อักษรวาดาอัด

อักษรวาดาอัด (Wadaad writing) หรืออักษรอาหรับวาดาอัด (wadaad Arabic) เป็นการนำอักษรอาหรับมาเขียนภาษาโซมาลี[1][2] แต่เดิมนั้น หมายถึงภาษาอาหรับที่ไม่ถูกไวยากรณ์โดยมีคำจากภาษาโซมาลีปนอยู่ อักษรวาดาอัดใช้โดยชายผู้รู้ศาสนาชาวโซมาลี (วาดาอาโด) เพื่อบันทึกกฎหมาย และยังใช้ในการค้าและการเขียนจดหมาย ต่อมามีนักวิชาการปรับอักษรอาหรับสำหรับใช้กับภาษาโซมาลี โดยในราว พ.ศ. 2493 มีการประดิษฐ์อักษรฆาลาล โดยเพิ่มอักษรแทนเสียงสระ
ประวัติ[แก้]
อักษรอาหรับเข้าสู่โซมาเลียในราวพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเชค ยูซุฟ บิน อะห์หมัด อัลกอเนน เขาได้จัดตั้งการสอนอัลกุรอ่าน และได้พัฒนาการเขียนภาษาโซมาลีด้วยอักษรอาหรับ เนื่องจากมีวาดาอัดชาวโซมาลีจำนวนมากที่ใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาโซมาลี จึงมีการปรับปรุงโดยเชค อูวาย อัลบาราวีในราวพุทธศตวรรษที่ 24 โดยใช้กับสำเนียงมาอายในโซมาลีใต้ซึ่งในเวลานั้นใกล้เคียงกับสำเนียงมาตรฐานของภาษาโซมาลี
อักษรวาดาอัดจะไม่สามารถเข้าใจได้โดยชาวโซมาลีที่เรียนภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ในโรงเรียน ต่อมา ในราว พ.ศ. 2473 โซมาลิแลนด์ที่อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ มูฮัมหมัด อับดี มากาฮีอิล ได้พยายามปรับมาตรฐานอีกครั้ง ต่อมาในราว พ.ศ. 2493 นักภาษาศาสตร์ชาวโซมาลี มูซา ฮายี อิสมาอิล ฆาลาล ได้เสนอการปรับปรุงอักษรอาหรับเพื่อเขียนภาษาโซมาลี โดยเพิ่มสัญลักษณ์ที่เรียกว่าสระโซมาลี ซึ่งถือว่าใช้ออกเสียงภาษาโซมาลีได้ใกล้เคียงที่สุด
ตัวอย่างอักษรอาหรับสำหรับภาษาโซมาลี[แก้]
อักษรวาดาอัดที่ใช้สำหรับเขียนภาษาโซมาลีไม่ใช่อักษรแบบเดียว แต่มีการประดิษฐ์ในท้องถิ่นหลายแบบ บางครั้งอักษรตัวเดียวกันแต่ออกเสียงไม่เหมือนกัน รูปแบบต่อไปนี้เป็นรูปแบบที่ใช้โดยทั่วไป
อักษรอาหรับสำหรับภาษาโซมาลี | อักษรละตินสำหรับภาษาโซมาลี |
---|---|
ى | i |
ئ | e |
ا | a |
ؤ | o |
و | u |
ىٓ | ii |
أى | ee |
آ | aa |
أو | oo |
وٓ | uu |
ب | b |
د | d |
ت | t |
ط | dh |
غ | g |
ك | k |
ق | q |
ء | ' |
ف | f |
س | s |
ش | sh |
خ | kh |
ع | c |
ح | x |
ه | h |
ج | j |
م | m |
ن | n |
ر | r |
ل | l |
و | w |
ي | y |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Lewis, I.M. (1999). A Pastoral Democracy: A Study of Pastoralism and Politics Among the Northern Somali of the Horn of Africa. LIT Verlag Münster. p. 175. ISBN 3825830845.
- ↑ Lewis, p.139-140
- Abdullahi, Mohamed Diriye (2001). Culture and customs of Somalia. Greenwood. ISBN 978-0-313-31333-2.
- David D., Laitin (1977). Politics, language, and thought: the Somali experience. University of Chicago Press. ISBN 0-226-46791-0.
- Lewis, I.M (1958). "The Gadabuursi Somali Script". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. SOAS. 21: 134–56. doi:10.1017/S0041977X00063278. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.
- B. G., Martin (2003). Muslim Brotherhoods in Nineteenth-Century Africa. Cambridge University Press. ISBN 0-521-53451-8.
- Nagendra Kr., Singh (2002). International encyclopaedia of Islamic dynasties, Volume 43. Anmol Publications PVT. LTD. ISBN 81-261-0403-1.
|