ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (เนตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้า

พระศีลวราลังการ

(เนตร )
หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (เนตร) ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2408 (ภาพถ่ายโดย จอห์น ทอมสัน)
ส่วนบุคคล
ประสูติ
หม่อมเจ้าเนตร

พ.ศ. 2377
สิ้นชีพิตักษัย19 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 (80 ปี)
ศาสนาพุทธ
บุพการี
  • พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว (บิดา)
  • หม่อมชะมด ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา (มารดา)
ราชวงศ์ปัทมสิงห์ (ราชวงศ์จักรี)
นิกายเถรวาท
สำนักมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร จังหวัดพระนคร

หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าเนตร ประสูติปี พ.ศ. 2377 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นพระโอรสในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว ต้นราชสกุลปัทมสิงห์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี) กับหม่อมชะมด ธิดาเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) มีพระโสทรานุชาคือหม่อมเจ้าหนูโต ปัทมสิงห์[1]

เมื่อทรงพระเยาว์ หม่อมเจ้าเนตรมักเที่ยวเตร่ ไม่เข้ารับราชการ ต่อมาทรงหนีไปผนวชที่เมืองมอญ เมื่อเสด็จกลับเมืองไทยทรงไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และย้ายมาประทับที่วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารได้หลายพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่ามีศรัทธาจริงจึงได้พระราชทานนิตยภัตไตรปีตามอย่างหม่อมเจ้าพระ[2]

เมื่อไฟไหม้พระปรางค์ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในคืนวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 หม่อมเจ้าพระเนตรทรงเป็นคนแรกที่เข้าไปทอดพระเนตรพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรด้วยทรงเป็นห่วง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องว่ามีเป็นผู้ความกตัญญู ถึงในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 จึงทรงตั้งเป็นหม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ ที่พระราชาคณะ มีนิตยภัตราคาเดือนละ 4 ตำลึง[3]

หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการประชวรโรคชรา สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ชันษา 81 ปี[4][5] นับเป็นเจ้านายพระชันษายืนพระองค์หนึ่งในราชวงศ์จักรี

อ้างอิง

[แก้]
  1. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ลำดับสกุลคชเสนี กับ โบราณคดีมอญ ๒๕๐๘, หน้า 38
  2. สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 197 หน้า. หน้า 91, 95. ISBN 974-417-530-3
  3. "การตั้งตำแหน่งสมณศักดิ์ พระราชาคณะ, พระครู, เปรียญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (34): 586–587. 22 พฤศจิกายน ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "ข่าวสิ้นชีพิตักษัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 406. 24 พฤษภาคม 2457. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๘ ข่าวสิ้นชีพิตักษัย หน้า ๔๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 406. 31 พฤษภาคม 2457. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)