ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูล
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูล
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
| symbol =
| symbol =
| address = '''คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร''' เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
| address = '''คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร''' เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
| magazine = วารสารคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร
| magazine =
| operate_site = ฟาร์มสาธิต
| operate_site = ฟาร์มสาธิต
| website = [http://www.asat.su.ac.th/asat/ www.asat.su.ac.th]
| website = [http://www.asat.su.ac.th/asat/ www.asat.su.ac.th]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:17, 27 มิถุนายน 2562

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Animal Sciences and Agricultural Technology, Silpakorn University
สถาปนาพ.ศ. 2544
คณบดีอาจารย์ ดร. ภวพล คงชุม
ที่อยู่
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
วารสารวารสารคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร
สี██ สีงาช้าง[1]
สถานปฏิบัติฟาร์มสาธิต
เว็บไซต์www.asat.su.ac.th

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Animal Sciences and Agricultural Technology, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 11 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2544

ประวัติ

ใน พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายในการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังจังหวัดใกล้เคียงกับที่ตั้งมหาวิทยาลัยเดิม (วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร และวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม) ผู้บริหารในขณะนั้นนำโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ จึงพิจารณาหาพื้นที่ตั้งวิทยาเขตใหม่ ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอนครชัยศรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี จนในที่สุดเหลือเฉพาะที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งวิทยาเขตใหม่ที่จังหวัดราชบุรี และมีแนวทางจัดตั้งคณะวิชาต่าง ๆ รวมทั้ง "คณะอุตสาหกรรมเกษตร" ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยได้จัดสัมมนาผู้เกี่ยวข้องทั้งของจังหวัดราชบุรีและของมหาวิทยาลัยเพื่อทราบความต้องการของท้องถิ่น แต่ผลความต้องการของบุคลากรในพื้นที่ไม่ตรงกับแผนพัฒนาเดิมที่ ทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติไว้ โครงการดังกล่าวจึงชะลอไป จนในที่สุดปี 2542 ศาสตราจารย์ ดร. ตรึงใจ บูรณสมภพ อธิการบดีในขณะนั้น จึงขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในการย้ายวิทยาเขตใหม่ไปที่ หมู่ที่ 1 หมู่บ้านไร่ใหม่พัฒนา ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และมีแผนในการจัดตั้ง "คณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร" ขึ้นเป็นคณะแรก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าพื้นที่โดยรอบมีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มหาวิทยาลัยจะได้ให้บริการได้โดยตรง จากการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2544 ได้อนุมัติโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง อาจารย์ ดร. สุภสร ชโยวรรณ เป็นผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร

เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตรตามที่คณะกรรมการเสนอ ต่อมาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในปัจจุบัน) ได้ทักท้วงว่าชื่อ "อุตสาหกรรมการเกษตร" ของโครงการฯ จะซ้ำซ้อนกับการสอนของภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 จึงได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อจากโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร เป็น "โครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร" และอนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร)

ต่อมาเมื่อ อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ ได้เข้าดำรงตำแหน่งอธิการบดี และได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา (อาจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช) เป็นผู้รับผิดชอบการประสานงานกับ กรมธนารักษ์ เพื่อขอพื้นที่ 200 ไร่ จนกระทั่งได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ 200 ไร่ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 ซึ่งบริเวณที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ ห่างจากพื้นที่ทั้งวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ประมาณ 3 กิโลเมตร ทางวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีและคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ได้เล็งเห็นพื้นที่ดังกล่าวเหมาะสมในการจัดทำเป็นฟาร์มฝึกงานเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้ในฝึกทดลองการเลี้ยงสัตว์และแปลงเกษตรของนักศึกษา การทำงานวิจัยและเป็นแหล่งจัดสัมมนาให้บริการทางวิชาการทางด้านการเกษตรแก่ชุมชน ดังนั้นคณะสัตวศาสตร์ฯ จึงได้ตั้งงบประมาณเพื่อการก่อสร้างฟาร์มปฏิบัติการตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ได้มีประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องการจัดตั้งและแบ่งหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2550 โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานในกำกับคณะสัตวศาสตร์ฯ ดังนี้

  1. สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
  3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์พืช
  4. สำนักงานเลขานุการคณะเป็นหน่วยงานหลัก ประกอบด้วย
    1. งานบริหารและธุรการ
    2. งานบริการการศึกษา
    3. งานพัฒนาองค์กร
    4. งานสนับสนุนด้านปฏิบัติการ

ต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 อธิการบดี อาจารย์ ดร. อุทัย ดุลยเกษม ได้แสดงถึงนโยบายแนวทางการบริการจัดการของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยให้วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีมีการจัดการแบบรวมศูนย์ ซึ่งมีสำนักงานวิทยาเขตเป็นหน่วยงานสนับสนุนแก่คณะวิชา และมีหน้าที่ปฏิบัติงานการแทนสำนักงานเลขานุการคณะ ซึ่งสำนักงานวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีต้องเข้าใจและต้องดำเนินการสนับสนุนให้ภารกิจของคณะวิชาลุล่วงเป็นไปตามพันธกิจ และยุทธศาสตร์ของคณะวิชาภายในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เพื่อให้การดำเนินการของแต่ละคณะวิชาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการบริหารจัดการตามนโยบายมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยนโยบายดังกล่าวทางคณะสัตวศาสตร์ฯ จึงขอแบ่งส่วนราชการภายในเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า โดยการบริหารองค์กรรวมศูนย์ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายหลักในการบริหารจัดการหลักภายในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีแห่งนี้

หน่วยงาน

  • สำนักงานคณบดี
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาพื้นฐานสัตวศาสตร์
  • ฟาร์มสาธิต

หลักสูตร

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
  • สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์เพื่อเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์เพื่อเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)

ทำเนียบคณบดี

รายนามคณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
อาจารย์ ดร. สุภสร ชโยวรรณ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร 11 มกราคม พ.ศ. 2544 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 (ลาออก)[2]
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รุจิรา พิพิธพจนการณ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร 1 เมษายน พ.ศ. 2546 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[3]
รักษาราชการแทนคณบดี 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546[4]
รักษาราชการแทนคณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547[5]
3
รองศาสตราจารย์ ดร. วิชัย ก่อประดิษฐ์สกุล 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[6]
4
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ เกรียงศักดิ์ พูนสุข 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[7]
5
อาจารย์ ดร. ภวพล คงชุม 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[8]
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน[9]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

อ้างอิง

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก.ที่ 92/2544 ลงวันที่ 29 มกราคม 2544
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 363/2546 ลงวันที่ 2 เมษายน 2546
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 927/2546 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 1225/2546 ลงวันที่ 30 กันยายน 2546
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 1613/2547 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547
  7. คำสั่ง มศก. ที่ 1730/2551 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551
  8. คำสั่ง มศก.ที่ 1627/2555 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2555
  9. คำสั่ง มศก.ที่ 1619/2559 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น