อักษรขอมไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรขอมไทย
อักษรขอมไทยในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดบาลี, สันสกฤต, เขมร และไทย
ช่วงยุคประมาณ ค.ศ. 1400 - ปัจจุบัน[1]
ระบบแม่
ระบบพี่น้องสุโขทัย
[a] ต้นกำเนิดเซมิติกของอักษรพราหมียังไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรขอมไทย เป็นอักษรพราหมีรูปแบบหนึ่งที่ใช้เขียนในประเทศไทยและลาว[2] ซึ่งใช้เขียนภาษาบาลี, สันสกฤต และไทย อักษรดังกล่าวนี้สามารถพบได้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ตำรายา ตำราคาถาอาคม รูปยันต์ต่าง ๆ โดยมากปรากฏในแถบภาคกลาง และอาจพบได้บ้างในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ในอดีต อักษรนี้มีชื่อว่า อักษรขอม[3] คำว่า ขอม มีความหมายว่าเขมรหรือกัมพูชา[4]

พยัญชนะ[แก้]

พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต

วรรค กะ




วรรค จะ




วรรค ฏะ




วรรค ตะ




วรรค ปะ




เศษวรรค









อักษรไทย อักษรขอมไทย และเลขไทย ตีพิมพ์ในสารานุกรมของดิเดอโรต์และดาลองแบรท์ (ภาพต้นฉบับมาจากหนังสือ Du Royaume de Siam ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1691) อักษรขอมไทยในหน้านี้จัดไว้ในหัวข้อ Alphabet Bali (อักขระบาลี) แสดงรูปอักษรและการแจกลูกตัวสะกดตามอักขรวิธีขอมไทย

รูปพยัญชนะอักษรขอมไทยน้อยกว่าอักษรไทย 9 ตัว โดยรูปพยัญชนะที่ขาดไป 9 ตัว คือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ และ ฮ ซึ่งการเขียนคำที่มีพยัญชนะที่ขาดไปเป็นดังนี้

  • ตัว ด ใช้ หรือ แทน เช่น ไฑ หรือ ไต = ได้, เฑากไม่ หรือ เตากไม่ = ดอกไม้
  • ตัว ฝ ใช้ แทน เช่น ผี อาจหมายถึง ผี หรือฝี ขึ้นกับบริบท
  • ตัว ซ ใช้ หรือ เช่น ฌืตฺรง = ซื่อตรง, แลวใส้ย = แล้วไซร้
  • ตัว บ และ ฟ นิยมนำรูปตัว (ป) ของอักษรขอมมาเขียนแทน บ และเพิ่มหางขึ้นไปเป็นรูป ตัว (ป) ส่วนตัว ฟ ใช้รูปตัว (พ) ของอักษรขอมมาเติมหางเช่นกันเป็นรูป (ฟ) แต่ในหลายกรณี รูปตัว ของอักษรขอมทั้งที่มีหางและไม่มีหางมักใช้ปะปนกัน บางครั้งแทนเสียง ป บางครั้งแทนเสียง บ เช่น เบน หรือ เปน = เป็น, ไฟเผา = ไฟเผา
  • รูปตัว ฝ ใช้อักษรขอม ตัว เติมหางเช่นเดียวกับตัว ฟ เช่น ฟาย = ฝ่าย
  • ตัว ฃ ฅ ฎ ฮ ไม่มีที่ใช้ โดยใช้ และ แทน

พยัญชนะทุกตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด ในกรณีของอักษรนำและตัวควบกล้ำ ตัวแรกใช้รูปตัวเต็ม ตัวต่อไปใช้รูปตัวเชิง

ตัวสะกด มี/ร[แก้]

นิยมเขียนด้วยรูปตัวเชิงใต้พยัญชนะต้นหรือสระ เว้นแต่พยัญชนะมีรูปสระหรือตัวควบกล้ำอยู่ข้างล่างอยู่แล้วจึงใช้รูปตัวเต็ม

สระ[แก้]

พระราชลัญจกรพระบรมราชโองการสำหรับพิมพ์หัวกระดาษประกาศกฎหมายต่าง ๆ แบบที่ใช้ในช่วงก่อน พ.ศ. 2483 ข้อความในแพรแถบตอนล่างสุดเป็นอักษรขอมข้อความ "พฺระบรมฺมราชโองฺการ"

แบ่งเป็นสระลอยกับสระจม รูปสระลอยใช้เขียนคำที่มีเสียง อ มีทั้งหมด 8 ตัว ได้แก่


อะ

อา

อิ

อี

อุ

อู

เอ

โอ

รูปสระจมหรือประสมคล้ายกับอักษรไทยปัจจุบัน ที่ต่างไปมีดังนี้

  • สระเอีย - นิยมเขียนด้วยตัวเชิงของตัว เช่น ดฺยว = เดียว หรือใช้ทั้งสระ เอ + อิ (อี) + ตัวเชิงของ เช่น เสิย = เสีย
  • สระเอือ - มีทั้งแบบที่ใช้รูปสระ เอ + อิ + อ เช่น เพิอ = เพื่อ และ เอ + อิ (อื) + ตัวเชิงของ เช่น เงื่อน = เงื่อน
  • สระเออ - ใช้สระ เอ กับตัวเชิงของ เมื่อไม่มีตัวสะกด เช่น เธอ = เธอ และใช้สระเอ + อี + ตัวเชิงของ เมื่อมีตัวสะกด เช่น เตีอม = เติม หรือตัดตัวเชิงของ ใช้ตัวเชิงของตัวสะกดแทน
  • สระอัว - ใช้ ไม้หันอากาศกับตัวเชิงของ เมื่อไม่มีตัวสะกด หรือใช้ตัวเชิงของ อย่างเดียวเมื่อมีตัวสะกด เช่น ตฺวฺย = ด้วย

วรรณยุกต์[แก้]

รูปวรรณยุกต์ของอักษรขอมไทยมีความคล้ายกับวรรณยุกต์ของอักษรไทย[5] โดยมีการใช้งานไม่แน่นอนมีทั้งที่ไม่เติมวรรณยุกต์ ใช้รูปวรรณยุกต์ต่างจากปัจจุบัน หรือใช้เหมือนกัน

ไม้หันอากาศ[แก้]

มีทั้งเขียนบนพยัญชนะต้นและตัวสะกด บางครั้งไม่ใช้ไม้หันอากาศแต่เพิ่มตัวสะกดเป็น 2 ตัวแทน เช่น วนฺน = วัน, ทงั = ทั้ง

การนำเข้าคอมพิวเตอร์[แก้]

อักษรขอมไทยยังไม่ได้รับการบรรจุลงในยูนิโคด แต่สามารถใช้อักษรไทยแสดงรูปอักษรขอมไทยได้

ฟาริดา วิรุฬหผลได้ออกแบบฟอนต์อักษรขอมไทยสามแบบเพื่อวัตถุประสงค์ในการสอน ฟอนต์เหล่านี้สามารถทำให้ผู้พิมพ์อักษรไทยคุ้นเคยกับอักษรขอมไทยเร็วขึ้น[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Virunhaphol 2017, pp. 154.
  2. Igunma 2013, pp. 1.
  3. Igunma, Jana. "AKSOON KHOOM: Khmer Heritage in Thai and Lao Manuscript Cultures". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. "ขอม - Thai / English dictionary meaning - ขอม ภาษาอังกฤษ แปล ความหมาย". www.thai2english.com. สืบค้นเมื่อ 2021-12-14.
  5. Virunhaphol 2017, pp. 136.
  6. Virunhaphol 2017, pp. 111.

ข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]