อักษรอยามี
อักษรอยามี ( Ajami: อาหรับ: عجمي ʿaǧamī )หรืออยามิยะห์ (อาหรับ: عجمية ʿaǧamiyyah), เป็นชื่อของอักษรชนิดหนึ่งโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับหมายถึงต่างชาติ เป็นการนำอักษรอาหรับมาใช้เขียนภาษาในกลุ่มภาษาแอฟริกา โดยเฉพาะภาษาฮัวซาและภาษาสวาฮิลี ภาษากลุ่มแอฟริกามีระบบสัทวิทยาต่างจากภาษาอาหรับทำให้มีการปรับอักษรอาหรับเพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น ด้วยระบบที่ต่างไปจากอักษรอาหรับที่ใช้ในกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาอาหรับในตะวันออกกลาง [1]
ภาษาฮัวซาในแอฟริกาตะวันตกเป็นตัวอย่างของภาษาที่ใช้อักษรอยามี โดยเฉพาะในช่วงก่อนเป็นอาณานิคม เมื่อมีโรงเรียนสอนอัลกุรอ่านให้แก่เยาวชนมุสลิม และได้สอนอักษรอยามีด้วย เมื่อเจ้าอาณานิคมตะวันตกได้พัฒนาระบบการเขียนภาษาฮัวซาด้วยอักษระลตินหรือโบโก การใช้อักษรอยามีได้ลดลง และปัจจุบันใช้น้อยกว่าอักษรละติน แต่ยังใช้อยู่มากในงานทางด้านศาสนาอิสลาม การใช้อักษรอยามีกับภาษาอื่นในประเทศมุสลิมพบได้ทั่วไป[2]
อักษรอยามีสำหรับภาษาฮัวซา[แก้]
ภาษาฮัวซาเขียนด้วยอักษรอยามีตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ไม่มีระบบมาตรฐานสำหรับอักษรอยามี และผู้เขียนต่างคนกันใช้ตัวอักษรต่างกัน สระเสียงสั้นแสดงด้วยเครื่องหมายสระซึ่งมีใช้น้อยในอักษรอาหรับที่ไม่ได้ใช้เขียนอัลกุรอ่าน เอกสารลายมือเขียนภาษาฮัวซายุคกลางจำนวนมากคล้ายกับเอกสารทิมปุกตูที่เขียนด้วยอักษรอยามี [3] ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอักษรอยามีสำหรับภาษาฮัวซา
อักษรละติน | IPA | อักษรอยามี |
---|---|---|
a | a | ـَ |
a | aː | ـَا |
b | b | ب |
ɓ | ɓ | ب (เหมือนกับ b), ٻ (ไม่ใช้ในภาษาอาหรับ) |
c | tʃ | ث |
d | d | د |
ɗ | ɗ | د (เหมือนกับ d), ط (ใช้กับเสียง ts ด้วย) |
e | e | تٜ (ไม่ใช้ในภาษาอาหรับ) |
e | eː | تٰٜ (ไม่ใช้ในภาษาอาหรับ) |
f | ɸ | ف |
g | ɡ | غ |
h | h | ه |
i | i | ـِ |
i | iː | ـِى |
j | /(d)ʒ/ | ج |
k | k | ك |
ƙ | kʼ | ك (เหมือนกับ k), ق |
l | l | ل |
m | m | م |
n | n | ن |
o | o | ـُ (เหมือนกับ u) |
o | oː | ـُو (เหมือนกับ u) |
r | r, ɽ | ر |
s | s | س |
sh | ʃ | ش |
t | t | ت |
ts | /(t)sʼ/ | ط (ใช้กับ ɗด้วย), ڟ (ไม่ใช้ในภาษาอาหรับ) |
u | u | ـُ (เหมือนกับ o) |
u | uː | ـُو (เหมือนกับ o) |
w | w | و |
y | j | ی |
z | z | ز ذ |
ʼ | ʔ | ع |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ [1]
- ↑ Donaldson, Coleman. 2013. Jula Ajami in Burkina Faso: A grassroots literacy in the former Kong empire. Working Papers in Educational Linguistics 28.2: 19-36.
- ↑ http://www.saudiaramcoworld.com/issue/201105/from.africa.in.ajami.htm