สโมสรฟุตบอลอินเตอร์ แบงค็อก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลอินเตอร์ แบงค็อก เอฟซี Inter Bangkok Football Club | |||
---|---|---|---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2558 - 2560 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลบียู เดฟโฟ พ.ศ. 2561 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลเดฟโฟ พ.ศ. 2562 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด พ.ศ. 2563 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลอินเตอร์ แบงค็อก | |||
สนาม | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย (ความจุ: 5,000 ที่นั่ง) | |||
ประธานสโมสร | ณัฏฐสิทธิ์ พงษ์เพชร | |||
ผู้จัดการทีม | จุฑามาศ บุญสมภพ | |||
ผู้ฝึกสอน | เอกพจน์ ไชยเลิศ | |||
ลีก | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล | |||
2562 | อันดับที่ 11 โซนกรุงเทพและปริมณฑล | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
สโมสรฟุตบอลอินเตอร์ แบงค็อก เอฟซี (อังกฤษ: Inter Bangkok Football Club) หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ก่อตั้งสโมสรในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งอดีตสโมสรเคยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอล บียู เดฟโฟ และ สโมสรฟุตบอลเดฟโฟ ตามลำดับ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล และใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา เป็นสนามเหย้า
ประวัติสโมสร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลบียู เดฟโฟ โดยเป็นทีมฟุตบอลที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ บริษัท เดฟโฟ สปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬาชั้นนำ โดยมีนายพีระพันธ์ เครือคงคา เป็นประธานสโมสร และใช้ผู้เล่นจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นหลัก โดยเริ่มส่งทีมลงแข่งขันครั้งแรกใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2558 กลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง
สโมสรลงแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 กลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง โดยบุกไปเสมอ สโมสรฟุตบอลปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด 1–1 ที่สนามพัฒนาสปอร์ตคลับ ก่อนที่จะพบกับชัยชนะในลีกเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ในนัดที่บุกไปชนะ ทหารบก เอฟซี ที่ สนามกีฬากองทัพบก 1–0 โดยการแข่งขันฤดูกาลแรกของสโมสรจบด้วยอันดับที่ 12 ในกลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง
หลังจากที่สโมสรฟุตบอลเดฟโฟตกชั้นจากไทยลีก 3ในฤดูกาล 2561 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็นรังสิต ยูไนเต็ด และย้ายสนามเหย้ามาใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา[1]
ตราสโมสร[แก้]
- Inter Bangkok, 2020.png
ฤดูกาล 2563- (สโมสรอินเตอร์ แบงค็อก)
สนามแข่งขัน[แก้]
ปัจจุบันสโมสรใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นสนามเหย้า โดยเป็นสนามกีฬาที่มีมาตรฐานอยู่ในการกำกับดูแลของกรมพลศึกษา
ผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
เจ้าหน้าที่สโมสร[แก้]
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
สนามเหย้า[แก้]
พิกัด | ที่ตั้ง | สนาม | ความจุ (ที่นั่ง) | ปี |
---|---|---|---|---|
14°02′19″N 100°36′08″E / 14.038739°N 100.602272°E | ตำบลคลองหนึ่ง, อำเภอคลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี | ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต | 4,000 | กุมภาพันธ์ 2558 – กันยายน 2560 |
13°53′03″N 100°34′37″E / 13.884179°N 100.576941°E | แขวงทุ่งสองห้อง, เขตหลักสี่, กรุงเทพมหานคร | สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ | 5,430 | กุมภาพันธ์ 2561 – พฤษภาคม 2561 |
14°02′19″N 100°36′08″E / 14.038739°N 100.602272°E | ตำบลคลองหนึ่ง, อำเภอคลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี | ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต | 4,000 | มิถุนายน 2561 – ตุลาคม 2561 |
14°01′41″N 100°43′34″E / 14.028077°N 100.726096°E | ตำบลรังสิต, อำเภอธัญบุรี, จังหวัดปทุมธานี | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา | 5,000 | กุมภาพันธ์ 2562 ถึงปัจจุบัน |
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอ คัพ | ลีก คัพ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | ลงแข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ยิงได้ | เสียประตู | ผลต่างประตู | แต้ม | อันดับ | |||
2558 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | 26 | 5 | 11 | 10 | 38 | 40 | –2 | 26 | 12 | - | - |
2559 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | 20 | 9 | 6 | 5 | 26 | 22 | +4 | 33 | 3 | - | - |
2560 | ไทยลีก 3 (ตอนล่าง) | 28 | 15 | 5 | 8 | 49 | 32 | +17 | 50 | 3 | - | - |
2561 | ไทยลีก 3 (ตอนล่าง) | 16 | 2 | 7 | 7 | 11 | 20 | –9 | 13 | 14 | - | - |
2562 | ไทยลีก 4 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) | 24 | 5 | 4 | 15 | 19 | 39 | –20 | 19 | 11 | - | - |
2563 | ไทยลีก 4 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) | - | - |
แชมป์ | รองแชมป์ | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน[แก้]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน
ชื่อ | สัญชาติ | ระยะเวลา | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|
กฤษณ์ สิงห์ปรีชา | ![]() |
มกราคม 2558 - พฤศจิกายน 2560 | เลื่อนชั้นขึ้นไทยลีก 3 |
อรุณ ตุลย์วัฒนางกูร | ![]() |
กุมภาพันธ์ 2561 - พฤษภาคม 2561 | - |
เจสัน วิธ | ![]() |
พฤษภาคม 2561 - ตุลาคม 2561 | - |
กันตเมศฐ์ รอดประสิทธิ์ | ![]() |
ตุลาคม 2561 - มีนาคม 2562 | - |
ประภาร นาคพงษ์ | ![]() |
มีนาคม 2562 - มิถุนายน 2562 | - |
ธนากร ธรรมแสงดาว | ![]() |
มิถุนายน 2562 - ธันวาคม 2562 | - |
เอกพจน์ ไชยเลิศ | ![]() |
ธันวาคม 2562 ถึงปัจจุบัน | - |
ผู้ทำประตูสูงสุดในลีกประจำฤดูกาล[แก้]
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561
ฤดูกาล | ผู้ทำประตูสูงสุด | สัญชาติ | จำนวนประตู | ลีก |
---|---|---|---|---|
2558 | ธีระศักดิ์ คุณรักษา | ![]() |
7 | ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 (กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง) |
2559 | เอกสิทธิ์ สุดสวาท | ![]() |
6 | ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 (กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง) |
2560 | อนุศักดิ์ เหล่าแสงไทย | ![]() |
23 | ไทยลีก 3 |
2561 | วชิระ พันพินิจ
แทนเจนี ชิปาฮู |
![]() |
4
4 |
ไทยลีก 3 |
สถิติสโมสร[แก้]
สถิติการแข่งขัน[แก้]
- ยอดผู้ชมในสนามเหย้าเยอะที่สุด
- 446 คน (3 มีนาคม พ.ศ. 2561 เดฟโฟ เอฟซี 0-0 ตรัง เอฟซี, สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ ไทยลีก 3)
- ยอดผู้ชมในสนามเหย้าน้อยที่สุด
- 23 คน (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 บียู เดฟโฟ เอฟซี 5-1 บ้านบึง เอฟซี, ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต ม.กรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ไทยลีก 3)
- อันดับดีที่สุดของสโมสร : อันดับ 3 ไทยลีก 3 ตอนล่าง ฤดูกาล 2560
- ชนะคู่แข่งมากที่สุด
- เกษมบัณฑิต เอฟซี 0-5 บียู เดฟโฟ เอฟซี, ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2, 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ร่มเกล้า
- แพ้คู่แข่งมากที่สุด
- บียู เดฟโฟ เอฟซี 0-5 สมุทรสาคร เอฟซี, ไทยลีก 3, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ณ ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต ม.กรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
สถิติผู้เล่น[แก้]
- ผู้เล่นคนแรกที่ทำประตูให้สโมสร
- ธีรศักดิ์ คุณรักษา (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด 1–1 บียู เดฟโฟ เอฟซี, สนามพัฒนาสปอร์ตคลับ ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2)
ผู้ผลิตชุดแข่ง และผู้สนับสนุนหลัก[แก้]
รายนามผู้ผลิตชุดแข่ง และผู้สนับสนุนหลัก ฤดูกาล 2558 ถึงปัจจุบัน
ฤดูกาล | ผู้ผลิตชุดแข่ง | ผู้สนับสนุนหลัก |
---|---|---|
2558 | เดฟโฟ | เดฟโฟ |
2559 | เดฟโฟ | เดฟโฟ |
2560 | เดฟโฟ | ถังดอกบัว |
2561 | เดฟโฟ | เดฟโฟ |
2562 | เดฟโฟ | นมไทย - เดนมาร์ค |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "OFFICIAL : ขออยู่รอด! ผอ.โตส แย้มเสือรังสิตหยั่งเชิงใช้เด็ก ม.กรุงเทพ บู๊เลกแรก". supersubthailand.com. 31 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help)
|