เยาวภา วงศ์สวัสดิ์
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ | |
---|---|
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 75 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | สุรัตน์ สุนทรเวช |
ถัดไป | ทัศนีย์ ชาญวีรกูล (คู่สมรสรักษาการนายกรัฐมนตรี) พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (คู่สมรสนายกรัฐมนตรี) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (4 ปี 31 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล |
ถัดไป | พายัพ ชินวัตร |
ดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน พ.ศ. 2556 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (0 ปี 232 วัน) | |
ก่อนหน้า | เกษม นิมมลรัตน์ |
ถัดไป | จักรพล ตั้งสุทธิธรรม |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (1 ปี 18 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เยาวภา ชินวัตร 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2542–2549) เพื่อไทย (2551–2564) |
คู่สมรส | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
บุตร | |
บุพการี |
|
ญาติ | ทักษิณ ชินวัตร (พี่ชาย) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (น้องสาว) พายัพ ชินวัตร (น้องชาย) แพทองธาร ชินวัตร (หลานสาว) พานทองแท้ ชินวัตร (หลานชาย) พินทองทา ชินวัตร (หลานสาว) |
ชื่อเล่น | แดง |
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) ชื่อเล่น แดง อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประธาน ส.ส.ภาคเหนือ พรรคเพื่อไทย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็มลิงก์ เอเชีย คอรัปชั่น จำกัด[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย[2] และหัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน พรรคไทยรักไทย เป็นภริยาของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 เป็นน้องสาวคนรองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 และเป็นพี่สาวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 28
ประวัติ
[แก้]เยาวภาเกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 6 และเป็นบุตรสาวคนที่ 4 ในจำนวน 10 คน ของนายเลิศ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) [3][4][5] จบการศึกษาชั้นประถม จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย, ชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จบหลักสูตรพยาบาล โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยแมคคอร์มิคเชียงใหม่ สำเร็จปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สำเร็จรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ด้านชีวิตครอบครัว เยาวภาสมรสกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขณะที่ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดเชียงใหม่ มีบุตร 1 คนคือ ยศธนัน (เชน) และธิดา 2 คนคือ ชินณิชา (เชียร์) กับชยาภา (เชอรี่) โดยชินณิชาเป็นอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง รวมถึงบริษัท แอสคอน คอนสตรักชั่น จำกัด ผู้รับเหมาก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เยาวภาเปิดบริษัท สตรอง พอยต์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (Strong Point Entertainment) ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายดนตรี (ค่ายเพลง) เพื่อออกอัลบั้มแรกให้ชยาภา บุตรสาวคนสุดท้อง ใช้ชื่อว่า เชอรี่ ซีเครท ซี (Cherry - SECRET C)[7]
งานการเมือง
[แก้]เยาวภาเป็นนักการเมือง ระดับผู้นำของพรรคไทยรักไทย โดยเป็นหัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน และได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 โดยเอาชนะบรรจง ตะริโย จากพรรคประชาธิปัตย์ ถึงกว่า 20,000 คะแนน[8][9] จากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เยาวภาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ โดยพายัพ ชินวัตร ลงสมัครแทนในเขตเลือกตั้งเดิม
ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[10]
เพิกถอนสิทธิทางการเมือง
[แก้]เยาวภาเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย (บ้านเลขที่ 111) ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จึงถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง เป็นเวลา 5 ปี[11] แม้ต้องยุติบทบาททางการเมือง แต่เยาวภายังมีบทบาทในฐานะ แกนนำกลุ่มวังบัวบาน ซึ่งต่อมาสมชาย ผู้เป็นสามี ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และชินณิชา ผู้เป็นบุตรสาว ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จึงทำให้ครอบครัวของเธอ มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น
การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ พ.ศ. 2556
[แก้]เยาวภา ลงสมัครในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 เชียงใหม่ พ.ศ. 2556 แทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเกษม นิมมลรัตน์ ขอลาออก โดยให้เหตุผลว่า ต้องการทำงานการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่มากกว่า แต่มีการกล่าวหาว่า เพื่อเปิดทางให้เยาวภา ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเตรียมไว้เป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง[12][13] แต่เยาวภาและเกษม ปฏิเสธข่าวดังกล่าว[14] การเลือกตั้งมีขึ้น ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยเยาวภาจับสลากได้หมายเลข 2 และได้ 67,101 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 64.92 จึงได้รับการเลือกตั้ง[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็มลิงก์ เอเชีย คอรัปชั่น จำกัด
- ↑ ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 156
- ↑ สายโลหิตของเจ้านายฝ่ายเหนือที่เหลืออยู่
- ↑ ไทยรัฐ, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, เรียกดู 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
- ↑ ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 21
- ↑ นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ทายาทธุรกิจ “เจ๊แดง” จุดพลุกับธุรกิจคลังสินค้า
- ↑ "มาฟังเพลงจากลูกสาวนายกกันเถอะ เชอรี ชยาภา วงศ์สวัสดิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-10.
- ↑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- ↑ "มติครม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-05-21.
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ "หวั่นสอย "ยิ่งลักษณ์" แผนสำรองเพื่อไทย วาง "เยาวภา" นายกฯ(แดง) คนที่ 4 สายเลือดชินวัตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-02.
- ↑ 'โอ๊ค' โพสต์เฟซฯ ไม่ปฏิเสธ 'เยาวภา' นายกฯสำรอง 'ยิ่งลักษณ์'
- ↑ "เพื่อไทย" เผย "เกษม นิมมลรัตน์" ลาออกเพราะมีปัญหาสุขภาพ พร้อมปัดข่าววาง "เจ๊แดง" เป็น นายกฯ สำรอง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-05-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
บรรณานุกรม
[แก้]- ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร (2554). บริหารคนบริหารงานสไตล์ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร. ปราชญ์ สำนักพิมพ์. ISBN 9786162520129.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติ จากเว็บไซต์รัฐสภา จากกูเกิลแคช
ก่อนหน้า | เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช | คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (9 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
รศ.ดร.ทพ.ญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสันกำแพง
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- สกุลชินวัตร
- สกุลวงศ์สวัสดิ์
- นักธุรกิจจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อธรรม
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์