สโมสรฟุตบอลกำแพงเพชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำแพงเพชร เอฟซี
Kamphaengphet FC
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลกำแพงเพชร
ฉายานักรบชากังราว
(Cha Kung Rao Warriors)
ชื่อย่อKPPFC
ก่อตั้งพ.ศ. 2552
สนามสนามกีฬาชากังราว ริมปิง
เจ้าของบริษัท กำแพงเพชร ฟุตบอลคลับ จำกัด
ประธานไทย เสกสรร ศิริพงษ์
ผู้ฝึกสอนไทย ศักดินันท์ มากเมือง
ลีกไทยลีก 3
2565–66ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ, อันดับที่ 9
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลกำแพงเพชร เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในระดับไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ

ประวัติ[แก้]

กำแพงเพชร เอฟซี ถือกำเนิดจากความตั้งใจในการพัฒนาฟุตบอลบ้านเกิดของ เศกสรร ศิริพงษ์ อดีตนักฟุตบอลชาวกำแพงเพชร ที่เคยค้าแข้งกับ สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ และ บีอีซี เทโรศาสน

โดยเริ่มจากการจัดโครงการสอนฟุตบอลแก่เด็กในท้องถิ่น เมื่อปี พ.ศ. 2542 ก่อนก้าวสู่บทบาทผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลจังหวัดกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2545

ปี 2552 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ประกาศเปิดรับทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เศกสรรมองเห็นโอกาสในการพัฒนาฟุตบอลกำแพงเพชรสู่ระดับอาชีพ จึงลาออกจากทีมฟุตบอลจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อก่อตั้ง กำแพงเพชร เอฟซี ทีมฟุตบอลระดับอาชีพขึ้นมา แต่ยังไม่ทันได้ลงสนาม กำแพงเพชร เอฟซี กลับพบกับปัญหาเรื่องงบประมาณทำทีม เนื่องจากได้เงินสนับสนุนจากทางจังหวัดเพียง 2 หมื่นบาท สโมสรจำเป็นต้องระมัดระวังค่าใช้จ่ายทุกด้าน จึงไม่สามารถหานักเตะฝีมือดีเข้าสู่ทีมตามต้องการ เศกสรร จึงคัดเลือกเยาวชนที่มีใจรักฟุตบอลในจังหวัดกำแพงเพชร เข้ามาเป็นนักเตะของสโมส กำแพงเพชร เอฟซี ใช้นักเตะชาวกำแพงเพชร 35 คน ลงแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2552 โซนภาคเหนือ จบอันดับ 8 ของตาราง รอดตกชั้นตามเป้าหมาย

ในฤดูกาลถัดมา ทีมนักรบชากังราว จึงมีงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้านบาท และสามารถดึงนักเตะต่างชาติเข้าสู่ทีม แต่ถึงกระนั้น เศกสรร ยังคงยึดมั่นนโยบายการใช้นักเตะที่พัฒนาจากเยาวชนในท้องถิ่น เนื่องจากมองว่า เป็นการพัฒนาสโมสรอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยไม่ใช้เงินไปกับการซื้อนักเตะเข้าค่าตัวแพงเข้าสู่ทีม ซึ่งยังคงเป็นแนวทางของ กำแพงเพชร เอฟซี จนถึงปัจจุบัน[1]

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ณัฐนันท ปั้นคล้าย
2 DF ไทย ญาณวัตน์ ราตบุตร
3 MF ไทย กษิดิศ พันธุ์ณรงค์
5 DF ญี่ปุ่น ยูซูเกะ ซูซูกิ
6 DF ไทย ธีรวัฒน์ วราฤทธิวงศ์
7 FW ไทย สุรเดช จันทะเพชร
8 MF ไทย ธีรพงษ์ โสภา
9 MF ไทย ยอดพล มะโนจิตต์
10 FW ไทย กวิน นวนทัด
11 FW ไทย ปุญญพัฒน์ อุทา
12 FW ไทย อภิเชฐ ราญมีชัย
13 DF ไทย อธิภัทร แสงประกาย
15 FW ไทย ณัฐวุฒิ กล่ำเจริญ
16 MF ไทย ฉัตรกวี มณีโชติ
17 DF ไทย วิโรจน์ มาน้อย
18 GK ไทย จิรศักดิ์ คุณพันธ์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 DF ไทย รัฐพงษ์ โอชารส
22 MF ไทย ศุภชัย น้อยพันธ์
23 MF ญี่ปุ่น ยูโตะ โยชิจิมะ
26 MF ไทย วรเมธ รูปงาม
27 FW ไทย พงษ์เพชร การเกตุ
28 MF ไทย สุขสันต์ แสงคำ
29 DF ไทย ปิติพัฒน์ จันทร์คำ
30 MF ไทย นารายณ์ วงค์จิ๋ว
31 DF ไทย แพททริก เอ็ดคินสัน
33 FW ไทย ขวัญชัย บุญประคม
45 FW ญี่ปุ่น มาซายะ ทาฮาระ
47 DF ไทย ธนภัทร ขิงสันเทียะ
54 MF ไทย จักรินทร์ ลีนาราช
55 GK ไทย พงษ์ศิริ ศิริพงษ์
78 FW ไทย รัชชานนท์ ใจแสน

ผู้ฝึกสอน[แก้]

ตำแหน่ง ชื่อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ไทย เสกสรร ศิริพงษ์
ผู้ฝึกสอนการรักษาประตู ไทย เสกสรร ศิริพงษ์
ผู้ฝึกสอนเยาวชน ไทย เสกสรร ศิริพงษ์

ผู้บริหาร[แก้]

ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย เสกสรร ศิริพงษ์
ผู้จัดการทีม ไทย เสกสรร ศิริพงษ์

ผลงาน[แก้]

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2563–64 ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ 15 3 4 8 11 22 13 9 รอบ 64 ทีมสุดท้าย ยกเลิกการแข่งขัน
2564–65 ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ 22 4 7 7 11 18 35 9 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ ไทย ปุญญพัฒน์ อุทา 5
2565–66 ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ 22 5 5 12 20 34 20 9 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง ประเทศพม่า กองเทะโซ 6
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

สถิติ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]