ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เรียบร้อยแล้ว
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 202.29.54.58 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย BotKung
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 67: บรรทัด 67:
[[หมวดหมู่:พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2525|ชาติพัฒนา]]
[[หมวดหมู่:พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2525|ชาติพัฒนา]]
[[หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2547]]
[[หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2547]]
[[หมวดหมู่:พรรคพลังปวงชนไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:04, 18 กุมภาพันธ์ 2563

พรรคชาติพัฒนา
หัวหน้าสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
เลขาธิการปวีณา หงสกุล
ก่อตั้ง20 เมษายน พ.ศ. 2525
(ในชื่อ พรรคปวงชนชาวไทย)
เปลี่ยนชื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ถูกยุบ31 สิงหาคม พ.ศ. 2547
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคชาติพัฒนา (อังกฤษ: National Development Party) เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2525 ในชื่อพรรคปวงชนชาวไทย[1] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคชาติพัฒนา[2] หลังการยุบสภาในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เนื่องจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ประวัติ

พรรคปวงชนชาวไทย

พรรคปวงชนชาวไทย (อังกฤษ: THAI PEOPLE'S PARTY) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2525 เป็นลำดับที่ 2/2525 โดยมีร้อยเอก สมหวัง สารสาส เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยได้ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และอดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรค [3]

ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2535 พลเอกอาทิตย์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย [4] และย้ายไปสมัครเป็นสมาชิก พรรคสามัคคีธรรม พร้อมกับรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคสามัคคีธรรมทำให้พรรคปวงชนชาวไทยกลับมาเป็นพรรคขนาดเล็กอีกครั้งโดยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ทางพรรคได้ทำการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และได้พันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ อดีตหัวหน้า พรรคสยามประชาธิปไตย เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ [5]

พรรคชาติพัฒนา

หลังจากนั้นในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 [6] อันเป็นวันเดียวกับที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งภายหลังจาก เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทางพรรคปวงชนชาวไทยได้ทำการเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคชาติพัฒนา พร้อมกับตราสัญลักษณ์ของพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยได้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้า พรรคชาติไทย เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกต่อมาพลเอกอาทิตย์ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคและสมาชิกพรรคสามัคคีธรรมกลับมารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา

พรรคชาติพัฒนา เป็นพรรคที่ดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจากพรรคปวงชนชาวไทย ของพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค โดยมี ส.ส. และมีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่พลเอกชาติชายลงเลือกตั้ง ตลอดชีวิตทางการเมือง

มีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนเข้าร่วม เช่น นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, นายกร ทัพพะรังสี, นางปวีณา หงสกุล, นายวัฒนา เมืองสุข, นายสุภาพ คลี่ขจาย, พันเอกวินัย สมพงษ์ เป็นต้น

หลังการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2539 แล้ว พรรคชาติพัฒนาได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาล หลังจาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว พรรคชาติพัฒนาได้ร่วมือกับทางพรรคร่วมรัฐบาลเดิมเพื่อสนับสนุน พลเอกชาติชาย เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ว่า รวบรวมเสียงสนับสนุนได้น้อยกว่าฝ่ายของทางพรรคประชาธิปัตย์ จึงเปลี่ยนบทบาทเป็นฝ่ายค้าน

หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ภายหลังการถึงอสัญกรรมของพลเอกชาติชาย หัวหน้าพรรค นายกร ทัพพะรังสี จึงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค พรรคชาติพัฒนาได้เข้าร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ไม่นานหลังจากนี้ นายกรก็ได้ลาออกจากพรรคและไปเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเสียงข้างมาก นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จึงเป็นหัวหน้าพรรคต่อ ซึ่งนายสุวัจน์ได้ประกาศว่า จะไม่ขอเป็นหัวหน้าพรรคคนสุดท้าย แต่ก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 ไม่นานนายสุวัจน์ได้ยุบพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย[7]

การจัดตั้งพรรคชาติพัฒนาขึ้นใหม่

ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการยื่นขอจดทะเบียนพรรคชาติพัฒนาขึ้นมาอีกครั้ง[8] แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้อีก[9] ในส่วนของสมาชิกเดิมของพรรคชาติพัฒนาได้เข้าร่วมกับทางกลุ่มรวมใจไทยของกลุ่มนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน และกลุ่มสมานฉันท์ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ คือ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

การเลือกตั้ง

ใน การเลือกตั้ง 18 เมษายน พ.ศ. 2526 พรรคปวงชนชาวไทยได้ ส.ส. เข้าสภาเพียงคนเดียวคือนาย อารยะ ชุมดวง จากเขต 2 จังหวัดสุโขทัย

ใน การเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ทางพรรคปวงชนชาวไทยก็ยังได้ ส.ส. เข้าสภาเพียงคนเดียวคือนาย วิฑูรย์ วงษ์ไกร จากเขต 1 จังหวัดยโสธร

ใน การเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พรรคปวงชนชาวไทยได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 17 คนนำโดยพลเอกอาทิตย์ผู้เป็นหัวหน้าพรรคจากเขต 1 จังหวัดเลย ซึ่งนับเป็นการลงเลือกตั้งครั้งแรกของพลเอกอาทิตย์

ใน การเลือกตั้ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 หรือ 35/1 พรรคปวงชนชาวไทยได้ ส.ส. เข้าสภาเพียงคนเดียวคือ พันเอก พล จากเขต 1 จังหวัดอุทัยธานี

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งจำนวน 60 ที่นั่ง

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกตั้งจำนวน 53 ที่นั่ง

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งจำนวน 52 ที่นั่ง

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งจำนวน 29 ที่นั่ง

อ้างอิง

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคปวงชนชาวไทย)
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ชื่อพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอน 89 ก พิเศษ หน้า 26 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 7 ก หน้า 9 31 มกราคม พ.ศ. 2535
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 12 ก หน้า 10 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคปวงชนชาวไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ชื่อพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 79 ก หน้า 13 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคชาติพัฒนาเพื่อรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย
  8. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคชาติพัฒนา
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคชาติพัฒนา

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น