ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลพีเอสยู สุราษฎร์ธานี ซิตี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีเอสยู สุราษฎร์ธานี ซิตี้
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลพีเอสยู สุราษฎร์ธานี ซิตี้
PSU Surat Thani City Football Club
ฉายาตะพัดพิฆาต
ก่อตั้ง2010; 14 ปีที่แล้ว (2010) (ในชื่อ กบินทร์บุรี)
2016; 8 ปีที่แล้ว (2016) (ในชื่อ สินธนา กบินทร์บุรี)
2017; 7 ปีที่แล้ว (2017) (ในชื่อ สุราษฎร์ธานี ซิตี้)
2021; 3 ปีที่แล้ว (2021) (ในชื่อ เอ็มเอชคอน สุราษฎร์ฯ ซิตี้)
2022; 2 ปีที่แล้ว (2022) (ในชื่อ เวียงสระ สุราษฎร์ฯ ซิตี้)"
2024; 0 ปีที่แล้ว (2024)
(ในชื่อพีเอสยู สุราษฎร์ธานี ซิตี้)
สนามสนามกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
ประธานพรพรรณ ตันสุเภาว์
ผู้จัดการศุภวิชญ์ ฤทธิสมาน
ผู้ฝึกสอนอธิษฐาน คงทรัพย์
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนภาคใต้, อันดับที่ 6

สโมสรฟุตบอลพีเอสยู สุราษฎร์ธานี ซิตี้ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3โซนภาคใต้ โดยใช้สนามกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเป็นสนามเหย้า

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลพีเอสยู สุราษฎร์ธานี ซิตี้ เดิมใช้ชื่อ กบินทร์บุรี เอฟซี ฉายา หนุมานชนะศึก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เป็นหนึ่งในสามของสโมสรที่เข้าร่วมโครงการนำร่อง 2 ทีม ต่อ 1 จังหวัด นอกเหนือไปจาก เชียงราย เอฟซี และ หาดใหญ่ เอฟซี ในส่วนของสัญลักษณ์สโมสรนั้น ได้มีการใช้หนุมาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และใช้สนามน้อมเกล้ามหาราชเป็นสนามเหย้า และได้เข้าร่วมการแข่งขันลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ภาคกลางและตะวันออก เป็นครั้งแรก ในปีเดียวกัน โดยใช้ผู้เล่นที่เป็นเยาวชนในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี โดยมีผู้สนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานท้องถิ่น ผู้ใหญ่ในพื้นที่ พ่อค้า และประชาชน ในพื้นที่และใกล้เคียง

ปี 2555 สโมสรได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ กบินทร์ ซิตี้ และในฤดูกาลนั้นเอง กบินทร์ ซิตี้ จบฤดูกาลในอันดับที่ 18 (จากทั้งหมด 18 ทีม) ลงเล่น 34 นัด ชนะ 1 นัด เสมอ 5 นัด และแพ้ 28 นัด มี 8 คะแนน ทำประตูได้ 16 ประตู เสียไป 84 ประตู

ปี 2556 สโมสรฟุตบอลกบินทร์ ซิตี้ ได้พักทีมไป และต่อมาได้มีข้อพิพาทเรื่องสิทธิ์การทำทีมกับ สโมสรฟุตบอลกบินทร์บุรี ยูไนเต็ด โดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ยืนยันว่า สโมสรฟุตบอลกบินทร์บุรี ยูไนเต็ด และสโมสรฟุตบอลกบินทร์ ซิตี้ เป็นคนละสิทธิ์กัน[1]

ปี 2559 สโมสรได้กลับมาแข่งขันอีกครั้ง ในชื่อ สโมสรสินธนา กบินทร์บุรี เอฟซี ในศึกเอไอเอสลีก ดิวิชั่น2 โซนกรุงเทพตะวันออก

ปี 2560 ฝ่ายจัดการแข่งขันได้มีการจัดระบบลีกใหม่[2] สโมสรจึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลสุราษฎร์ธานี ซิตี้ และย้ายลงมาทำการแข่งขันใน ไทยลีก 4 โซนภาคใต้

สนามและที่ตั้ง

[แก้]
พิกัด ที่ตั้ง สนาม ความจุ ปี
8°37′59″N 99°22′30″E / 8.633091°N 99.374869°E / 8.633091; 99.374869 อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนามกีฬาเทศบาลตำบลเวียงสระ 2,000 พ.ศ. 2560 - พ.ศ.2567
9.087164°N 99.326772°E อำเภอเมือง

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สนามกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 5,000 พ.ศ.

2567

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
เอ็มเอชคอน สุราษฎร์ฯ ซิตี้
2564–65 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 24 12 4 8 28 18 40 อันดับที่ 5 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง มาลี อาเรอมูว์ กาซิม 8
เวียงสระ สุราษฎร์ฯ ซิตี้
2565–66 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 22 6 7 9 24 28 25 อันดับที่ 8 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม ไทย กฤษฎา จารุจารีต 4
2566–67 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 22 10 2 10 31 32 32 อันดับที่ 6 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง รอบคัดเลือกรอบสอง ไทย ณัฐวุฒิ เอี่ยมจันทร์ 10
2567–68 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ รอบแรก
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย เอกชัย เหร็มเหมาะ
2 DF บราซิล ฌูซีมาร์ ตีอากู ดา ซิลวา
5 DF ไทย สิรภพ ตาลประสิทธิ์
6 MF ไทย สมศักดิ์ ศรีรอด
7 FW ไทย สุทธิพงษ์ ใยฝ้าย
8 MF ไทย ธีรพัฒน์ เกิดกุญชร
9 MF ไทย วรวุฒิ ศรีสวัสดิ์
10 FW ไทย ณัฐวุฒิ เอี่ยมจันทร์
13 MF ไทย ลิ้มสกุล อภิปรัชญาพงศ์
16 DF ไทย พงศธร เกิดอุดม
17 FW ไทย ศุภกฤต สุภาพ
18 MF ไทย รัฐภูมิ สุกรี
19 FW ไทย กฤษฎา จารุจารีต
20 MF มาลี อาเรอมูว์ กาซิม
22 GK ไทย เกษมสันต์ ชัยภักดี
27 DF ไทย วรวุฒิ ทองน้ำแก้ว
28 MF ไทย อำนวย เนื้ออ่อน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
29 DF ไทย พงษ์พันธ์ ศรีเกตุ
30 DF ไทย ธนกร เพชรคง
31 MF ไทย อนุชา พุทธิชนม์
32 DF ไทย ธีรภัทร์ แก้วประถม
33 MF ไทย ธีรพล หัสตุด
35 DF ไทย สราวุธ ชิตไทย (กัปตันทีม)
36 FW ไทย ธนาคิม เขตนคร
37 DF ไทย พลพัฒน์ จันทร์แก้วเดช
38 DF ไทย ภูมิพัฒน์ ทองปานดี
39 MF ไทย กิตติศักดิ์ แก้วพรหม
40 DF ไทย ปัณณวัฒน์ สุวรรณเสน
41 GK ไทย นเรนทร์ฤทธิ์ หรีดวา
42 DF ไทย ศุภชัย จันทร์รอด
43 FW ไทย ธีรวัฒน์ ดิ้นเมือง
45 GK ไทย อภิเดช โชติช่วง
47 MF ไทย วุฒิชัย สุภาพ
66 MF ไทย นัฐกิจ แก้วผุดผ่อง

บุคลากร

[แก้]

ทีมงานบริหาร

[แก้]
ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง
พงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว ไทย ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
ปรเมษฐ์ จินา ไทย ที่ปรึกษา
คนองศิลป์ ชิตรกุล ไทย ที่ปรึกษา
ประยูรศักดิ์ รัตนะ ไทย ที่ปรึกษา
สุรพิน สรรพคง ไทย ที่ปรึกษา
เจิม อินทรกุล ไทย ที่ปรึกษา
พรพรรณ ตันสุเภาว์ ไทย ประธานสโมสร
ศุภชัย ฤทธิสมาน ไทย รองประธานสโมสร
ประภาศรี นิธโยทัย ไทย ผู้จัดการทั่วไป
ศุภวิชญ์ ฤทธิสมาน ไทย ผู้จัดการทีม

ทีมงานผู้ฝึกสอน

[แก้]
ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง
สันติสุข ไชยศล ไทย ประธานเทคนิค
อธิษฐาน คงทรัพย์ ไทย หัวหน้าผู้ฝึกสอน
จิรศักดิ์ ลิ่มโป ไทย ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
อัครินทร์ อินทรกุล ไทย ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
สาโรจน์ โพธิ์มี ไทย ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
กฤษฎา พัฒนประดิษฐ์ ไทย ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
ปริญญา จันทร์เพชร ไทย ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
เอกชัย เหร็มเหมาะ ไทย ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู
ศราวุทธ ประสานการ ไทย นักวิทยาศาสตร์การกีฬา

สถิติต่าง ๆ ของสโมสร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ด่วน! กบินทร์ ซิตี้ ร้องศาลปกครองคุ้มครองหลัง กบินทร์ ยูฯ ได้สิทธิ์หวดดี 2 วันนี้
  2. OFFICIAL : ส.บอลพลิกโฉมไทยลีกใหม่ เปลี่ยนโลโก้,ชื่อลีก,เพิ่มโควต้าอาเซียน
  3. "มันแน่!เมืองทองบู๊ท่าเรือ16ทีมเอฟเอคัพ บุรีรัมย์-เชียงรายงานเบา". siamsport.co.th. 21 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]