อักษรคุรมุขี
อักษรคุรมุขี | |
---|---|
ชนิด | อักษรสระประกอบ |
ภาษาพูด | ภาษาปัญจาบ |
ช่วงยุค | ประมาณ พ.ศ. 2082 (ค.ศ. 1539) –ปัจจุบัน |
ระบบแม่ | |
ระบบพี่น้อง | Takri |
ช่วงยูนิโคด | U+0A00–U+0A7F |
ISO 15924 | Guru |
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด |
![]() |
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง |
อักษรคุรมุขี หรือ อักษรกูร์มูคี หรือ อักษรเกอร์มุกห์[1] เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาปัญจาบ ประดิษฐ์โดยคุรุนานักเทพ คุรุคนแรกของศาสนาซิกข์ และเผยแพร่โดยคุรุอังกัตเทพ คุรุคนที่ 2 เมื่อราว พ.ศ. 2100 พัฒนามาจากอักษรสรทะ ใช้เขียนคัมภีร์คุรุครันถสาหิบทั้ง 1,430 หน้า คำว่าคุรมุขีแปลว่า “มาจากปากของคุรุ” ภาษาอื่นที่เขียนด้วยอักษรคุรมุขีได้คือ ภาษาพรัช ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภาษาสินธี
เนื้อหา
จุดกำเนิด[แก้]
ต้นกำเนิดของอักษรนี้คืออักษรพราหมี อักษรคุรมุขีรุ่นแรกพัฒนามาเป็นอักษรคุปตะเมื่อราว พ.ศ. 900–1300 ตามด้วยอักษรสรทะ เมื่อราว พ.ศ. 1300 สุดท้ายปรับรูปเป็นอักษรสรทะแบบเทวเสศะเมื่อราว พ.ศ. 1500–1900 อักษรคุรมุขีปัจจุบันประดิษฐ์โดยคุรุองค์ที่ 2 ของศาสนาสิกข์คือ คุรุอังกัตเทพ แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าที่จริงแล้วคุรุท่านนี้ได้จัดมาตรฐานของอักษรนี้ใหม่มากกว่า รูปแบบของอักษรคุรมุขีพบในอักษรโบราณตั้งแต่ราว พ.ศ. 1000–1500 แม้แต่คุรุนานักเทพ ก็เคยใช้อักษรแบบอักษรคุรมุขีในงานเขียนของท่าน
คุรุอังกัตเทพปรับปรุงอักษรนี้เพื่อใข้เขียนคัมภีร์ของศาสนาสิกข์ อักษรที่ใช้เขียนภาษาปัญจาบมาก่อนหน้านี้คืออักษรตกริและอักษรลันทะ อักษรลันทะที่แปลว่า “ไม่มีหาง” เป็นอักษรที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันและการค้า แต่ไม่ใช้ในทางวรรณกรรมเพราะไม่มีรูปสระ จึงเป็นเหตุให้ท่านคุรุไม่นำอักษรนี้ไปใช้เพราะจะเกิดปัญหาในการออกเสียง
การที่อักษรนี้ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนาสิกข์จึงทำให้มีความสำคัญในทางวรรณกรรมสำหรับชาวสิกข์ อักษรนี้เป็นอักษรราชการของปัญจาบตะวันออก ส่วนปัญจาบตะวันตกใช้อักษรอาหรับดัดแปลงแบบอูรดูเรียกว่า ชาร์มูคี อักษรคุรมุขีมี 35 ตัว 3 ตัวแรกเป็นฐานของเสียงสระไม่ใช่พยัญชนะ และมีพยัญชนะอีก 6 ตัวสร้างขึ้นโดยเติมจุดใต้พยัญชนะเดิม พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็นอะ สระลอยคือ อุระ ไอระ และอิริ นอกจากไอระที่ใช้แทนเสียง /อ/ แล้ว ไม่มีรูปพยัญชนะใดที่เขียนโดยไม่มีรูปสระ
พยัญชนะ[แก้]
การถอดเป็นอักษรไทยตามรูป ใช้กับภาษาที่จัดพยัญชนะวรรคตามแบบภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤตเท่านั้นดูเพิ่มที่พยัญชนะวรรค
อักษรคุรมุขี | ถอดเป็นอักษรโรมัน | ถอดเป็นอักษรไทยตามรูป | ถอดเป็นอักษรไทยตามเสียง |
---|---|---|---|
ਕ | ka | ก | /ก/ |
ਖ | kha | ข | /ค/ |
ਗ | ga | ค | /ก/ |
ਘ | gha | ฆ | /ค/ |
ਙ | nga | ง | /ง/ |
ਚ | ca | จ | /จ/ |
ਛ | cha | ฉ | /ช/ |
ਜ | ja | ช | /จ/ |
ਝ | jha | ฌ | /ช/ |
ਞ | nya | ญ | /ย/ |
ਟ | tta | ฏ | /ต/ |
ਠ | ttha | ฐ | /ท/ |
ਡ | dda | ฑ | /ด/ |
ਢ | ddha | ฒ | /ด/ |
ਣ | nna | ณ | /น/ |
ਤ | ta | ต | /ต/ |
ਥ | tha | ถ | /ท/ |
ਦ | da | ท | /ด/ |
ਧ | dha | ธ | /ด/ |
ਨ | na | น | /น/ |
ਪ | pa | ป | /ป/ |
ਫ | pha | ผ | /พ/ |
ਬ | ba | พ | /บ/ |
ਭ | bha | ภ | /บ/ |
ਮ | ma | ม | /ม/ |
ਯ | ya | ย | /ย/ |
ਰ | ra | ร | /ร/ |
ਲ | la | ล | /ล/ |
ਲ਼ | lla | - | /ล/ |
ਵ | va | ว | /ว/ |
ਸ਼ | sha | ศ | /ซ/ |
ਸ | sa | ส | /ซ/ |
ਹ | ha | ห | /ฮ/ |
ਖ਼ | khha | ฃ | /ค/? |
ਗ਼ | ghha | ฅ | /ค/? |
ਜ਼ | za | ซ | /ซ/? |
ੜ | rra | ฬ | /ร/? |
ਫ਼ | fa | ฝ | /ฟ/ |
สระ[แก้]
สระลอย[แก้]
ਅ = อะ (a), ਆ = อา (aa), ਇ = อิ (i), ਈ = อี (ii), ਉ = อุ (u), ਊ = อู (uu), ਏ = เอ (e), ਐ = ไอ (ai), ਓ = โอ (o), ਔ = เอา (au)
สระจม[แก้]
ਕ = ka, ਕਾ = kaa, ਕੀ = ki, ਕਿ= kii, ਕੁ = ku, ਕੂ = kuu, ਕੇ = ke, ਕੈ = kai, ਕੋ = ko, ਕੌ = kau
ตัวเลข[แก้]
เลขคุรมุขี | เลขอารบิค |
---|---|
੦ | 0 |
੧ | 1 |
੨ | 2 |
੩ | 3 |
੪ | 4 |
੫ | 5 |
੬ | 6 |
੭ | 7 |
੮ | 8 |
੯ | 9 |
੧੦ | 10 |
เครื่องหมายพิเศษ[แก้]
ੴ ใช้ในทางศาสนา หมายถึง พระเจ้าองค์เดียว
อักษรคุรมุขีในคอมพิวเตอร์[แก้]
สำหรับผู้ใช้วินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) สามารถอ่านอักษรคุรมุขีหรือพิมพ์ข้อความสั้น ๆ ด้วยโปรแกรม Character Map ฟอนต์ Raavi
คุรมุขี Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+0A0x | ਁ | ਂ | ਃ | ਅ | ਆ | ਇ | ਈ | ਉ | ਊ | ਏ | ||||||
U+0A1x | ਐ | ਓ | ਔ | ਕ | ਖ | ਗ | ਘ | ਙ | ਚ | ਛ | ਜ | ਝ | ਞ | ਟ | ||
U+0A2x | ਠ | ਡ | ਢ | ਣ | ਤ | ਥ | ਦ | ਧ | ਨ | ਪ | ਫ | ਬ | ਭ | ਮ | ਯ | |
U+0A3x | ਰ | ਲ | ਲ਼ | ਵ | ਸ਼ | ਸ | ਹ | ਼ | ਾ | ਿ | ||||||
U+0A4x | ੀ | ੁ | ੂ | ੇ | ੈ | ੋ | ੌ | ੍ | ||||||||
U+0A5x | ੑ | ਖ਼ | ਗ਼ | ਜ਼ | ੜ | ਫ਼ | ||||||||||
U+0A6x | ੦ | ੧ | ੨ | ੩ | ੪ | ੫ | ੬ | ੭ | ੮ | ੯ | ||||||
U+0A7x | ੰ | ੱ | ੲ | ੳ | ੴ | ੵ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Microsoft© Office Word 2003 Thai
- อักษรคุรมุขี (อังกฤษ)