อักษรเวเนติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรเวเนติกเป็นอักษรของชาวเวเนติกที่อาศัยอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือของทะเลเอเดรียนในยุคโลหะ ราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงยุคจักรวรรดิโรมัน ภาษาละตินเรียกว่า “เวเนติ” ส่วนภาษากรีกเรียก “อีนิตอย” พบจารึกของชนกลุ่มนี้มากกว่า 200 ชิ้น อักษรนี้ใกล้เคียงกับอักษรอีทรัสคัน คาดว่าน่าจะมาจากอักษรกรีกและเป็นต้นแบบของอักษรฟูทาร์ก อักษรบางตัวมีหลายรูปแบบเพราะมาจากบริเวณที่ต่างกัน เสียง /f/ ใช้อักษรคู่ hvหรือ vh ซึ่งพบในอักษรอีทรัสคันและอักษรละตินรุ่นแรกๆด้วย เขียนจากขวาไปซ้ายแต่ก็เขียนจากซ้ายไปขวาได้เช่นเดียวกันโดยอักษรที่ใช้ในแต่ละทิศทางจะเป็นรูปในกระจกเงาซึ่งกันและกัน ในบางกรณี พบการเขียนในแนวสลับ ชาวเวเนติกถูกรวมเข้ากับจักรวรรดิโรมันและเลิกใช้อักษรเวเนติไปเมื่อราว พ.ศ. 443

ใช้เขียน[แก้]

  • ภาษาเวเนติกซึ่งคาดว่าเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนแต่การจัดบ่งสาขายังไม่ลงตัว มีทั้งท่จัดให้อยู่กลุ่มอิตาลิก เจอร์มานิก อิลลีเรียน สลาวิก หรือจัดให้อยู่ในกลุ่มเฉพาะออกมา ปัญหานี้เกิดจากการรวบรวมจารึกขนาดสั้นเพื่อเปรียบเทียบรูปประโยคและคำศัพท์กับภาษาอื่นเป็นไปได้ยาก (อย่าสับสนกับภาษาเวเนติที่เป็นภาษากลุ่มสลาฟใช้ในที่ราบลุ่มแม่น้ำดานูบตอนเหนือระหว่างโปแลนด์กับยูเครน)

อ้างอิง[แก้]