 มิถุนายน 2476 - ) สมรสกับ เชอร์ลีย์ แอนน์ วีเลอร์ ชาวอังกฤษ และ เพ็ญสินี แก้วสถิต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2451 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 (จ.ป.ร.1)
ราชตระกูล[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม |
พระชนก: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ |
|||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ |
||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: หม่อมน้อย |
|||
พระชนนี: เจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5 |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ญ เพ็ญกุล) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: หลวงจินดาพิจิตร (ด้วง) |
|
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่ทราบ |
|||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ท่านผู้หญิงหุ่น เพ็ญกุล |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยานครอินทร์รามัญ |
||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่ทราบ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i672.html
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2425
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2452
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
- พระองค์เจ้า
- กรมหมื่น
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลเพ็ญพัฒน์
- นักแต่งเพลงชาวไทย
- นักดนตรีไทย
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- เสียชีวิตจากโรคปอด