อักษรอาร์วี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรอาร์วี
อาร์วี เขียนด้วยอักษรอาหรับ
ชนิดอักษรไร้สระ
ภาษาพูดทมิฬ
ช่วงยุคปัจจุบัน
สถานภาพใช้ในทางศาสนา
ระบบแม่
ระบบพี่น้องArabi Malayalam
ISO 15924Arab
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรอาร์วี หรือ อะระบุทมิฬ (อาหรับ: الْأَرْوِيَّةอัลอัรวียะฮ์, أَرْوِيอัรวี;[1] ทมิฬ: அரபுத்தமிழ் arabu-tamil) เป็นการเขียนภาษาทมิฬด้วยอักษรอาหรับ ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ ใช้โดยชนกลุ่มน้อยมุสลิมในรัฐทมิฬนาฑู และศรีลังกา ในมัดเราะซะฮ์ยังสอนอักษรอาร์วีในหลักสูตร

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า อาร์วี มาจากคำว่า 'aravam' มีความหมายตรงตัวเกี่ยวกับทมิฬ

ประวัติ[แก้]

จารึกอักษรอาร์วีที่กิลากาไร ซึ่งเป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ในอินเดีย

อักษรอาร์วีเกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างชาวอาหรับที่เดินทางมาทางทะเลกับมุสลิมที่พูดภาษาทมิฬในทมิฬนาฑู ใช้เขียนเอกสารในลัทธิศูฟี กฎหมาย ตำรายา ใช้เป็นสะพานสำหรับมุสลิมทมิฬที่จะเรียนภาษาอาหรับ[2] หนังสือของอิหม่ามชาอาฟีและอิหม่ามอาบู ฮานีฟา มีที่เขียนด้วยอักษรอาร์วีเช่นกัน มีการแปลไบเบิลซึ่งเขียนด้วยอักษรอาร์วีใน พ.ศ. 2469 อย่างไรก็ตาม งานเขียนด้วยอักษรอาร์วีสูญหายไปสองช่วงคือในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่อชาวโปรตุเกสมาถึง และในพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งมีอุตสาหกรรมการพิมพ์เผยแพร่เข้ามา ซึ่งอักษรอาร์วีเป็นอักษรที่ยากต่อการปรับให้เข้ากับการพิมพ์ ปัจจุบันอักษรอาร์วียังใช้ในกลุ่มชาวทมิฬมุสลิมในอินเดีย และชาวมัวร์ในศรีลังกา

อักษร[แก้]

อักษรพิเศษในอักษรอาร์วี

อักษรอาร์วีเป็นอักษรอาหรับที่เพิ่มอักษรเข้ามา 13 ตัว ใช้แทนเสียงสระ e และ o และพยัญชนะทมิฬหลายตัวที่ไม่ตรงกับเสียงในภาษาอาหรับ[1]

สระอาร์วีเรียงตามอักษรทมิฬ (ขวาไปซ้าย)
اَ آ اِ اِی اُ اُو ࣣا ای اَی اٗ اٗو اَو
a ā i ī u ū e ē ai o ō au
อักษรอาร์วีเรียงตามลำดับอักษรอาหรับ (ขวาไปซ้าย)
  த்த   ச்ச   ஃக ட்ட      
ا ب ت ث ج چ ح خ د ڊ ڍ ذ ض صٜ ص
ā b t j c k͟h d D T
ஃஜ         ஃப   க்க
ش س ز ڔ ر ۻ ط ظ ع غ ف ڣ ق ك
ś s z r ng ġ f p q k g
ன, ந
ل م ن ڹ ݧ ه و ي
l m n ñ h w y

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Torsten Tschacher (2001). Islam in Tamilnadu: Varia. (Südasienwissenschaftliche Arbeitsblätter 2.) Halle: Martin-Luther-Universität Halle-Wittenberg. ISBN 3-86010-627-9. (Online versions available on the websites of the university libraries at Heidelberg and Halle: http://archiv.ub.uni-heidelberg.de/savifadok/volltexte/2009/1087/pdf/Tschacher.pdf and http://www.suedasien.uni-halle.de/SAWA/Tschacher.pdf).
  2. 216 th year commemoration today: Remembering His Holiness Bukhary Thangal Sunday Observer – January 5, 2003. Online version เก็บถาวร 2012-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน accessed on 2009-08-14
  • Shu’ayb, Tayka. Arabic, Arwi and Persian in Sarandib and Tamil Nadu. Madras: Imāmul 'Arūs Trust, 1993.
  • Yunush Ahamed Mohamed Sherif ARABUTTAMIL/ARWI: THE IDENTITY OF THE TAMIL MUSLIMS TJPRC Publication.
  • Dr. K. M. A. Ahamed Zubair. The Rise and Decline of Arabu–Tamil Language for Tamil Muslims IIUC STUDIES, 2014
  • DR. S.M.M Mazahir. அறபுத் தமிழும் அறபுத்தமிழ் ஆக்கங்களும் 2018

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]