สโมสรฟุตบอลแกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระนอง ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มแกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด
ฉายาฉลามอันดามัน
ก่อตั้งพ.ศ. 2553
(ระนอง เอฟซี)
พ.ศ. 2557
(ระนอง ยูไนเต็ด)
พ.ศ. 2560
(แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด)
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดระนอง
Ground ความจุ7,212 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท ระนอง ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานไทย ปองภพ เกลื่อนสิน
ผู้จัดการไทย อรัญญา พิบูลย์
ผู้ฝึกสอนไทย ฟาซัล อุสมา (รักษาการ)
ลีกไทยลีก 2
2564–65อันดับที่ 12
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลแกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดระนอง ปัจจุบันแข่งขันในระดับไทยลีก 2

ประวัติสโมสร[แก้]

"ฉลามอันดามัน" ระนอง เอฟซี เริ่มเดินเครื่องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 หลังจากที่ได้มีการประชุมร่วมกันของทุกฝ่ายภายในจังหวัด และตัดสินใจว่าจะต้องส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค หลังจากซีซั่นก่อนมีปัจจัยหลายอย่างทำให้ทีมพลาดการร่วมฟาดแข้ง โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณ แต่มาฤดูกาลนี้ทุกอย่างได้คลี่คลายลงไป ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาคมกีฬาจังหวัดระนอง เข้ามาให้การสนับสนุน ทำให้ทุกอย่างสามารถขับเคลื่อนเดินไปข้างหน้าได้สะดวก ชื่อของ "ฉลามอันดามัน" ระนอง เอฟซี จึงติดทำเนียบทีมน้องใหม่ของโซนกลุ่มภาคใต้ในฟุตบอลลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ทันที

ทั้งนี้การเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนทีมของ นายนภา นทีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง ได้มีการจัดสรรเทงบมาให้กว่า 1.8 ล้านบาท และ นายคมกฤต ฉัตรมาลีรัตน์ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดระนองอีก 1 ล้านบาท ทำให้ทีม "ฉลามอันดามัน" ระนอง เอฟซี มีงบเพียงพอที่จะชิมลางลีกภูมิภาคปี 2010 ได้อย่างไม่มีปัญหา

ในฤดูกาล 2563 สโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งขันในไทยลีก 2 หลังจากอาร์มี่ ยูไนเต็ดถอนตัว[1]

ผู้เล่น[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย กัมพล ครบอยู่
2 DF ไทย ชาญชล จอมเกาะ
3 DF ญี่ปุ่น ยูซากุ ยามาเดระ
4 DF ประเทศพม่า เญนชาน
5 DF ไทย ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์ศิลา
6 MF ไทย เจนณรงค์ ภูผา (กัปตันทีม)
7 DF ไทย ฉ่ำสุดดีน โส๊ะเต่ง
8 MF ไทย อัคเดช สุขศิริ
10 FW อิรัก เซลวัน อัลญะเบริ
11 DF ไทย มูฮัมหมัดบูรฮัน อาแว
13 FW ไทย อธิวัฒน์ หะหมาน
14 DF ไทย จักรกฤษณ์ สีชู
15 DF ไทย ธวัชชัย จิตรวงษา
16 MF ไทย ซารินร์ หะยีดอเลาะ
17 DF ไทย สิทธิชัย ฉิมเรือง
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 GK ไทย ฮาหลีน อุ่นเรือน
19 MF ไทย ศราภพ ธีรกุล
21 MF ไทย ทัศไนย์ คุ้มครอง
22 DF ไทย พูลศักดิ์ จากผา
23 DF ไทย พงศ์สิริ เงินหนู
26 GK ไทย ชินวัตร เกษม
27 FW ไนจีเรีย จูเลียส ชูควูมา โอโนนิวู
29 MF ไทย วุฒิชัย สำลี
37 MF ไทย วาธิต นัครี
39 GK ไทย ณัฐพงษ์ ทองพุ่ม
44 DF ไทย ตุลา ดีเลิศ
50 FW บราซิล กาบรีแยล ดู การ์มู
75 DF ไทย ศุภกานต์ จันสีไหม
77 MF ไทย ภาคิน ผดุงชาติ
91 GK ไทย จิรายุทธ สุขแก่น

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอ คัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด จำนวนประตู
ลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ
2563–64 ไทยลีก 2 34 16 5 13 45 37 53 อันดับ 8 ไม่ได้เข้าร่วม งดจัดการแข่งขัน อิรัก เซลวัน อัลญะเบริ 8
2564–65 ไทยลีก 2 34 10 11 13 35 45 41 อันดับ 12 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม เกาหลีใต้ ย็อน กี-ซ็อง 6
2565–66 ไทยลีก 2 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับสาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้ฝึกสอน[แก้]

รายชื่อผู้ฝึกสอน (2561 – ปัจจุบัน)

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา ความสำเร็จ
ดาเมียน เบลลอง[2] สวิตเซอร์แลนด์ ธันวาคม 2561 – เมษายน 2564 รอบก่อนรองชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2562
อันดับที่ 4 (ระดับประเทศ) ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2562
รอยเตอร์ โมไรร่า บราซิล เมษายน – กรกฎาคม 2564
ณัฐวุฒิ รัตนาภรณ์ ไทย กรกฎาคม 2564 – มกราคม 2565
ทิพยันต์ จันทร์แก้ว ไทย มกราคม – มีนาคม 2565
ฟาซัล อุสมา ไทย มีนาคม – สิงหาคม 2565
เลียวเนส ดุส ซังตุส บราซิล สิงหาคม – กันยายน 2565
มาร์กุช ฌูนีโยร์ บราซิล ตุลาคม 2565 – มกราคม 2566
ณัฐวุฒิ รัตนาภรณ์ ไทย มกราคม – มีนาคม 2566

สถิติต่าง ๆ ของสโมสร[แก้]

สโมสรพันธมิตร[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตัวแทนอาร์มี่! ไทยลีก ยัน ระนอง เลื่อนขึ้นลีกพระรอง". supersubthailand.com. 13 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  2. "แกรนด์อันดามันระนองฯ ตั้งเบลลองคุมทัพสู้ศึกไทยลีก 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 2019-06-17.
  3. หนองบัวฯ แม่นโทษบุกดับ ระนอง ทะลุรอบรองลีกคัพ 2019 - smmsport

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]