อักษรมายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรมายา
หน้า 6, 7 และ 8 ของเดรสเดินโคเดกซ์ แสดงตัวอักษร ตัวเลข และภาพที่มักมีส่วนกับระบบการเขียนมายา
ชนิดตัวหนังสือคำ
ภาษาพูดตระกูลภาษามายา
ช่วงยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช – คริสต์ศตวรรษที่ 16
ช่วงยูนิโคดไม่มี
(tentative range U+15500–U+159FF)
ISO 15924Maya
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรมายา (อังกฤษ: Maya script) หรือ รูปอักขระมายา (Maya glyphs) เป็นระบบการเขียนในอดีตของอารยธรรมมายาในมีโซอเมริกาและเป็นระบบการเขียนมีโซอเมริกาอันเดียวที่มีการถอกรหัสแล้ว จารึกแรกสุดที่ถูกบันทึกเป็นอักษรมายาอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชที่ซันบาร์โตโล ประเทศกัวเตมาลา[1][2] อักษรมายายังคงมีผู้ใช้งานทั่วมีโซอเมริกาจนกระทั่งการพิชิตมายาของสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17

อักษรมายาใช้ตัวหนังสือคำที่เติมเต็มด้วยชุดรูปอักขระพยางค์ ซึ่งคล้ายกับระบบในอักษรญี่ปุ่นสมัยใหม่ นักสำรวจชาวยุโรปยุคแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 เคยเรียกอักษรมายาเป็น "ไฮเออโรกลีฟ" เพราะพบว่ามีรูปร่างทั่วไปที่ทำให้นึกถึงไฮเออโรกลีฟอียิปต์ ถึงแม้ว่าทั้งสองระบบการเขียนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ก็ตาม

ถึงแม้ว่าตระกูลภาษามายาสมัยใหม่เกือบทั้งหมดเขียนด้วยอักษรละตินมากกว่าอักษรมายา[3] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาและส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูรูปอักขระมายาแบบดั้งเดิม

การค้นพบ[แก้]

อักษรมายารุ่นแรกที่พบอายุราว พ.ศ. 293 แต่อาจพัฒนามาก่อนหน้านี้ การค้นพบของนักโบราณคดีในปัจจุบันพบว่า อารยธรรมมายาน่าจะเริ่มต้นราว 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช ราว พ.ศ. 2109 บิช็อปคนแรกแห่งยูกาตัน ดีโก เด ลันดา เรียบเรียงวิธีเขียนภาษามายาด้วยอักษรละตินแบบสเปน 27 ตัว และรูปอักษรมายาที่มีเสียงเดียวกัน เป็นที่รู้จักในเวลาต่อมาว่าอักษรลันดา และช่วยในการถอดความจารึกภาษามายา

นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอักษรมายาไม่ใช่ระบบการเขียนที่สมบูรณ์ ต่อมา พ.ศ. 2493 นักชาติพันธุ์วิทยาชาวรัสเซีย ยูริ วาเลนติโนวิช คโนโรซอฟ (Yuri Valentinovich Knorosov) เสนอว่า อักษรมายาใช้เขียนภาษามายายูคาแทซ แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก จนช่วง พ.ศ. 2513 – 2532 มีความก้าวหน้าในการถอดความมากขึ้น จนส่วนใหญ่สามารถอ่านได้แล้วในปัจจุบัน

ลักษณะ[แก้]

ข้อความภาษามายาส่วนใหญ่มักเขียนเป็นแนวตั้งกว้างสองรูปอักษร โดยแต่ละคู่แนวตั้งจะอ่านจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง

อักษรมายามี 550 ตัว (แทนคำทั้งคำ) และ 150 ตัวแทนพยางค์ 100 ตัวแทนชื่อสถานที่และชื่อเทพเจ้า ราว 300 ตัวใช้โดยทั่วไป ตัวอย่างของอักษรพบตามจารึกหินและเขียนบนเปลือกไม้ เครื่องปั้นดินเผา และเอกสารบางส่วนในกัวเตมาลา เม็กซิโก และภาคเหนือของเบลีซ หลายพยางค์เขียนด้วยรูปอักษรมากกว่า 1 ตัว เขียนในคอลัมน์คู่ อ่านจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างในแนวซิกแซ็ก

พยางค์[แก้]

พยางค์มักอยู่ในรูปพยัญชนะ + สระ โดยแนวนอนข้างบนประกอบด้วยรูปสระ ส่วนแนวตั้งซ้ายเป็นรูปพยัญชนะที่มีวิธีการออกเสียง รูปอะพอสทรอฟี (') แสดงเป็นเสียงหยุด เส้นเสียง รูปอักขระในช่องตารางเดียวกันมีรูปเขียนแตกต่างกัน ช่องว่างคือส่วนที่ยังไม่ทราบรูปอักขระ[4]

a e i o u
b’
ch
/tš/
ch’
h
/h/
j
/x/
k
k’
l
m
n
p
s
t
t’
tz
/ts/
tz’
w
x
/š/
y
/j/
a e i o u

ตัวอย่าง[แก้]

จากสุสานของKʼinich Janaabʼ Pakal:

maya exx
maya exx
ทับศัพท์
แถว รูปอักขระ เสียงอ่าน
I J I J
4 ya k’a wa ʔu(?) K’UH hu lu yak’aw ʔuk’uhul
5 PIK 1-WINAAK-ki pik juʔn winaak
6 pi xo ma ʔu SAK hu na la pixoʔm ʔusak hunal
7 ʔu-ha YAX K’AHK’ K’UH? ʔuʔh Yax K’ahk’ K’uh?
8 ʔu tu pa K’UH? ? ʔutuʔp k’uh(ul)? ...l
9 ʔu KOʔHAW wa ?[CHAAK] ...m ʔukoʔhaw Chaahk (‘GI’)
10 SAK BALUʔN - Sak Baluʔn -

ข้อความ: Yak’aw ʔuk’uhul pik juʔn winaak pixoʔm ʔusak hunal ʔuʔh Yax K’ahk’ K’uh(?) ʔutuʔp k’uh(ul)? ...l ʔukoʔhaw Chaahk (‘GI’) Sak Baluʔn.
แปล: «เขาประทานเครื่องแต่งกายแก่เทพเจ้า [ประกอบด้วย] เครื่องสวมศีรษะยี่สิบเก้าอัน, ริบบิ้นสีขาว, สร้อยคอ, ต่างหูของเทพแห่งไฟองค์แรก และหมวกตราทรงสี่เหลี่ยมของเทพเจ้า ให้แก่ Chaahk Sak-Balun»

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. K. Kris Hirst (6 January 2006). "Maya Writing Got Early Start". Science.
  2. "Symbols on the Wall Push Maya Writing Back by Years". The New York Times. 2006-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-05-12.
  3. Breaking the Maya Code 2008.
  4. Pitts, Mark (2008). "Writing in Maya Glyphs: Names, Places, & Simple Sentences : A Non-Technical Introduction to Maya Glyphs" (PDF). FAMSI. pp. s. 16–22.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]