เกษม นิมมลรัตน์
เกษม นิมมลรัตน์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ |
ถัดไป | เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
เกษม นิมมลรัตน์ (เกิด 26 ตุลาคม พ.ศ. 2507) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นคนสนิทของตระกูลวงศ์สวัสดิ์
ประวัติ
[แก้]นายเกษม นิมมลรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2507 เป็นชาวตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายณรงค์ กับนางไชยยศ นิมมลรัตน์ มีพี่น้อง 4 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต และปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานการเมือง
[แก้]นายเกษม ทำงานการเมืองโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส.เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (พ.ศ. 2544 - 2548) และเคยทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัว รวมถึงเป็นคนขับรถให้กับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนางเยาว วงศ์สวัสดิ์[1] เขายังเป็นประธานสาขาพรรคเพื่อไทย จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์)[2][3] และต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม ในปี พ.ศ. 2555 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยแรก[4] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยให้เหตุผลเรื่องปัญหาสุขภาพ และต้องการจะทำงานการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่มากกว่า และปฏิเสธข่าวที่ว่าเป็นการลาออกเปิดทางให้นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเตรียมเป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง[5]
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แจ้งข้อหาจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ[6] เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่ง จำคุกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เกษม นิมมลรัตน์ จาก เดลินิวส์
- ↑ เปิดตัว "เกษม นิมมลรัตน์" ว่าที่ผู้สมัครส.ส.เชียงใหม่ เขาคือใคร?[ลิงก์เสีย]
- ↑ เกษม นิมมลรัตน์ ซ่อมส.ส.เชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ กกต.แจงผลเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เพื่อไทย" เผย "เกษม นิมมลรัตน์" ลาออกเพราะมีปัญหาสุขภาพ พร้อมปัดข่าววาง "เจ๊แดง" เป็น นายกฯ สำรอง[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/073/9.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/073/28.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๐๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒๑, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บ.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.