พรศักดิ์ ส่องแสง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
พรศักดิ์ ส่องแสง | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | บุญเสาร์ ประจันตะเสน |
รู้จักในชื่อ | ไอ้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร[1] |
เกิด | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 |
ที่เกิด | อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (60 ปี) จังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2523 - 2564 |
ค่ายเพลง | บริษัทเสียงสยาม แผ่นเสียง-เทป จำกัด(พ.ศ. 2524- 2564) |
พรศักดิ์ ส่องแสง หรือ นาย บุญเสาร์ ประจันตะเสน (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564) นักร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของประเทศไทย[2][3] เจ้าของฉายา "ไอ้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร"[1] มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นนักร้องเพลงหมอลำคนแรก ๆ ที่ออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตในต่างประเทศ เกิดที่ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านแฮด (ในอดีตขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่) จังหวัดขอนแก่น ย้ายภูมิลำเนามาที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ได้สมรสและไปอยู่บ้านภรรยา ที่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จนเสียชีวิต
ประวัติ[แก้]
นายพรศักดิ์ ส่องแสง มีชื่อจริงว่า นาย บุญเสาร์ ประจันตะเสน นักร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของประเทศไทย เจ้าของฉายา "ไอ้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร" พรศักดิ์ ส่องแสง เกิดที่บ้านหนองขาม ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านไผ่ ปัจจุบันคือ(ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น) เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายเฮา และนางแว่น ประจันตะเสน [4] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน
- เท ประจันตะเสน
- บุญเสาร์ ประจันตะเสน (พรศักดิ์ ส่องแสง)
- บุญถม ประจันตะเสน
- อัมพร ประจันตะเสน
- บังอร ประจันตะเสน
- สมร ประจันตะเสน
- ศร ประจันตะเสน
พรศักดิ์ ส่องแสงมีภูมิลำเนาที่บ้านหนองหญ้ารังกา ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ในวัยเด็กจบการศึกษาชั้น ป. 4 แล้วช่วยพ่อแม่ทำนาที่ บ้านหนองหญ้ารังกา ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แล้วเข้ารับราชการทหาร จากนั้นตั้งวงดนตรีชื่อ "แชมป์อีสาน" บันทึกเทปชุดแรกเมื่อ พ.ศ. 2524 ชื่อชุด "เสือสำนึกบาป"
ชื่อ พรศักดิ์ ส่องแสง ตั้งให้โดยครูเพลง รักษ์ วัฒนยา หรือ ครูคำหอม พ่อฮ้างน้อย ผู้สนับสนุนให้ตั้งวงดนตรี พรศักดิ์ ส่องแสง มีผลงานเพลงออกมาอย่างต่อเนื่องประมาณ 40 ชุด มีชื่อเสียงโด่งดังสูงสุดประมาณปี พ.ศ. 2529-2530 จากเพลง "เต้ยสาวจันทร์กั้งโกบ" ออกตระเวนแสดงทั่วประเทศ และออกไปแสดงถึงในต่างประเทศ เคยมีการจัดคอนเสิร์ตประชันกันระหว่าง พรศักดิ์ ส่องแสง กับ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ด้วยดนตรีสองแนวต่างสไตล์มาแล้ว โดยใช้คอนเสิร์ตชื่อว่า "คอนเสิร์ตสองคนสองคม" แสดงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 ที่ สนามกีฬาเวโลโดรม หัวหมาก
การเสียชีวิต[แก้]
ในวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 พรศักดิ์ได้เข้าห้องน้ำในบ้านพักส่วนตัว จู่ ๆ ก็ได้เกิดอาการวูบขณะที่อยู่ในห้องน้ำจนครอบครัวพานำส่งโรงพยาบาลหนองบัวลำภู และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในเวลา 20:40 นาที ด้วยอาการภาวะหัวใจวายโดยเฉียบพลัน ณ ห้องผู้ป่วย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู สิริอายุ 60 ปี[5] โดยการเสียชีวิตของเขานั้นมีคนในวงการรวมถึงแฟนเพลงร่วมแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก เช่น ปู พงษ์สิทธิ์, ไผ่ พงศธร, ไมค์ ภิรมย์พร, ครูสลา คุณวุฒิ, ยิ่งยง ยอดบัวงาม, ก้อง ห้วยไร่, มอส ปฏิภาณ, เต๋า สมชาย, เบอนัวต์ & แดนเซอร์, หงา คาราวาน, หนุ่ม กะลา, ฝน ธนสุนทร, หม่ำ จ๊กมก, เสนาสิง, เบิร์ด ธงไชย, นิติพงษ์ ห่อนาค, ต้อย หมวกแดง, ดอกอ้อ ทุ่งทอง, หญิงลี ศรีจุมพล, นกน้อย อุไรพร, เฉลิมพล มาลาคำ
ชีวิตครอบครัว[แก้]
นายบุญเสาร์ สมรสกับนางจุฬาวัลย์ ประจันตะเสน อาศัยอยู่ที่ บ้านขามใหม่ ม.14 ตำบลบ้านขาม อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู มีลูก 3 คน ผู้หญิง 2 และลูกชาย 1 คน
- อาภรณ์ ประจันตะเสน
- วรรณภรณ์ ประจันตะเสน
- พีรศักดิ์ ประจันตะเสน
รางวัล[แก้]
- พ.ศ. 2534 - รางวัลพระราชทานลูกทุ่งกึ่งศตวรรษ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- พ.ศ. 2548 - รางวัลมาลัยทองนักร้องยอดนิยม
- ได้รับพระราชทานศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประจำปีการศึกษา 2547-48[6]
- พ.ศ. 2562 - รางวัลสิงหราช สาขาศิลปะการแสดง จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[7]
ผลงานเพลง[แก้]
สตูดิโออัลบั้ม[แก้]
- เสือสำนึกบาป (2523)
- หนุ่มนานครพนม (2524)
- มาลัยใจดำ (2526)
- หนุ่มนานอนหนาว (2526)
- ลอยแพ (2526)
- ครูยิงยาว (2527)
- คุยสาวเกี่ยวข้าว (2527)
- ปลอบใจน้องเล็ก (2527)
- แม่ของใคร(พระคุณของแม่) (2528)
- แค้นจ้อก้อ (2528)
- รักขาดดุล (2529)
- ชั่วก็ช่าง (2529)
- สาวจันทร์กั้งโกบ (2529)
- สาวนาในกรุง (2530)
- พรศักดิ์เปิดอก (2530)
- คนไกลบ้าน (2530)
- ลืมน้องไม่ลง (2531)
- สาวซิ่งใจฮั่ว (2533)
- มักเจ้าอีหลี (2533)
- รักที่เท่าไหร่ (2535)
- ผัวเผลอเจอกัน (2536)
- พรศักดิ์ลำซิ่ง (2537)
- สะพานรัก สะพานมิตร (2537)
- พรศักดิ์แหล่ 1 พ่อหม้ายใจมาร (2537)
- ลาวอินเตอร์(อวยพรเจ้าภาพ) (2538)
- เขาลืมเราแล้ว (2538)
- พรศักดิ์แหล่ 2 รักแท้แม่เรา (2539)
- ทั้งเจ็บทั้งเหม็น (2541)
- สาวจันทร์ 42 (2542)
- นั่งไม่ติด (2543)
- สาวเจ้ยใจจืด (2544)
- รักบริสุทธิ์ (13 ตุลาคม 2544)
- รักเต็มร้อย (8 พฤษภาคม 2546)
- มีเมียเด็ก (5 ตุลาคม 2547)
- ผู้แพ้รัก (7 สิงหาคม 2548)
- รวมเพลงดัง 25 ปี 1-4 (2548)
- มักสาวซำน้อย (2549)
- พ่อหม้ายใจมาร (เป็นอัลบั้มพิเศษ นำเพลงจากอัลบั้มพรศักดิ์แหล่ 1-2 มารวมกัน) (25 กันยายน 2549)
- ลำแพน ยายงก อกหัก (2550)
- รักกับป๋าพาไปยันฮี (2550)
- พูดจริงหรือเล่น (2552)
- เต้ย ซู่ซ๋า (2552)
- แมงหวี่ไม่มีสิทธิ์ (2553)
- แฮงเมาแฮงคิดฮอด (2553)
- รวมเพลงดัง 2553 (2553)
- ซาหลงบั้ง (2553)
- แก้วลืมคอน (2554)
- 30 ปีทอง พรศักดิ์ลำล่อง (2554)
- หยุดเถิดน้ำตา (2555)
- รวมเพลงเงินล้าน (2556)
- ขอบใจที่ฮักคนมีเมีย (2557)
- รักแท้แพ้ทุนนิยม (2559)
- 40 ปี พรศักดิ์ ส่องแสง (2562)
อัลบั้มพิเศษ[แก้]
- เจาะเวลาเพลงดัง (2536-2537)
- เสียศูนย์เมื่อบุญผะเวช (2536)
- เมาระเบิดโลก 1 (2539)
- เมาระเบิดโลก 2 (2539)
- ลำซิ่งคมเฉือนคม(ร่วมกับ สมหมายน้อย ดวงเจริญ) (2540)
- เพชรตัดเพชร 1(ร่วมกับ สมหมายน้อย ดวงเจริญ) (2540-2541)
- เพชรตัดเพชร 2(ร่วมกับ พรเพชร บุญค้ำจุน(มนต์แคน แก่นคูน) (2542)
ซิงเกิล[แก้]
- ฟ้าเหงาฝน คนเหงาใจ(ซิงเกิล) (2562)
- เลาะฮิม(ซิงเกิล) (2562)
- ซาหลงบั้ง(ซิงเกิล(บันทึกเสียงใหม่-ดนตรีใหม่)) (2562)
- หูกินแตง(ซิงเกิล) (2562)
- ใบฟาง(ซิงเกิล) (2562)
- สาละวันสองฝั่งโขง(ซิงเกิล) (2563)
- นิทานนกกระจอก(ซิงเกิล) (2563)
- เอาเมียไปเทิร์น(ซิงเกิล) (2563)
- อ้ายเป็นห่วงเจ้าเด้อ(ซิงเกิล) (2563)
เพลงพิเศษ[แก้]
- ฟ้าร้องไห้ (2559) จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต สองคนสองคน ประชันกับเบิร์ด ธงไชย (1 พฤษภาคม 2530)
- คอนเสิร์ต รวมใจให้อิสานเขียว (12 มีนาคม 2531)
- คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (17 สิงหาคม 2545)
- คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน ยอดรัก สลักใจ (16 สิงหาคม 2551)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่ง-หมอลำวัฒนธรรมสองฝั่งโขง (24 พฤศจิกายน 2558)
- คอนเสิร์ต คำภีร์ไลฟ์ ก็ใจมันบงการ (26 มีนาคม 2559) รับเชิญ
ผลงานการแสดงภาพยนตร์[แก้]
ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2530 | วอนเพลงฝากรัก | พรศักดิ์ | |
รักพี่ดีกว่า | พรศักดิ์ | ||
2545 | มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. | ไอ้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร | รับเชิญ |
2548 | เสือร้องไห้ | พรศักดิ์ ส่องแสง | - |
เพลงรักชาวทุ่ง ตอน มีเมียเด็ก | ครูบุญทำ คนซื่อ | ||
2560 | ยองบ่าง เดอะมูฟวี่ | กำนันพร | - |
2561 | หลวงพี่มาร์ | - | |
2563 | อีหล่าเอ๋ย | พรศักดิ์ | |
2564 | ส้ม ปลา น้อย | พ่อศร | คู่กับ ฝน ธนสุนธร |
ผลงานการแสดงโฆษณา[แก้]
- แม็ก 77
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 เปิดใจ "ไอ้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร" พรศักดิ์ ส่องแสง
- ↑ Clewley, John (2000). "Thailand". ใน Broughton, Simon; Ellingham, Mark; McConnachie, James; Duane, Orla (บ.ก.). World Music: The Rough Guide. Latin and North America, Caribbean, India, Asia and Pacific. Rough Guides. pp. 247, 253. ISBN 9781858286365.
- ↑ ลูกทุ่งแนวหน้า : 24 สิงหาคม 2562
- ↑ ชีวประวัติ พรศักดิ์ ส่องแสง
- ↑ สิ้น "พรศักดิ์ ส่องแสง" ปิดตำนานนักร้องลูกทุ่งหมอลำ เจ้าของเพลงดัง สาวจันทร์กั้งโกบ
- ↑ ข่าวพรศักดิ์รับปริญญากิตติมศักดิ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""มมส"มอบรางวัล"สิงหราช"ให้ราชาลูกทุ่งหมอลำ "พรศักดิ์ ส่องแสง"". สยามรัฐ. 28 January 2019.
![]() |
บทความเกี่ยวกับดารา นักแสดงนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |