โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 13°51′4.9″N 100°34′1.16″E / 13.851361°N 100.5669889°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | สาธิตเกษตร / สธ.มก. / KUS |
ประเภท | โรงเรียนสาธิต |
คำขวัญ | รอบรู้ สู้ชีวิต จิตมั่นคง ดำรงคุณธรรม |
ศาสนา | พุทธ |
สถาปนา | 22 เมษายน พ.ศ. 2514 |
หน่วยงานทางการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
ผู้อำนวยการ | ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ |
ระดับชั้น | ประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ไทย อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส |
สี | สีม่วง |
เพลง | เพลงสาธิต ม.ก. |
ต้นไม้ | กระพี้จั่น |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาให้การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นห้องปฏิบัติการฝึกหัดครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2514 ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ องค์อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหนังสือถึงกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมที่จะดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยมี ศ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน มีคณาจารย์จำนวนหนึ่งซึ่งย้ายโอน มาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ มาดำเนินงานร่วมกับคณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์ที่มีอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว และรับสมัครอาจารย์ใหม่รุ่นแรกอีกส่วนหนึ่งจำนวน 37 คน ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีสถานภาพเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาโดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาใน คณะศึกษาศาสตร์
อาคารและสถานที่
[แก้]อาคารภายในโรงเรียน
[แก้]อาคาร | ห้องภายในอาคาร |
---|---|
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
|
สถานที่ในโรงเรียน
[แก้]- สนามกีฬา: ประกอบด้วยสนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนามเปตอง สนามเซปักตะกร้อ และสนามฟุตบอล
- สวนมิตรสัมพันธ์: ตั้งอยู่ระหว่างอาคาร 5 และ 6 สร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์กับโรงเรียนพี่น้องในประเทศญี่ปุ่น (อุบุยามา) เป็นที่ตั้งของศาลาสหมิตรสาธิตเกษตร บ่อน้ำญี่ปุ่น และเป็นสถานที่ปลูกพืชตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน[1]
- สวนวรรณคดีและสวนสมุนไพร: ตั้งอยู่บริเวณอาคาร 5 และหลังอาคารอุบล เรียงสุวรรณ เป็นสถานที่ปลูกพืชตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | นามของผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ | พ.ศ. 2514 - 2518 | ||
รองศาสตราจารย์สุภากร ราชากรกิจ | พ.ศ. 2518 - 2519 | ||
รองศาสตราจารย์ ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ | พ.ศ. 2519 - 2523 | ||
รองศาสตราจารย์ ดร.จงรักษ์ ไกรนาม | พ.ศ. 2523 - 2524 และ พ.ศ. 2526 - 2542 | ||
รองศาสตราจารย์มัลลิกา ตัณฑนันทน์ | พ.ศ. 2524 - 2526 | ||
รองศาสตราจารย์เกื้อกูล ทาสิทธิ์ | พ.ศ. 2542 - 2549 | ||
รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ | พ.ศ. 2549 - 2553 | ||
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จ่างภากร | พ.ศ. 2553 - 2561 | ||
ดร.ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ | พ.ศ. 2561- ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]การศึกษาภาคปกติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงการการศึกษานานาชาติ
[แก้]โครงการการศึกษานานาชาติ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในทุกวิชาโดยอาจารย์เจ้าของภาษาทั้งนี้กำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องเรียนวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทยกับอาจารย์คนไทย ร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรส่งเสริมคุณค่าความเป็นไทยร่วมกับนักเรียนหลักสูตรปกติอย่างสม่ำเสมอ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การบริหารงานและการรับนักเรียนแยกจากหลักสูตรปกติ สถานที่เรียนตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
โครงการการศึกษาพหุภาษา
[แก้]เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลและขยายโอกาสทาง การศึกษาไปยังภาคตะวันออกของประเทศ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกทักษะภาษาต่างประเทศกับอาจารย์เจ้าของภาษา โดยเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และภาษาจีนหรือญี่ปุ่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การบริหารและการรับนักเรียน แยกจากหลักสูตรปกติ สถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ต.คลองตำหรุ อ.เมือง จ.ชลบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 80 กิโลเมตร
การจัดการเรียนรู้
[แก้]ด้านวิชาการ
[แก้]โรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาจัดการเรียนรู้ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใต้กรอบของหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ แต่ปรับรายละเอียดบางส่วนให้เป็น หลักสูตรท้องถิ่นที่ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของประชาคมของโรงเรียน เช่น การจัดกิจกรรมสนทนาภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และเริ่มเรียนภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีชั่วโมงสนทนาภาษาอังกฤษกับอาจารย์เจ้าของภาษาโดยตรงส่งเสริมให้นัก เรียนเลือกเรียนอย่างหลากหลายตามความถนัดและความสนใจพร้อมทั้งจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเพิ่มพูนทักษะความสามารถและ ประสบการณ์อย่างระบบต่อเนื่องสอดคล้องกัน เช่นกิจกรรมศึกษานอกสถานที่การเชิญวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น การประกวดแข่งขันทางวิชาการในกลุ่มสามารถการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การจัดนิทรรศการ ฯลฯ
นอกเหนือจากการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาต่าง ๆ แล้วโรงเรียนยังมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย ตามบริบทของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนานักเรียนด้วยการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ประจำชั้น และอาจารย์ที่ปรึกษา
- กิจกรรมสนทนายามเช้า
- กิจกรรมพัฒนาตน
- โครงการส่งเสริมความถนัด ความสามารถ และความสนใจพิเศษ
- โครงการพัฒนากีฬา
- โครงการพัฒนาดนตรีและนาฏศิลป์
- โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- โครงการค่ายจริยธรรมสาธิตเกษตร
- โครงการกิจกรรมเพื่อส่วนรวมในรูปแบบต่างๆ เช่น
- ชมรมอินเตอร์แรคท์
- ชมรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
- ชมรมถ่ายภาพสาธิตเกษตร
- ชมรมภาพยนตร์
- ชมรมวิชาการนักเรียนสาธิตเกษตร
- ชมรมเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์
- ชมรมพัฒนาความเป็นผู้นำสาธิตเกษตร ฯลฯ
- โครงการค่ายพักแรม
- โครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา วัฒนธรรม และการกีฬากับต่างประเทศ ในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ รวม 8 โครงการ
- โครงการเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้มในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และจีน รวม 4 โครงการ ฯลฯ
ด้วยนโยบายของโรงเรียนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น นอกจากจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ปกติทั่วไปแล้ว โรงเรียนยังคำนึงถึงนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษให้มีโอกาสได้พัฒนาเต็มตาม ศักยภาพโรงเรียนจึงได้จัดหลักสูตรการศึกษาพิเศษแก่นักเรียนที่มีภาวะสมาธิ สั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ ภาวะออทิซึม
ความร่วมมือทางวิชาการ
[แก้]นอกจากการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน และการฝึกปฏิบัติงานครูแก่นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ แล้ว โรงเรียนยังได้จัด โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันภายในประเทศหลายโครงการ เช่นโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดแพร่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสกลนคร ฯลฯ ตลอดจนการให้บริการการฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน แก่ผู้มาเยี่ยมชม จากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการให้ความร่วมมือในการจัดวิทยากรถ่ายทอดความรู้ แก่หน่วยงานต่างๆ
นอกจากนี้โรงเรียนยังจัดการศึกษาที่สนองต่อนโยบายของรัฐ ที่มุ่งสู่ความเป็นสากลใน ยุคโลกาภิวัตน์ด้วยการขยายโอกาสในการพัฒนาความสามารถของเด็กไทย เพื่อใช้ภาษาต่างประเทศให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตตามความเหมาะสม กับโรงเรียน คือการจัดการศึกษาโครงการการศึกษานาชาติ และโครงการการศึกษาพหุภาษา
ด้านกีฬา
[แก้]1 แชร์บาส ชนิดกีฬาใหม่ที่ผสมผสานระหว่างกีฬาแชร์บอลและบาสเกตบอล ประมาณปีการศึกษา 2519 ซึ่งเป็นโรงเรียนแรกที่คิดค้น เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและจัดกีฬาสี ให้มีความเหมาะสมกับชั้นประถมศึกษา
2 มหกรรมมินิรักบี้นานาชาติ เป็นโรงเรียนแรกๆ ที่จัดรักบี้ รุ่นอายุตั้งแต่ 6-13 ปี มีการเชิญชาติใกล้เคียง เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น ศรีลังกา เป็นต้น และโรงเรียนในกรุงเทพ ปริมณฑล โรงเรียนนานาชาติในประเทศ มาร่วมแข่งขัน และเป็นโรงเรียนแรกที่มอบเหรียญทองที่ระลึกให้กับนักกีฬาทุกทีมและทุกคน ในการเข้าร่วมการแข่งขัน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 จนถึงปัจจุบัน
3 รักบี้ยุวชนและเยาวชน รุ่น 14,16 และ 18 ปี เป็นหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งและแห่งแรกที่ช่วยสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดแข่งขันรักบี้ฟุตบอล รุ่นอายุดังกล่าว มาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2536 ใช้สนามฟุตบอลและรักบี้ของโรงเรียนเป็นสถานที่จัดแข่งขัน
4 งานพัฒนากีฬา มีลักษณะโครงสร้างและระบบงานที่ช่วยให้การดำเนินงานกีฬามีความคล่องตัวในการทำงาน ประกอบด้วย ประธานงานพัฒนากีฬา คณะกรรมการ ผู้จัดการทีม สวัสดิการทีม อย่างน้อยกีฬา ๑๘ ชนิด มีการดำเนินงานคือ หานักกีฬา ฝึกซ้อม ประลอง แข่งขัน และมอบเกียรติยศ ความภาคภูมิใจ ให้นักกีฬาตามคุณสมบัติของผลงานที่กำหนด
โครงการเติมเติมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงการรับผู้ป่วยโรคออทิซึม
[แก้]ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้รับ บุคคลที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม เข้าศึกษาที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรก โดยรับจากบุคคลที่ได้รับการประเมินจาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ในขณะนั้น ได้แก่ ศาสตราจารย์ เพ็ญแข ลิ่มศิลา ซึ่งทั้งหมดใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอนในการร่วมชั้นเรียน และทำการเรียนการสอนจนนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นรุ่นแรก ใน เดือน มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม จบการศึกษาพร้อมเพื่อนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา รุ่นที่ 27
ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้จัดการเรียนการสอนให้บุคคลที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม เป็นรุ่นที่ 30 ตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษา มีนักเรียนส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถเรียนจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 บางรายแม้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก แต่ก็เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ
บุตร และ บุตรี ที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม ของบุคคลที่มีชื่อเสียงได้เข้าเรียนที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา อาทิ บุตร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บุตรี ทนง พิทยะ
ยกเว้น คุณ พุ่ม เจนเซน ที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่สามารถใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอนได้ จึงจัดโปรแกรมให้เรียนในชั้นเรียนที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดย คุณ พุ่ม เจนเซน ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
รางวัลดีเด่นของโรงเรียน
[แก้]- เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2541 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ผศ.ดร.จงรักษ์ ไกรนาม (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นตัวแทนรับ รางวัลดีเด่นทางวิชาการ ประจำปี 2541 ประเภทโครงการเนื่องในวันคนพิการสากล จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
- เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554 ผศ.ดร.ศศิธร จ่างภาธร อาจารย์ใหญ่เป็นตัวแทนเข้ารับพระราชทาน รางวัลบัณณาสสมโภช จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา (ครั้งที่ 1)
- เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ผศ.ดร.ศศิธร จ่างภากร อาจารย์ใหญ่เป็นตัวแทนเข้ารับพระราชทาน รางวัลบัณณาสสมโภช จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต (ครั้งที่ 2)
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]บุคลากรที่มีชื่อเสียง
[แก้]- รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา
- รศ.ดร.สุชาวดี เกษมณี ผู้ร่วมเขียนหนังสือวรรณสารวิจักษณ์ ตำราเรียนภาษาไทยมัธยมศึกษาตอนปลาย
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]ราชสกุลวงศ์
[แก้]- คุณพุ่ม เจนเซน โอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- ร้อยเอก จิทัศ ศรสงคราม พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- พระมงคลสุทธิวงศ์ (หม่อมราชวงศ์นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
นักการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง
[แก้]- นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ (รุ่นที่ 7) นักการเมือง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
- ดร.จักรภพ เพ็ญแข พิธีกร / นักการเมือง / อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช (รุ่นที่ 15) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พลเรือตรี อภิรมย์ เงินบำรุง (รุ่นที่ 7) เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
นักวิชาการ
[แก้]- ศ.ดร.วุฒิพงศ์ อารีกุล (รุ่นที่ 7) นิสิตเก่าดีเด่นประเภทวิชาการประจำปี พ.ศ. 2563 ของสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ (รุ่นที่ 8) กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รศ.พญ.จุฬธิดา โฉมฉาย (รุ่นที่ 10) คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ.ดร.สรวิศ นฤปิติ (รุ่นที่ 11) อดีตหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย
- รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ (รุ่นที่ 12) อดีตคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- อาจารย์ ดร. คมสันต์ ดิลกคุณานันท์ คณบดีสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
- ผศ.ดร.วัชรพัฐ เมตตานันท รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นักธุรกิจ
[แก้]- ขัตติยา อินทรวิชัย (รุ่นที่ 8) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย
- ดร.เจน ชาญณรงค์ (รุ่นที่ 9) อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เอสจีเอแอร์ไลน์
- ดร.โชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย
- ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ NetDesign Group
- ฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ (รุ่นที่ 30) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ SkillLane
- ญาดา ปิยะจอมขวัญ (รุ่นที่ 35) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ Ajaib
- ธันว์ วุฒิธรรม (รุ่นที่ 37) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ (รุ่นที่ 42) พนักงานบริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด ตำแหน่ง Sectional Marketing Manager บุตรีสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
สื่อมวลชน
[แก้]- จรณชัย ศัลยพงษ์ (รุ่นที่ 1) ผู้ประกาศข่าว
- สรานี สงวนเรือง (รุ่นที่ 34) พิธีกร บล็อกเกอร์ เจ้าของเพจ LDA (Ladies of Digital Age)
นักเคลื่อนไหว
[แก้]- ชนกนันท์ รวมทรัพย์[2](รุ่น 36) โฆษกขบวนการประชาธิปไตยใหม่
นักแสดง นักดนตรี และวงการบันเทิง
[แก้]- วัชระ ปานเอี่ยม (รุ่นที่ 3) นักร้อง นักแสดง
- วัชระ แวววุฒินันท์ (รุ่นที่ 3) อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอส แอล จำกัด, โปรดิวเซอร์
- ธานี พูนสุวรรณ (รุ่นที่ 8) นักพากย์ นักร้อง นักแต่งเพลง
- มาฬิศร์ เชยโสภณ (รุ่นที่ 8) นักแสดง
- จักราวุธ แสวงผล (รุ่นที่ 9) นักแต่งเพลง
- วราพรรณ หงุ่ยตระกูล (รุ่นที่ 8) นักแสดง
- นันทนา บุญ-หลง (รุ่นที่ 10) นักร้อง นักแสดง นักพากย์ ครูสอนร้องเพลง
- วสุ แสงสิงแก้ว (รุ่นที่ 10) นักร้อง ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ
- ศุกรินทร์ พวงเข็มขาว (รุ่นที่ 12) นักแสดง
- ดนุพร ปุณณกันต์ นักแสดง นักการเมือง
- ขจัดภัย กาญจนาภา มือกีตาร์วงพาราด็อกซ์
- กัญจน์ ภักดีวิจิตร (รุ่นที่ 19) นักแสดง
- ภูธเนศ หงษ์มานพ (รุ่นที่ 19) นักร้อง นักแสดง
- ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ (รุ่นที่ 19) นักแสดง
- สมิทธิ์ อารยะสกุล (รุ่นที่ 23) แพทย์ นักร้อง
- ธณรัฐ ปิ่นเวหา (รุ่นที่ 24) นักร้อง นักบิน
- นิติ ชัยชิตาทร (รุ่นที่ 24) พิธีกรและผู้อำนวยการสร้างรายการโทรทัศน์
- ธนากร ชินกูล (รุ่นที่ 25) นักร้อง ,นักแสดง,ดีเจ,พิธีกร
- พงศธร จงวิลาส (รุ่นที่ 25) นักแสดง,ดีเจ,ครีเอทีฟ
- อุลตร้าช้วดส์
- เขมนิจ จามิกรณ์ (รุ่นที่ 31) นางแบบ นักแสดง
- สุภาพร วงษ์ถ้วยทอง (รุ่นที่ 31) นักแสดง
- ทวีเวท ศรีณรงค์ (รุ่นที่ 23) นักไวโอลินวง Vie Trio
- อุทัยศรี ศรีณรงค์ (รุ่นที่ 25) นักเชลโลวง Vie Trio
- พินทุสร ศรีณรงค์ (รุ่นที่ 32) นักไวโอลินวง Vie Trio
- ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม (รุ่นที่ 32) ผู้ชนะเลิศโครงการทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 5 นักร้อง นักแสดง
- ธัญญะสุภางค์ จิรปรีชานนท์ (รุ่นที่ 33) นักแสดง
- ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ (รุ่นที่ 34) นักแสดง
- วรภัทร วงศ์สุคนธ์ (รุ่นที่ 34) นักแต่งเพลงและมือกีต้าร์วงMEAN
- พงษ์นิรันดร์ กันตจินดา (รุ่นที่ 35) นักแสดง
- สุทัตตา อุดมศิลป์ (รุ่นที่ 40) นักแสดง
- พันวา พรหมเทพ (รุ่นที่ 45) นักแสดง
- นิปุณ แก้วเรือน (รุ่นที่ 45) Mister Supranational Thailand 2021
- ตริษา ปรีชาตั้งกิจ (รุ่นที่ 46) สมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "garden1". Botany@KUS (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ เปิดใจ "การ์ตูน"นักกิจกรรมจากรั้วจามจุรี คนไทยทุกคนควรมีสิทธิ์กำหนดอนาคตประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- หนังสือ "30 ปี สาธิตเกษตร" กรุงเทพ :สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย ),ตุลาคม 2544
- หนังสือ "สาธิตเกษตร 40 ปี ทำดีเพื่อสังคม" กรุงเทพ :บริษัท สยามพริ้นท์ จำกัด, เมษายน 2555
- บันทึกประจำวัน"สวัสดีปีใหม่ 2554 40 ปีสาธิตเกษตร" บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน),2554
- หนังสือ "ภูมิปัญญาอาวุโสคนเป็นครูสาธิตเกษตร" กรุงเทพ :บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน),2555
- บันทึกประจำวัน 2555 บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน),2555
- หนังสือ "โครงการการศึกษาความรอบรู้เฉพาะเรื่อง" สำนักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด,2551
- โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์