ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่เบอร์ลิน

พิกัด: 52°31′N 13°23′E / 52.517°N 13.383°E / 52.517; 13.383
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เบอร์ลิน
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ภาพการรบที่กรุงเบอร์ลินของสหภาพโซเวียตในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง เบียร์ลิน - 1945 ผลิดโดย CSDF
วันที่16 เมษายน – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
สถานที่52°31′N 13°23′E / 52.517°N 13.383°E / 52.517; 13.383
ผล

โซเวียตชนะอย่างเด็ดขาด

  • อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และข้าราชการนาซีระดับสูงคนอื่นก่ออัตวินิบาตกรรม
  • ทหารประจำที่ตั้งนครเบอร์ลินยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม กำลังเยอรมันที่ยังสู้รบนอกเบอร์ลินยอมจำนนเมื่อวันที่ 8/9 พฤษภาคม (หลังการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของกำลังเยอรมันทั้งหมด)
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1:

แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 2:

แนวรบยูเครนที่ 1:

กองทัพกลุ่มวิสตูลา:

กองทัพกลุ่มกลาง:

พื้นที่ป้องกันเบอร์ลิน:

กำลัง
  • กำลังทั้งหมด:
  • 196 กองพล[ต้องการอ้างอิง]
    • ทหาร 2,500,000 นาย (กองทัพโปแลนด์ 155,900 – ประมาณ 200,000 นาย)[1][2]
  • รถถังและปืนอัตตาจร 6,250 คัน[2]
  • อากาศยาน 7,500 ลำ[2]
  • ปืนใหญ่ 41,600 กระบอก[3][4]
  • สำหรับการล้อมและการโจมตีพื้นที่ป้องกันเบอร์ลิน: ทหาร 1,500,000 นาย[5]
  • กำลังทั้งหมด:
  • 36 กองพล[6]
  • ทหาร 766,750 นาย[7]
  • พาหนะต่อสู้ยานเกราะ 1,519 คัน[8]
  • อากาศยาน 2,224 ลำ[9]
  • ปืนใหญ่ 9,303 กระบอก[7]
  • ในพื้นที่ป้องกันเบอร์ลิน: ทหารราว 45,000 นาย, สนับสนุนโดยกำลังตำรวจ ยุวชนฮิตเลอร์และโฟล์คสซทูร์ม 40,000 คน[5]
ความสูญเสีย
  • การวิจัยจดหมายเหตุ
    (รวมปฏิบัติการ)
  • เสียชีวิตหรือสูญหาย 81,116 นาย[10]
  • ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ 280,251 นาย
  • รถถัง 1,997 คัน
  • ปืนใหญ่ 2,108 กระบอก
  • อากาศยาน 917 ลำ[10]
  • จำนวนสูญเสียไม่ทราบแน่ชัด
  • ประเมิน:
    เสียชีวิต 92,000–100,000 นาย
  • ได้รับบาดเจ็บ 220,000 นาย[11]
  • เป็นเชลย 480,000 นาย[12]
  • ในพื้นที่ป้องกันเบอร์ลิน:
  • ทหารเสียชีวิตราว 22,000 นาย
  • พลเรือนเสียชีวิตราว 22,000 คน[13]

ยุทธการที่เบอร์ลิน หรือที่สหภาพโซเวียตตั้งชื่อว่า ปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบอร์ลิน (รัสเซีย: Битва за Берлин, Берлинская наступательная операция, Штурм Берлина) เป็นการรุกใหญ่ในช่วงปลายเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง

เริ่มจากวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1945 กองทัพแดงเจาะแนวรบเยอรมันหลังการรุกวิสตูลา–โอเดอร์และรุกมาทางทิศตะวันตกไกลถึง 40 กิโลเมตรต่อวันผ่านปรัสเซียตะวันออก โลว์เออร์ไซลีเชีย พอเมอราเนียตะวันออกและอัปเปอร์ไซลีเชีย และหยุดชั่วคราวตรงเส้น 60 กิโลเมตรทางตะวันออกของกรุงเบอร์ลินตามแม่น้ำโอเดอร์ เมื่อการรุกเริ่มขึ้นอีกครั้ง สองแนวรบ (กลุ่มกองทัพ) ของโซเวียตเข้าตีกรุงเบอร์ลินจากทางตะวันออกและใต้ ขณะที่แนวรบที่สามบุกกำลังเยอรมันซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของเบอร์ลิน ยุทธการในเบอร์ลินกินเวลาระหว่างวันที่ 20 เมษายนถึงเช้าวันที่ 2 พฤษภาคม

มีการเตรียมตั้งรับที่ชานกรุงเบอร์ลินครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม เมื่อผู้บัญชาการกองทัพกลุ่มวิสตูลาซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ พลเอก กอททาร์ด ไฮน์รีซี คาดเดาได้ถูกต้องว่าโซเวียตจะผลักดันข้ามแม่น้ำวิสตูลาเป็นหลัก ก่อนการยุทธ์หลักในกรุงเบอร์ลินจะเริ่มขึ้น ฝ่ายโซเวียตจัดการล้อมนครอันเป็นผลจากความสำเร็จในยุทธการที่ราบสูงซีโลว์และที่ฮัลเบอ วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1945 แนวรบเบลารุสเซียที่ 1 นำโดย จอมพล เกออร์กี จูคอฟ เริ่มระดมยิงใจกลางนคร ขณะที่แนวรบยูเครนที่ 1 ของจอมพล อีวาน โคเนฟ ผลักดันจากทางใต้ผ่านแนวสุดท้ายของกองทัพกลุ่มกลาง การตั้งรับของเยอรมนีส่วนใหญ่มีเฮลมุท ไวด์ลิงเป็นผู้นำ และประกอบด้วยกองพลเวร์มัคท์และวัฟเฟน-เอสเอสที่อ่อนกำลังและมียุทโธปกรณ์จำกัด ซึ่งวัฟเฟน-เอสเอสมีอาสาสมัครต่างด้าวเอสเอสจำนวนมาก ตลอดจนสมาชิกโฟล์คสชทูร์มและยุวชนฮิตเลอร์ที่ได้รับการฝึกฝนอย่างจำกัด ภายในไม่กี่วัน ฝ่ายโซเวียตรุกผ่านนครและถึงใจกลางนครซึ่งมีการต่อสู้แบบประชิด

ก่อนยุทธการสิ้นสุด ฟือแรร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และผู้ติดตามจำนวนหนึ่งก่ออัตวินิบาตกรรม ผู้ป้องกันนครยอมจำนนในวันที่ 2 พฤษภาคม ทว่า การสู้รบยังดำเนินต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของนครจนสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปยุติลงในวันที่ 8 พฤษภาคม (หรือ 9 พฤษภาคมในสหภาพโซเวียต) เพราะหน่วยเยอรมนีต่อสู้และหนีไปทางตะวันตกเพื่อยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก แทนที่จะยอมจำนนต่อโซเวียต

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zaloga 1982, p. 27.
  2. 2.0 2.1 2.2 Glantz 1998, p. 261.
  3. Ziemke 1969, p. 71.
  4. Murray & Millett 2000, p. 482.
  5. 5.0 5.1 Beevor 2002, p. 287.
  6. Antill 2005, p. 28.
  7. 7.0 7.1 Glantz 1998, p. 373.
  8. Wagner 1974, p. 346.
  9. Bergstrom 2007, p. 117.
  10. 10.0 10.1 Krivosheev 1997, pp. 219, 220.
  11. Müller 2008, p. 673.
  12. Glantz 2001, p. 95.
  13. Antill 2005, p. 85.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Antill, P., Battle for Berlin: April – May 1945 — Includes the Order of Battle for the Battle for Berlin (Le Tissier, T. (1988), The Battle of Berlin 1945, London: Jonathan Cape)
  • Durie, W. (2012), The British Garrison Berlin 1945–1994: No Where to Go, Berlin: Vergangenheits/Berlin, ISBN 978-3-86408-068-5
  • Empric, Bruce E. (2017), Onward to Berlin! Red Army Valor in World War II - The Full Cavaliers of the Soviet Order of Glory, Teufelsberg Press, ISBN 978-1973498605
  • Erickson, John (1983), The Road to Berlin: Continuing the History of Stalin's War with Germany, Westview Press, ISBN 978-0-89158-795-8
  • Anonymous; A Woman in Berlin: Six Weeks in the Conquered City Translated by Anthes Bell, ISBN 978-0-8050-7540-3
  • Kuby, Erich (1968), The Russians and Berlin, 1945, Hill and Wang
  • Moeller, Robert G. (1997), West Germany Under Construction, University of Michigan Press, ISBN 978-0-472-06648-3
  • Naimark, Norman M. (1995), The Russians in Germany: A History of the Soviet Zone of Occupation, 1945–1949, Cambridge: Belknap, ISBN 978-0-674-78405-5
  • Read, Anthony; Fisher, David (1993), The Fall of Berlin, London: Pimlico, ISBN 978-0-7126-0695-0
  • Sanders, Ian J., Photos of World War 2 Berlin Locations today, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007
  • Shepardson, Donald E. (1998), "The Fall of Berlin and the Rise of a Myth", The Journal of Military History, 62 (1): 135–153
  • Tilman, Remme, The Battle for Berlin in World War Two, BBC
  • White, Osmar, By the eyes of a war correspondent, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2007 — Alternative account of crimes against civilians
  • RT (TV network), (official channel on YouTube). "Fall of Berlin: Stopping the Nazi Heart" ที่ยูทูบ. 27 June 2010. 26-minute video.