งานประเพณี ๔ จอบแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ
สัญลักษณ์ประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 36
ประเภทการแข่งขันทักษะด้านการเกษตร
พบกันครั้งล่าสุด21 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562
พบกันครั้งต่อไปพ.ศ. 2566
รางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

งานประเพณี 4 จอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิต นักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางวิชาการสาขาเกษตรศาสตร์ 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางวิชาการสาขาเกษตรศาสตร์ ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต

ประวัติ[แก้]

งานประเพณี 4 จอบ ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2526 มีสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตร 4 สถาบันคือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เชื่อมความสามัคคี รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมไปถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละสถาบันที่ตั้งอยู่ให้แก่เพื่อนต่างสถาบัน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการเกษตรที่ยั่งยืน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูรณาการ จึงเป็นที่มาของงาน" กีฬา 4 จอบ "ซึ่งครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นโดย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ และมีการสับเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพเรื่อยมา[1]

รูปแบบของกิจกรรมเป็นการแข่งขันกีฬาสากล และกีฬาทักษะทางการเกษตร กีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนานหลากหลายรูปแบบ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบเพื่อความเหมาะสมโดยการลดกีฬาบางประเภทลง โดยเฉพาะกีฬาสากล อย่าง ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล เซปักตะกร้อ และได้มีการเพิ่มกีฬาทักษะทางการเกษตรขึ้นแทน ซึ่งกีฬาทักษะทางการเกษตรได้แก่ การแข่งขันติดตา ต่อกิ่ง แข่งตอนสุกร ตอนไก่ แข่งรีดนมวัว แข่งขันวิเคราะห์ธาตุอาหารของพืชและดิน รวมทั้งวิเคราะห์โรคพืช ทั้งนี้รวมไปถึงการวิเคราะห์ธาตุอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ทางด้านการเกษตรที่ได้ร่ำเรียน มาปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังมีการเสริมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมการออกค่ายอาสาและกิจกรรมทัศนศึกษาในสถาบันที่เป็นเจ้าภาพ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่เพื่อนพ้องทางการเกษตรด้วยกันเองเท่านั้น ยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ไปยังสังคมอีกด้วย ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก "กีฬา 4 จอบ" เป็น "ประเพณี 4 จอบ" เนื่องจากไม่เน้นการแข่งขันกีฬาเพื่อการแพ้ หรือชนะ

ความหมายของคำว่า "4 จอบ " ในครั้งแรกนั้นหมายถึง คณะเกษตร 4 สถาบันซึ่งร่วมกันก่อตั้ง แต่ต่อมาได้มีการตกลงร่วมกันให้คำว่า 4 จอบ นั้นหมายถึง 4 ภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ เพื่อจะได้หมายรวมถึงการจัดงานร่วมกันของนักศึกษาจากสถาบันด้านวิชาการเกษตรทั่วประเทศไทยอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตรได้เข้ามาร่วมการจัดกิจกรรม งานประเพณี 4 จอบ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีภาคีรวมแล้ว 12 สถาบัน งานประเพณี 4 จอบ ได้มีการกำหนดให้มีการจัดงานขึ้นทุกปี โดยแต่ละสถาบันเป็นเจ้าภาพหมุนเวียนกันเรื่อยมา[2]

สถาบันที่เข้าร่วม[แก้]

รวมทั้งสิ้น 12 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

ความหมาย[แก้]

งานประเพณี 4 จอบ หมายถึง สัมพันธภาพทางการเกษตร 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิต นักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางวิชาการสาขาเกษตรศาสตร์ ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต

งานประเพณี 4 จอบ ได้มีการกำหนดให้มีการจัดงานขึ้นทุกปี โดยในครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานในปีนั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลคะแนนรวมในการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นแก่ผู้เข้าร่วมทุกคน และการแข่งขันในปีต่อ ๆ มามีสถาบันที่เข้าร่วมได้รับรางวัลคะแนนรวมการแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร ครองถ้วยพระราชทานต่อกันมา [3]

เจ้าภาพการจัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ[แก้]

เจ้าภาพการจัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ประกอบไปด้วย[4]

ครั้งที่ ระหว่างวันที่ สถาบัน สโลแกน ตัวนำโชค
1 4 – 7 พฤศจิกายน 2526 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2 5 – 9 ธันวาคม 2527 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3 19 – 22 พฤศจิกายน 2528 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4 4 – 8 ธันวาคม 2529 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5 9 – 14 ธันวาคม 2530 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6 2 – 5 ธันวาคม 2531 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7 3 – 6 ธันวาคม 2532 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
8 5 – 9 ธันวาคม 2533 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
9 5 – 9 ธันวาคม 2534 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10 5 – 9 ธันวาคม 2535 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11 3 – 11 ธันวาคม 2536 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
12 5 – 9 ธันวาคม 2537 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
13 4 – 7 ธันวาคม 2538 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14 6 – 9 ธันวาคม 2539 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15 1 – 5 ธันวาคม 2540 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
16 4 – 9 ธันวาคม 2541 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
17 5 – 9 ธันวาคม 2542 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
18 3 – 9 ธันวาคม 2543 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
19 2 – 8 ธันวาคม 2544 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
20 24 – 26 ตุลาคม 2545 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
21 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2546 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
22 29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2547 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
23 3 – 7 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
24 27 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2549 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
25 3 – 7 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
26 5 – 10 ธันวาคม 2551 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
27 6 – 12 ธันวาคม 2552 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
28 21 – 26 ตุลาคม 2553 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
29 5 – 9 ธันวาคม 2554 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 2 – 8 ธันวาคม 2555 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 ทศวรรษ 4 จอบ เกษตรเมืองแคน ดินแดนดอกคูน [5]
31 1 – 7 ธันวาคม 2556 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกษตรลูกพระบิดา ถิ่นบินหลาแดนใต้ -
32 22 – 28 ธันวาคม 2557 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน น้องนนทรี[6]
33 21 – 27 ธันวาคม 2558 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กึ่งศตวรรษเกษตรมอเชิงดอย ร่วมย้อนรอย 33 ปี ประเพณี 4 จอบ น้องเชิงดอย[7]
34 22 – 27 ธันวาคม 2559 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เกษตรเมืองนักปราชญ์ ราชธานีอีสาน สืบสาน ประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34 [8]
35 5 - 10 มกราคม 2561 มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เกษตรรุ่งเรือง เมืองหนังโนราห์ สี่จอบสามห้า ภาคีพอเพียง [9]
36 22 - 26 ธันวาคม 2561 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เกษตรกรรมเมืองกรุง มุ่งสร้างนวัตกรรม นำพาประเทศไทยยั่งยืน [10]
37 21 - 25 ธันวาคม 2562 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เกษตรแดนคาวบอย [11]
38 เดิมคือ 16 - 20 พฤศจิกายน 2563 แต่ประกาศเลื่อนไม่มีกำหนด เนื่องจากโควิด-19กำหนดการใหม่

1 - 5 พฤษภาคม 2566

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ออนซอน 38 ปี 4 จอบภาคี ตุ้มโฮมน้องพี่ ประเพณีเกษตรเฮา [12] น้องก่องข้าว

อ้างอิง[แก้]

  1. งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ การแข่งขันกีฬาของนักศึกษาเกษตร 12 สถาบัน[ลิงก์เสีย]
  2. [1] เก็บถาวร 2009-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกีฬาประเพณี ๔ จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 24
  3. [2] เก็บถาวร 2018-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติถ้วยพระราชทาน
  4. [3] เก็บถาวร 2018-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติงานประเพณี 4 จอบ
  5. "ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร". www.agi.nu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-17.
  6. "งานประเพณี 4 จอบ แห่งชาติ ครั้งที่ 32". www.agri.kps.ku.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-17.
  7. "ตัวนำโชค | ประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 33". งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 33.
  8. "งานประเพณี 4... - งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34". www.facebook.com.
  9. "งานประเพณี4จอบแห่งชาติคร... - งานประเพณี4จอบแห่งชาติครั้งที่35". www.facebook.com.
  10. "งานประเพณี 4... - งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติครั้งที่ 36". www.facebook.com.
  11. "งานประเพณี 4 จอบ แห่งชาติ ครั้งที่ 37 - งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37 "เกษตรแดนคาวบอย" #4jobb37 | Facebook". www.facebook.com.
  12. "งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 38 - COVID-19 ซาจั่งมาพบพ้อกันใหม่ เด้อครับบบ | Facebook". www.facebook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)