อักษรอาหรับสำหรับภาษาอาฟรีกานส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรอาหรับอาฟรีกานส์
ชนิดอักษรไร้สระ
ภาษาพูด
ระบบแม่
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรอาหรับสำหรับภาษาอาฟรีกานส์ (อังกฤษ: Arabic Afrikaans; อาฟรีกานส์: Arabies Afrikaans, عربس افركانس) เป็นการนำอักษรอาหรับมาเขียนภาษาอาฟรีกานส์ เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2373 ที่มัดรอซาในเคปทาวน์ นอกจากเอกสารตัวเขียนในภาษาเยอรมันที่เขียนเป็นอักษรอาหรับเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว[1] ภาษานี้เป็นภาษาเจอร์แมนิกเดียวที่เขียนด้วยอักษรอาหรับ[2]

อักษร[แก้]

ภาพรวม[แก้]

ชุดตัวอักษรอาหรับอาฟรีกานส์
ݗ خ ح چ ج ث ت پ ب ا
ksā khā chīm jīm
thā
’alif
ط ض ص ش س ژ ز ر ذ د
tāh zād
dād
sād shīn sīn zhā zāl
dhāl
dāl
گ ک ق ڤ ف ڠ ݝ غ ع ظ
gāf kāf qāf ngīn gīn ghīn aīn zāh
dāh
ے ی أ،ؤ،ئ ء و ه ن م ل لا
hamzā alif,
hamza wāw,
hamza yā
hamzā wāw nūn mīm lām lām alif

อักษรอาหรับอาฟรีกานส์ (อาฟรีกานส์: alifbe) เป็นรูปแบบหนึ่งของชุดตัวอักษรอาหรับที่ใช้เขียนภาษาอาฟรีกานส์ ประกอบด้วย 36 ตัวอักษร:

ชุดตัวอักษรอาฟรีกานส์
Yy Ww - Hh Nn Mm Ll Gg/gg Gh/gh Kk/Cc W/w Ff/Vv Ng/ng Gg/Gh gg/gh Ch/Gh ch/gh - Zz Tt Zz Ss Sj sj Ss/Cc Ss Zz Rr Zz Dd/Tt Ch ch Hh Xx Tj tj Dj dj Ss Tt/Dd Pp/Bb Bb -
ชุดตัวอักษรอาหรับ
ی و ء ہ ن م ل گ ک ڤ ف ڠ ݝ غ ع ظ ط ض ص ش س ژ ز ر ذ د خ ح ݗ چ ج ث ت پ ب ا
สัทอักษรสากล
j w ʔ ɦ n m l g k v f ŋ g ɣ ʔ(ʕ) z t z s ʃ s ʒ z r z(ð) d x ɦ(ħ) ks t͡ʃ d͡ʒ s(θ) t p b ʔ

หมายเหตุ: ชุดตัวอักษรนี้เป็นชุดอักษรอาหรับรูปแบบเปอร์เซียที่มี 36 ตัว กับอักษรเพิ่มเติมสำหรับเสียงที่ไม่มีในชุดตัวอักษรอาหรับ

สระ[แก้]

ชุดตัวอักษรอาฟรีกานส์ ออกเสียง ชุดตัวอักษรอาหรับอาฟรีกานส์
a /ɐ/ ـَ
aa /ɑː/ ـَآ،ـَا
ie /i/ ـِ
eeu/eu/uu /iʊ/ɪə/y/ ـِى
e/è /ɛ/ ىٖ
oe /u/ ـُ
oo /ʊə/ ـُوْ
oei/ooi /uɪ/ɔːɪ/ ـُوی
ô /ɔː/ ـُو
î /əː/ ـَـِى
ee /eə/ ـِىْ
e /ɛ/ ویْ
i /i~ə/ ـِـَ
ê /eː/ɛː/ ـَـِـٖ
o /ɔ/ ـَـُ
i /ə/ ـٖى،ـَـِ
û /œ/œː/ ـَوی
ei /ɛi/ آی
ai /aj/ ـَى
aai /ɑːi/ ـَای،آی

เอกสาร[แก้]

อักษรอาหรับสำหรับภาษาอาฟรีกานส์ พ.ศ. 2415

มีเอกสารที่เขียนด้วยอักษรอาหรับอาฟรีกานส์เหลืออยู่ราว 74 ชิ้น ชิ้นที่เก่าที่สุดคือ "Hidyat al-Islam" มีอายุราว พ.ศ. 2388 เอกสารลายมือเขียนที่เก่าที่สุดที่เหลือรอดอยู่ เป็นเอกสารเกี่ยวกับการเรียนศาสนาอิสลาม เขียนโดย อิหม่าม อับดุล-กาห์ฮาร์ อิบน์ อับดุล-มาลิก เมื่อ พ.ศ. 2411 รูปแบบที่เป็นวิชาการมากที่สุดเขียนเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยอะบูบักร์ เอฟเฟนดี ที่เดินทางจากอิสตันบูลมาถึงเคปใน พ.ศ. 2405 ตัวอย่างวรรณคดีที่สำคัญคือ Uiteensetting van die Godsdiens ("นิทรรศการแห่งศาสนา") เป็นหนังสือเกี่ยวกับศาสนาอิสลามตามหลักกฎหมายศาสนาฮานาฟี เขียนโดยอะบูบักร์ เอฟเฟนดี พิมพ์ด้วยอักษรอาหรับ แต่มีการปริวรรตเป็นภาษาแอฟฟริกันส์

ในหนังสือ Uiteensetting van die Godsdiens ใช้คำภาษาอาหรับหลายที่ ในขณะที่ภาษาอาฟรีกานส์สมัยใหม่ใช้คำจากกลุ่มภาษาเจอร์มานิก เช่น dunya دنيا สำหรับ wêreld, หมายถึง "world" คำภาษาอาหรับเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับคนผิวสีที่พูดภาษาอาฟรีกานส์ที่แหลมเคปซึ่งใช้ปะปนกับภาษาดัตช์ หนังสือนี้คล้ายจะเป็นคู่มือสำหรับสอนทาสชาวมลายูในแหลมเคปซึ่งไม่จำเป็นต้องพูดภาษาดัตช์ได้ดี

อัลกุรอาน[แก้]

ตัวอย่างที่ใช้สระอาหรับในการเขียนภาษาอาฟรีกานส์ในอัลกุรอานเขียนด้วยมือสองภาษา (น่าจะเขียนในคริสต์ทศวรรษ 1880) ดังตัวอย่างในซูเราะฮ์ที่ 67, อายะฮ์ที่ 1:[3]

อาหรับ: อาฟรีกานส์:
ไม่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษร
تبارك الذي بيده الملك
ان دى كونڠ سكپ اس بيدى هوك الله تعالا ان ڤارلك الله تعالا اس باس فر الدى اتس
มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษร
تَبَارَكَ ٱلَّذِيْ بِيَدِهِ ٱلمُلْكُ
ان دى كُوْنِڠْ سْكَپْ اس بِيْدِىْ هُوْكَ الله تعالا ان ڤَارْلِكْ الله تعالَا اِسْ بَاس فَِرْ اَلْدِىْ اِتْسْ
ปริวรรต tabāraka -llaḏī bi-yadihi l-mulk[u] °n dī kūnuň skap is bīdī hūka Allah ta`ālā °n vārlik Allah ta`ālā is bās fir aldī its
ในภาษาอาฟรีกานส์ตามแบบแผน - En die koningskap is by die hoë Allah ta`ālā en waarlik Allah ta`ālā is die baas van alle dinge.
ในภาษาอังกฤษ Blessed is the One in Whose hand is the kingdom. And the kingship is with the high Allah (may He be exalted) and truly Allah (may He be exalted) is the boss of all things.

(° = เครื่องหมายสระหายไป, ň = /ŋ/ เช่นใน "king", ` = ayn, ขีดเส้นใต้ = ในภาษาอาหรับ)

ภาษาอาหรับในยุคเหยียดผิว[แก้]

ในยุคเหยียดผิว การเปิดกว้างยอมรับอิทธิพลของภาษาอื่นๆที่พูดในแอฟริกาใต้ต่อภาษาอาฟรีกานส์ลดลง ราว พ.ศ. 2443 ภาษาอาฟรีกานส์ถือว่าเป็นสำเนียงของภาษาดัตช์ไม่ถือเป็นภาษาเอกเทศ ในปัจจุบัน ภาษาอาฟรีกานส์และภาษาดัตช์ถือเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ มีการแปลไบเบิลเป็นภาษาอาฟรีกานส์เมื่อ พ.ศ. 2476 และใช้ภาษาอาฟรีกานส์เป็นภาษาทางศาสนาสำหรับกลุ่มอาฟรีกานส์เคร่งศาสนาที่สงสัยในไบเบิลฉบับภาษาดัตช์

ในปัจจุบันได้มีการประเมินภาษาอาฟรีกานส์ในด้านที่มาและอิทธิพลจากภาษาอื่นเช่น ภาษาบันตู ภาษาคอยซาน ภาษาโปรตุเกส และภาษามลายู[4] ปัจจัยสำคัญคือขบวนการทางเลือกอาฟรีกานส์ของคนผิวสีทำให้ภาษาแอฟฟริกันส์ที่ไม่ใช่แบบมาตรฐานเป็นที่รู้จัก[5] แต่อิทธิพลของอักษรอาหรับต่อขบวนการปลดปล่อยยังไม่ชัดเจน

ภาษาอาฟรีกานส์เป็นภาษาในกลุ่มเจอรมานิกตะวันตกที่ใกล้เคียงกับภาษาดัตช์มาก ได้รับอิทธิพลจากภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอื่นๆ มีคำยืมจำนวนเล็กน้อยจากภาษาคอยและภาษาบันตู มีคำยืมจากภาษาอาหรับอยู่บ้าง เช่น คำว่า jihad ใช้ในความหมายของการต่อสู้กับลัทธิเหยียดผิว

อ้างอิง[แก้]

  1. compare the Lutheran hymn Vater unser im Himmelreich in the following picture. [Martin Luther]: Alaman Türkīsi. In: [Anon.]: Meǧmūʿa. [o.O.u.J.] fol. 40r.-41v. http://data.onb.ac.at/rec/AL00642162 also the digitalization of the full picture http://data.onb.ac.at/dtl/3373545 (accessed 2019-01-15).
  2. "List of issues Southern African Linguistics and Applied Language Studies". www.tandfonline.com.
  3. Michael Cook, The Koran, A Very Short Introduction, Oxford: Oxford University Press, 2000, ISBN 0-19-285344-9, p. 93
  4. "Afrikaans language, alphabet and pronunciation". Omniglot.com. 2011-08-15. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.
  5. Ria van den Berg, "Standard Afrikaans and the different faces of 'Pure Afrikaans' in the twentieth century", in Nils Langer & Winifred V. Davies (edd.), Linguistic Purism in the Germanic Languages, New York: Walter de Gruyter, 2005, ISBN 3-11-018337-4, pp. 144-165.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Arabic Afrikaans