อักษรเบรลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรเบรลล์
finger tip touching page with raised dots
ชนิด(nonlinear)อักษร
ภาษาพูดบางส่วน
ผู้ประดิษฐ์หลุยส์ เบรลล์
ช่วงยุคค.ศ.1824 จนถึงปัจจุบัน
ระบบแม่
Night writing
ระบบลูกFrench Braille
English Braille
Bharati Braille
Chinese Braille
Japanese Braille
Korean Braille
etc.
ระบบพี่น้องNew York Point
ช่วงยูนิโคดU+2800–U+28FF
ISO 15924Brai
ตัวอย่างอักษรเบรลล์ คำว่า Premier

อักษรเบรลล์ (อังกฤษ: Braille) เป็นอักษรสำหรับคนตาบอด ประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็ก ๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี ฯลฯ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลต (Slate) และดินสอ (Stylus) การพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเลอร์ (Brailler) ใช้กระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูป

ประวัติ[แก้]

หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) เกิดที่เมืองกูเฟร (Coupvray) ใกล้กับปารีส ในประเทศฝรั่งเศส แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กของเขาที่เมืองลิล (Lisle) บิดาคือ ซิมง-เรเน เบรลล์ (Simon-René Braille) มีอาชีพทำอานม้า เมื่ออายุได้ 3 ปี เบรลล์ประสบอุบัติเหตุจากเข็มของบิดา ทำให้ตาข้างซ้ายบอด เมื่ออายุได้ 4 ปี โรคตาอักเสบอย่างรุนแรงทำให้เบรลล์ตาบอดทั้ง 2 ข้าง แต่เบรลล์ก็ยังได้เข้าเรียน ด้วยการสนับสนุนจากพ่อ ในปี ค.ศ. 1821 กัปตันชาร์ล บาบิเยร์ นายทหารแห่งกองทัพบกฝรั่งเศสได้มาเยี่ยมโรงเรียน และนำวิธีการส่งข่าวสารของทหารในเวลากลางคืน เรียกว่า night-writing มาลองใช้ ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้จุด 12 จุด และใช้ค่อนข้างยาก ในปีนั้นเอง เบรลล์ได้เริ่มประดิษฐ์อักษรที่ใช้ระบบจุดเช่นกัน เบรลล์ใช้จุดเพียง 6 จุด และใช้เพียงนิ้วเดียววางบนจุดทั้งหมด

อักษรเบรลล์ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งปี ค.ศ. 1868 เมื่อนายแพทย์โทมัส อาร์มิเทจ (Thomas Armitage) กับเพื่อนอีก 5 คน ผู้ก่อตั้ง British and Foreign Society for Improving the Embossed Literature of the Blind (ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Royal National Institute of the Blind) ได้ตีพิมพ์หนังสือ Braille's system ปัจจุบันอักษรเบรลล์ได้ถูกนำไปใช้ทั่วโลก

ที่มา[แก้]

อักษรเบรลล์มาจากลำดับอักษรละตินในภาษาฝรั่งเศส โดยตัว w อยู่ท้ายสุด

อักษรสิบตัวแรก a-j ใช้จุดสี่จุดบน (⠁|⠃|⠉|⠙|⠑|⠋|⠛|⠓|⠊|⠚) ซึ่งใช้แทนเลข 1-9 และ 0 ได้ คล้ายกับตัวเลขกรีก

แม้ว่าจุดไม่ได้เรียงอย่างเห็นได้ชัด อักษรสามตัวแรกมีจุดน้อยที่สุด abc = 123 (⠁|⠃|⠉) อักษรที่เป็นสระสามตัว aei (⠁|⠑|⠊) และเลขคู่ 4, 6, 8, 0 (⠙|⠋|⠓|⠚) เรียงเป็นมุมฉาก

อักษรสิบตัวถัดมา k–t จะเหมือนกับ a–j, แต่เพิ่มจุด 3 (จุดแดงในตารางด้านล่าง) ⠅|⠇|⠍|⠝|⠕|⠏|⠟|⠗|⠎|⠞

ที่มาอักษรเบรลล์ของอักษรละตินจากเลข 10 ตัว
a/1 b/2 c/3 d/4 e/5 f/6 g/7 h/8 i/9 j/0
k l m n o p q r s t
u v x y z w

สิบตัวถัดมาเหมือนเดิม แต่เพิ่มจุด 3 และจุด 6 (จุดเขียวในตารางด้านล่าง) w ยังไม่เป็นอักษรฝรั่งเศสทางการในช่วงชีวิตของเบรลล์ ลำดับอักษรเบรลล์ฝรั่งเศสคือ u v x y z ç é à è ù (|⠥|⠧|⠭|⠽|⠵|⠯|⠿|⠷|⠮|⠾).[หมายเหตุ 1]

สิบตัวถัดมา จบที่w เหมือนเดิม แต่ใช้จุด 6 (จุดม่วงตามตารางด้านบน) ไม่มีจุด 3.

อนุกรม a–j เลื่อนลงหนึ่งจุด (⠂|⠆|⠒|⠲|⠢|⠖|⠶|⠦|⠔|⠴) ใช้เป็นเครื่องหมายวรรคตอน

อักษรเบรลล์สมัยใหม่ 64 ตัว [หมายเหตุ 2]
แถว อนุกรมเลข เลื่อนขวา
1st
2nd ' (Apostrophe)
3rd - (Hyphen) # (Number)
4th UPPERCASE (Capital) . (Decimal Point)
5th shift
down
, (Comma) ; (Semicolon) : (Colon) . (Period) ? (Question Mark) ! (Exclamation Point) “ (Quote Open) * (Asterisk) ” (Quote Close)

ตอนแรกอักษรเบรลล์มีเก้าแถว แถวที่ห้าถึงเก้าใช้ขีดเช่นเดียวกับจุด แต่ใช้งานลำบากจึงถูกยกเลิกและเปลี่ยนมาเป็นเครื่องหมายบอกตัวเลข (⠼)

 ประวัติเบรลล์ในประเทศไทย[แก้]

อักษเบรลล์เริ่มมีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยอาจารย์เจนีวีฟ คอลฟิลด์ (Genevieve Caulfield) ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดขึ้นในประเทศไทย 12 มกราคม พ.ศ. 2482 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสอนคนตาบอด นับว่าเป็นโรงเรียนสำหรับคนพิการแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ร่วมกำหนดรหัสโค้ดอักษรเบรลล์ไทยขึ้น ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกด มีนักเรียนคนแรก คือ หม่อมเจ้าพวงมาศผกา ดิศกุล และได้ทำการเผยแพร่ในระบบการศึกษาและการประกอบอาชีพยาวนานกว่า 70ปี

ในวันที่ 13-15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดทำร่างคู่มือมาตรฐานการใช้อักษรเบรลล์ในประเทศไทย และเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ตาม อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร BANA (The Braille Authority Of North America) ซึ่งเป็นตัวแทนของ 14 องค์กรได้มีการเปลี่ยนแปลงรหัสอักษรเบรลล์บางตัว ทำให้ในประเทศไทยต้องปรับปรุงคู่มือมาตรฐานการใช้อักษรเบรลล์ในไทยด้วย

ในปี พ.ศ. 2558 อักษรเบรลล์ในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยรับอักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษ UEB (Unified English Braille) มาใช้ในประเทศไทย

อักษรเบรลล์[แก้]

ส่วนประกอบ[แก้]

จุดทั้ง 6 ใช้สร้างอักษรเบรลล์

ตัวอักษรเบรลล์จะมีจุดทั้งหมด 6 จุด เรียงกันเป็น 2 แถวในแนวตั้ง นับจากด้านซ้าย จากบนลงล่าง เป็น 1-3 และด้านขวา จากบนลงล่าง เป็น 4-6 โดยใช้การมีจุดและไม่มีจุดเป็นรหัส กล่าวคือวงกลมทึบ ● หมายถึงจุดนูน และวงกลมโปร่ง ○ หมายถึงจุดที่ไม่ใช้ วิธีนี้สามารถทำได้ถึง 63 ตัวอักษร (มาจาก (26) -1) การกำหนดรหัสตัวอักษร 10 ตัวแรก A-J จะใช้จุด 1 2 4 และ 5 สลับกันไป 10 ตัวต่อมา K-T จะเติมจุดที่ 3 ลงไปในอักษร 10 ตัวแรก และ 5 ตัวสุดท้าย (ไม่นับ W เพราะ ณ เวลานั้นภาษาฝรั่งเศสไม่ใช้ W) เติมจุดที่ 3 และ 6 ลงไปในอักษร 5 ตัวแรก

อักษรเบรลล์ของอักษรละติน[แก้]

อักษรเบรลล์ร่วม[แก้]

อักษรเบรลล์ในหลายภาษาจะใช้อักษรเบรลล์เดียวกันแทนเสียงที่ใกล้เคียงกัน

ภาษา (...)
ฝรั่งเศส a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v x y z w
ฮังการี a b c d e f g h i j k l m n o p ö r s t u v x y w
อัลเบเบีย a b c d e f g h i j k l m n o p rr r s t u v x y z
กรีก α

a

β

b

δ

d

ε

e

φ

ph

γ

g

χ

ch

ι

i

ω

ô

κ

k

λ

l

μ

m

ν

n

ο

o

π

p

ρ

r

σ

s

τ

t

ου

ou

ξ

ks

υ

y

ζ

z

รัสเซีย а

a

б

b

ц

ts

д

d

е

e

ф

f

г

g

х

kh

и

i

ж

zh

к

k

л

l

м

m

н

n

о

o

п

p

ч

ch

р

r

с

s

т

t

у

u

щ

shch

з

z

в

v

อาร์เมเนีย ա

a

պ

p

ջ

ǰ

տ

t

ֆ

f

կ

k

հ

h

ի

i

ճ

č̣

լ

l

մ

m

ն

n

օ

ò

բ

b

գ

g

ր

r

ս

s

թ

t’

ը

ë

վ

v

խ

x

ե

e

զ

z

ւ

w

ฮีบรู א‎

ʼ

בּ‎

b

ד‎

d

פ‎

f

ג‎

g

ה‎

h

ִי‎

i

י‎

y

כּ‎

k

ל‎

l

מ‎

m

נ‎

n

וֹ‎

o

פּ‎

p

ק‎

q

ר‎

r

ס‎

s

ט‎ṭ וּ‎

u

ב‎

v

ח‎

ch

ז‎

z

ו‎v
อารบิก ا

ā

ب

b

د

d

ـِi ف

f

ه

h

ي

ī

ج

j

ك

k

ل

l

م

m

ن

n

ق

q

ر

r

س

s

ت

t

ـُ

u

خ

kh

ئ’y ز

z

وū
สันสกฤต/ฮินดี

a

b

ch

d

ē

फ़

f

g

h

i

j

k

l

m

n

ō

p

क्ष

kṣ

r

s

t

u

वv

o

y

ज़

z

ठṭh
ทิเบต

a

b

kh

d

ཨེ

e

g

h

ཨི

i

y

k

l

m

n

ཨོ

o

p

j

r

z

t

ཨུ

u

ts

ch

tsh

w

ไทย

a

i

u

d

-ัว

ua

เ-

e

k

h

โ-

o

ch

kh

l

m

n

ph

เ-ือ

uea

r

s

th

kh

b

f

y

-ำ

am

w

จีน ¯ b c d ye f g, j h, x yi r k, q l m n wo p ch er s t wu an yang wai z wei

อักษรเบรลล์ไทย-ลาว[แก้]

อักษรเบรลล์ภาษาไทย ประดิษฐ์ดัดแปลงเพิ่มเติมโดย เจนีวีฟ คอล์ฟิลด์ และนายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว (ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ในปี ค.ศ. 1966) อักษรเบรลล์ไทยกลายเป็นต้นแบบของอักษรเบรลล์ภาษาลาว และเขมร ในเวลาต่อมา

ตารางอักษรเบรลล์ไทย[แก้]

ก ກ ក (g) ข ຂ ខ (k) ค ຄ (k,) ง ງ ង (g,)
จ ຈ ច (j) ฉ (st) ส ສ ស (s) ช ឆ(ฉ) (st,) ซ ຊ (s,)
ด ດ ដ(ฏ) (d) ต ຕ (t\) ถ ຖ ត(ต) (t) ท ທ ថ(ถ) (t,) น ນ ណ(ณ) (n)
บ ບ (b) ป ປ ព(พ) (&) ผ ຜ ផ (p) ฝ ຝ (x) พ ພ (p\) ฟ ຟ (f,) ม ມ ម (m)
ย ຍ អំ (y) ร ຣ រ (r) ล ລ ឡ(ฬ) (l) ว ວ វ (w) ห ຫ ហ (h) อ ອ◌ໍ អ (o) ฮ ຮ

พยัญชนะอักษรเบรลล์ไทยมาจากอักษรเบรลล์ละตินในวงเล็บ

อักษรต่ำคู่มาจากอักษรสูงเพิ่มจุด6(,)

อักษรที่มาจากอักษรละตินเพิ่มสองจุดล่าง (_)

อักษรที่มาจากการสะท้อน (\)

ป มาจาก บ ซ้อนกับ ผ

อักษรที่มีเสียงซ้ำกัน ให้ใช้ ⠠ หรือ ⠤ หรือ ⠴ นำหน้า

ฃ = ข3 គ = ក1 ฅ = ค2 ฆ = ค1
ជ = ច1 ฌ ឈ = ช ឆ(ฉ) 1
ฎ ឌ(ฑ) =ด ដ(ฏ) 1 ฏ =ต1 ฐ ទ(ท) = ถ ត(ต)1 ฑ ធ(ธ) = ท ថ(ถ) 1 ฒ ឍ = ท ថ(ถ) 2 ณ ន(น) = น ណ(ณ) 1
ธ =ท3 ភ = ផ1
ญ ຢ យ(ย) = ย1 ฬ ល(ล) = ล ឡ(ฬ) 1 ศ = ส1 ษ = ส2

ตารางสระเบรลล์[แก้]

ะ ະ អះ า/ๅ າ អា -ิ ◌ິ -ี ◌ີ -ุ ◌ົ អុ -ู ◌ູ អូ -ึ ◌ຶ អឹ -ื ◌ື អឺ เ- ເ- អេ โ- ໂ- អៃ(ไ-)
អិ អី (e) ◌ຸ* អួ
-ั ◌ັ -ำ -ຳ អាំ แ- ແ- ไ- ໄ- អោ(โ) เ-อ ເ◌ີ អើ เ-ีย ເ-ຍ អៀ เ-ือ ເ◌ືອ អឿ -ัว ◌ົວ អី เ-า ເ◌ົາ -็
เ-าะ ເ-າະ ຽ(เ-ีย អៅ(เ-า

สระ อะ อิ อุ เอ โอ มาจากอักษรเบรลล์ญี่ปุ่น และสระ อา อี อู แปลงจาก อะ อิ อุ สระอุลาวเบรลล์จะเป็นคนละแบบกับไทย

สระทุกตัวจะเขียนไว้หลังพยัญชนะต้น

ตารางวรรณยุกต์[แก้]

-่ -้ -๊ -๋

เครื่องหมายวรรคตอน[แก้]

-์ ◌໌ ๆ ໆ ฯลฯ " " () นำหน้าเครื่องหมายวรรคตอนอื่น

อักษรเบรลล์ของตัวเลข[แก้]

สำหรับการเขียนตัวเลข จะต้องมีเครื่องหมายนำเลขเสมอ

อารบิก เบรลล์ ไทย เบรลล์
0 ⠼⠚ ⠠⠼⠚
1 ⠼⠁ ⠠⠼⠁
2 ⠼⠃ ⠠⠼⠃
3 ⠼⠉ ⠠⠼⠉
4 ⠼⠙ ⠠⠼⠙
5 ⠼⠑ ⠠⠼⠑
6 ⠼⠖ ⠠⠼⠖
7 ⠼⠛ ⠠⠼⠛
8 ⠼⠓ ⠠⠼⠓
9 ⠼⠊ ⠠⠼⠊
  • กรณีใช้ตัวเลขในคณิตศาสตร์แบบ Nemeth Braille จะใช้จุดต่ำ คือการขยับจุดตัวเลขลงมาแถวต่ำ เช่น เลข 1 ที่ปกติใช้จุด 1 ให้ขยับมาเป็นจุด 2 หรือเลข 2 จากปกติใช้จุด 1,2 ให้ขยับมาเป็นจุด 2,3 เป็นต้น

อักษรเบรลล์ญี่ปุ่น[แก้]

a i u e o
k ka ki ku ke ko
s sa shi su se so
t ta chi tsu te to
n na ni nu ne no
h ha hi fu he ho
m ma mi mu me mo n
y ya yu yo    -y-
r ra ri ru re ro
w wa wi we wo   -w-
ゃゅょ ゛+
ゃゅょ
゜+
ゃゅょ

อักษรเบรลล์เกาหลี[แก้]

โรมัน g n d r m b s j ch k t p h ng
ฮันกึล
ต้น *
ท้าย

*อักษรเบรลล์จะไม่เขียน ng ในรูปพยัญชนะต้น

พยัญชนะหนักให้ใช้ ㅅ นำหน้า[1]

⠠⠠ ㅆ ss
⠠⠈ㄲ kk
⠠⠊ ㄸ tt
⠠⠘ ㅃ pp
⠠⠨ ㅉ jj
โรมัน a eo o u eu e
ฮันกึล
เบรลล์
โรมัน ya yeo yo yu i ye
ฮันกึล
เบรลล์
โรมัน wa wo oe ui ae
ฮันกึล
เบรลล์
โรมัน yae =ya+ae wae=wa+ae we= wo+oe wi=u+ae
ฮันกึล
เบรลล์

ยูนิโคด[แก้]

Official Unicode Consortium code chart (PDF)
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+280x
U+281x
U+282x
U+283x
(end of 6-dot cell patterns)
U+284x
U+285x
U+286x
U+287x
U+288x
U+289x
U+28Ax
U+28Bx
U+28Cx
U+28Dx
U+28Ex
U+28Fx

หมายเหตุ[แก้]

  1. ค่าของอักษรหลัง z ต่างไปตามภาษา ณ ที่นี้เป็นของภาษาฝรั่งเศส
  2. The characters have been arranged by decade, with decade diacritics listed at left, and supplementary characters included on the right according to their diacritic. See 1829 braille, where the 12 characters listed in the first line are used for shorthand and are found in this order for the 12 notes of plainsong notation, and French Braille, where the 'final' form of Braille's alphabet is laid out in the same way. However, modern tables often organize the supplementary characters differently: Those with a dot 3 are listed as a 6th group of 6 characters, and those with dots only on the right side are listed as a 7th group of 7, without anything in common with the other characters in the columns they are listed under.

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]