ข้ามไปเนื้อหา

สือดิบผู้จ่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สือดิบผู้จ่อง
อักษรจ้วงเก่า
ตัวอักษรสำหรับคำว่า saw 'อักษร' กับ ndip 'ดิบ' ในภาษาจ้วง
ชนิด
ช่วงยุค
คริสต์ศตวรรษที่ 7 – ปัจจุบัน
ภาษาพูดจ้วง, ปู้อี้, ตั่ย, นุง
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
เจี๋ยกู่เหวิน
  • จีน
    • สือดิบผู้จ่อง

สือดิบผู้จ่อง (จ้วง: Sawndip สือดิบ: 𭨡𮄫;[a] θaɯ˨˦ɗip˥) เป็นอักษรจีนที่ใช้เขียนภาษาจ้วงในมณฑลกวางซีและมณฑลยูนนานของจีน ไม่เพียงแค่ชาวจ้วงเท่านั้นที่ใช้อักษรนี้ แต่ยังรวมถึงชาวปู้อี้ในมณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน; ชาวตั่ยในประเทศเวียดนาม และชาวนุงในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนและเวียดนาม[2] สือดิบเป็นศัพท์ภาษาจ้วงที่หมายถึง "อักษรอ่อน" ศัพท์ภาษาจ้วงสำหรับอักษรจีนที่ใช้ในภาษาจีนคือ sawgun (𭨡倱 'อักษรฮั่น')

ชื่อ

[แก้]

สือดิบผู้จ่องยังมีอีกชื่อว่า อักษรจ้วงเก่า ส่วนใหญ่ใช้แยกอักษรนี้จากภาษาจ้วงมาตรฐานที่อิงอักษรละติน ในภาษาจีนมาตรฐาน อักษรจ่วงเก่าได้รับการเรียกขานเป็น กู่จ้วงซื่อ (古壮字; "อักษรจ้วงเก่า") หรือ ฟางไคว่จ้วงซื่อ (方块壮字; "อักษรจ้วงรูปเหลี่ยม")

ลักษณะ

[แก้]
ตัวหนังสือคำจ้วงสามคำ (𭒹𮬭鴓) จาก Sawndip Sawdenj (สองตัวแรกได้รับการบรรจุลงใน Unicode 10.0 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017) ประกอบด้วย: ส่วนประกอบ 'POWER', 'หก' และ 'ต้อง' ตามลำดับ แทนเสียงอ่าน และส่วนประกอบ 'CHILD', 'BIRD' และ 'BIRD' สำหรับคำว่า lwg roegbit, ลึกฆกปิ๊ด, แปลตรงตัวว่า 'ลูกนกเป็ด' หมายถึง "ลูกเป็ดป่า"

สือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า "นา" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า "หน่า" ผสมกับตัวที่อ่านว่า "หลาย" ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า "นา" เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

ต้นกำเนิดของอักษรสือดิบนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่ามีกำเนิดสมัยราชวงศ์ถัง บางส่วนกล่าวว่าเริ่มใช้ในสมัยราชวงศ์ซ้อง อย่างไรก็ตาม สือดิบไม่ได้มีสถานะเป็นอักษรราชการ เพราะชาวจ้วงอยู่ภายใต้การปกครองของจีน จึงใช้ภาษาจีนและอักษรจีนเป็นภาษาและอักษรราชการ ส่วนมากชาวจ้วงใช้สือดิบบันทึกเพลงและวรรณกรรมพื้นบ้าน เขียนจดหมายหรือใช้ในทางไสยศาสตร์ในแวดวงของหมอผีโดยใช้ปนกับอักษรจีน สือดิบจัดว่าเป็นอักษรที่ไม่ได้พัฒนามากนัก ปัจจุบันมีสือดิบเพียง 2,000 ตัวซึ่งถือว่าไม่เพียงพอต่อการใช้งานในฐานะอักษรภาพ นอกจากนั้น ภาษาจ้วงยังมีแตกต่างไปหลายสำเนียง แต่ละท้องถิ่น กำหนดสือดิบของตนขึ้นใช้โดยไม่มีสือดิบมาตรฐานสำหรับคนที่อยู่ต่างท้องที่กัน

นอกจากนี้ การนำอักษรจีนมาใช้ปนกับสือดิบก็มีวิธีใช้ต่างกันไป บางครั้งนำมาใช้แทนเสียงโดยไม่คำนึงถึงความหมาย บางครั้งนำมาใช้โดยยึดความหมายแต่อ่านเป็นภาษาจ้วง ตัวอย่างเช่น อักษรจีนที่แปลว่า "ข้าพเจ้า" เมื่อนำมาใช้ในสือดิบจะใช้แต่ความหมาย โดยอ่านออกเสียงว่าเป็นภาษาจ้วงว่า "กู" เป็นต้น

ตัวอย่าง

[แก้]

จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1 ในภาษาจ้วงเหนือ:

  • ถอดความเป็นละติน (อักขรวิธี ค.ศ. 1982): Boux boux ma daengz lajmbwn couh miz cwyouz, cunhyenz caeuq genzli bouxboux bingzdaengj. Gyoengq vunz miz lijsing caeuq liengzsim, wngdang daih gyoengq de lumj beixnuengx ityiengh.
  • ถอดความเป็นละติน (อักขรวิธี ค.ศ. 1957): Bouч bouч ma dəŋƨ laзƃɯn couƅ miƨ cɯyouƨ, cunƅyenƨ cəuƽ genƨli bouчbouч biŋƨdəŋз. Gyɵŋƽ vunƨ miƨ liзsiŋ cəuƽ lieŋƨsim, ɯŋdaŋ daiƅ gyɵngƽ de lumз beiчnueŋч ityieŋƅ.
  • อักษรยูนิโคด (อักษรที่ยังไม่ได้บรรจุในปัจจุบันแทนด้วย Ideographic Description Sequences ในวงเล็บ): 佈佈𲃖[⿰丁刂]𨑜[⿰云天]就𠷯自由,尊严𪝈权利佈佈平等。𬾀伝𠷯理性𪝈良心,应当待𬾀𬿇㑣[⿰彳比][⿰彳农]一样。

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. The character for saw meaning either book or written character, 𭨡, has a 'book' radical on the left and a 'scholar' radical on the right. Similarly, ndip 'raw', 'uncooked', 'unripe', 𮄫, is composed of the 'STAND' and 'LIFE' radicals. At present, there are limitations in displaying Zhuang logograms as many have only recently been encoded in Unicode and are only supported by a few fonts. Sawndip characters have not been standardised, and different writers use different characters for the same word; the examples here are from Sawndip Sawdenj.[1]

อ้างอิง

[แก้]

ข้อมูล

[แก้]
  • Bauer, Robert S. (2000), "The Chinese-based writing system of the Zhuang language", Cahiers de Linguistique Asie Orientale, 29 (2): 223–253, doi:10.3406/clao.2000.1573.
  • Holm, David (2003), Killing a buffalo for the ancestors: a Zhuang cosmological text from Southwest China, Northern Illinois University, ISBN 978-1-891-13425-8.
  • —— (2004), "The Old Zhuang script", ใน Diller, Anthony; Edmondson, Jerry; Luo, Yongxian (บ.ก.), The Tai-Kadai languages, Routledge, pp. 415–428, ISBN 978-0-203-64187-3.
  • —— (2013), Mapping the Old Zhuang Character Script: A Vernacular Writing System from Southern China, Brill, ISBN 978-9-004-22369-1.
  • Su, Yǒngqín 苏永勤, บ.ก. (1989), Sawndip Sawdenj / Gǔ Zhuàngzì zìdiǎn 古壮字字典 [Dictionary of old Zhuang characters] (ภาษาจีน), Nanning: Guangxi minzu chubanshe, ISBN 978-7-536-30614-1.
  • Qin Xiaohang (覃晓航) (2010), 方块壮字研究 [Research on Zhuang square characters] (ภาษาจีน), Minzu chubanshe, ISBN 978-7-105-11041-4.
  • Tai, Chung-pui (2005), Literacy practices and functions of the Zhuang character writing system (MPhil Thesis), University of Hong Kong, doi:10.5353/th_b3073066 (inactive 2024-04-12), hdl:10722/31897.{{citation}}: CS1 maint: DOI inactive as of เมษายน 2024 (ลิงก์)
  • Zhang Yuansheng (张元生) (1984), 壮族人民的文化遗产——方块壮字 [The cultural legacy of the Zhuang nationality: the Zhuang square characters], 中国民族古文字研究 [Research on the ancient scripts of China's nationalities] (ภาษาจีน), Beijing: Zhongguo shehui kexue chubanshe, pp. 455–521.
  • Zheng Yiqing (鄭貽青) (1996), 靖西壮語研究 [Research on Jingxi Zhuang] (ภาษาจีน), 中国社会科学院民族研究所.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Holm, David (2020). "The Tày and Zhuang vernacular scripts: Preliminary comparisons". Journal of Chinese Writing Systems. 4 (3): 197–213. doi:10.1177/2513850220940044. S2CID 222315681.
  • Liáng Tíngwàng 梁庭望 (ed.): Gǔ Zhuàngzì wénxiàn xuǎnzhù 古壮字文献选注 (Tiānjīn gǔjí chūbǎnshè 天津古籍出版社 1992).
  • Lín Yì 林亦: Tán lìyòng gǔ Zhuàngzì yánjiū Guǎngxī Yuèyǔ fāngyán 谈利用古壮字研究广西粤语方言. In: Mínzú yǔwén 民族语文 2004.3:16–26.
  • 覃暁航:「方塊壮字経久不絶却難成通行文字的原因」『広西民族研究』,2008年3期。

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]