สโมสรฟุตบอลทัพหลวง ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทัพหลวง ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลทัพหลวง ยูไนเต็ด
Thap Luang United Football Club
ฉายาช้างตกมัน
ก่อตั้ง2021; 3 ปีที่แล้ว (2021)
สนามสนามกีฬาเทศบาลตำบลปากท่อ
เจ้าของบริษัท ทัพหลวง ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานชนะกิจ พวงอินทร์
ผู้ฝึกสอนยุทธนา เหลืองเจริญ
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก, อันดับที่ 8
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลทัพหลวง ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นสโมสรตัวแทนจากตำบลทัพหลวง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันเล่นในไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก

ประวัติ[แก้]

สโมสรฟุตบอลทัพหลวง ยูไนเต็ด ก่อตั้งเมื่อปี 2564 โดยนายชนะกิจ พวงอินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง จังหวัดนครปฐม และประธานศูนย์ฝึกฟุตบอล "ตุ้ยนุ้ย อคาเดมี่" ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกฟุตบอลสำหรับเยาวชนในตำบลทัพหลวง ที่ต้องการต่อยอดให้เยาวชนในศูนย์ฝึกได้หาประสบการณ์ในการลงแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย นอกเหนือจากการลงแข่งขันในละแวกท้องถิ่น จึงก่อตั้งสโมสรฟุตบอลทัพหลวง ยูไนเต็ดขึ้น และส่งทีมเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรกในไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2564 ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับสมัครเล่น แต่การแข่งขันในรายการดังกล่าวถูกยกเลิกโดยสมาคมฟุตบอล เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย

จากนั้นสโมสรส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้งในรายการไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2565 โซนภาคตะวันตก โดยได้ลงแข่งขันเป็นครั้งแรกและตกรอบมินิลีก ต่อมาในปี 2566 ทางสมาคมฟุตบอลฯได้ก่อตั้งไทยแลนด์ เซมิโปรลีกซึ่งเป็นลีกระดับกึ่งอาชีพขึ้น โดยสโมสรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการคัดเลือกสโมสรฟุตบอลระดับสมัครเล่นที่จากเดิมลงแข่งขันในไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก เข้ามาแข่งขันในระดับไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ซึ่งเป็นลีกกึ่งอาชีพ[1]

สโมสรลงแข่งขันใน ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ฤดูกาล 2566 – โซนภาคตะวันตก โดยใช้สนามกีฬากลาง 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นสนามเหย้า และสามารถสร้างผลงานคว้าแชมป์โซนภาคตะวันตก พร้อมกับได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3 ซึ่งเป็นลีกอาชีพได้สำเร็จ

ในเดือน เมษายน พ.ศ. 2566 สโมสรได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ "บริษัท ทัพหลวง ยูไนเต็ด จำกัด" และมีแผนการก่อสร้างสนามเหย้าเป็นของตนเองในพื้นที่ตำบลทัพหลวง[2] โดยในการแข่งขันในไทยลีก 3 สโมสรได้ใช้สนามกีฬาเทศบาลตำบลปากท่อ จังหวัดราชบุรี เป็นสนามเหย้าชั่วคราว

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2565 ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
โซนภาคตะวันตก
2 1 0 1 5 3 3 อันดับที่ 2
(มินิลีก กลุ่มเอฟ)
ไม่ได้เข้าร่วม ไม่สามารถเข้าร่วม ไทย นเรศ ฤทธิ์พิทักษ์วงศ์ 2
2566 ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
โซนภาคตะวันตก
8 5 3 0 13 7 18 ชนะเลิศ รอบ 64 ทีมสุดท้าย ไม่สามารถเข้าร่วม ไทย อนุรุธ แจ่มแจ้ง
ไทย ธนภูมิ เคนดา
3
ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
รอบชิงแชมป์ประเทศไทย
โซนล่าง
2 0 0 2 1 5 0 อันดับที่ 3
2566–67 ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก 20 6 4 10 20 27 22 อันดับที่ 8 รอบแรก รอบคัดเลือกรอบแรก รอบ 32 ทีมสุดท้าย ไทย ภูวเนตร ทองคุ่ย 7
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

ณ วันที่ 28 มกราคม 2567[3]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย สุภชัย วงศ์สุวรรณ (ยืมตัวจาก นครปฐม ยูไนเต็ด)
2 DF ไทย กฤษกร เกิดอุดม
4 DF ไทย สหภูมิ เดชบุรัมย์
5 DF ไทย ชินพรรธน์ โกสินเอกสิทธิ์
8 MF ไทย อดิศักดิ์ โยชะออน
13 MF ไทย นเรศ ฤทธิ์พิทักษ์วงศ์
14 DF ไทย ณัฐดนัย เห่งนาเลน
15 DF ไทย โชคชัย เอี่ยมมงคล (กัปตันทีม)
16 FW ไทย ธนภูมิ เคนดา
17 FW ไทย วศธร อ่ำเย็น
18 GK ไทย ณัฐนันท์ ตัณทิกุน
19 MF ไทย สุรพจน์ ปานเครือ
22 MF ไทย ณรงค์ฤทธิ์ แก้วมณี
24 MF ลาว พุดทะไซ โคจะเลิน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
25 FW ไทย ปุณยวีร์ ศรีอ่อน
26 FW ไทย ศิวา พิกุลหอม
29 DF ไทย กิตติศักดิ์ ศรีทา
30 MF ไทย ปิยดนัย ประเสริฐ
31 MF ไทย ถิรวัฒน์ คูณสม (ยืมตัวจาก นครปฐม ยูไนเต็ด)
32 DF ไทย ภานุวัฒน์ เพลิดพราว
58 MF ไทย พัชรพล ตาลพันธ์
67 MF ไทย สุรวิช ถนอมทรัพย์
77 FW ไทย นิรุธ อามาตรมนตรี
78 DF ไทย อรรฆพร อาจคงหาร
79 GK ไทย สุทธิภัทร น้อยคำสิน
80 MF กานา ซามูเอล อัมโพโฟ
97 DF ไทย พูลศักดิ์ จากผา
99 FW ไทย ภูวเนตร ทองคุ่ย

ผู้ฝึกสอน[แก้]

ชื่อ ระยะเวลา ความสำเร็จ
ไทย ฤทธิ์ ชมน้อย เมษายน 2564 – กันยายน 2565
ไทย อาทิตย์ สุขสมนึก ตุลาคม – พฤศจิกายน 2565
ไทย นิธิกร ศรีประเสริฐ กุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2566 ชนะเลิศ ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ฤดูกาล 2566 – โซนภาคตะวันตก
(เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3)
ไทย ธีรยุทธ งามละม้าย มิถุนายน – พฤศจิกายน 2566
ไทย ยุทธนา เหลืองเจริญ พฤศจิกายน 2566 –

สถิติ[แก้]

สถิติเกี่ยวกับการแข่งขัน[แก้]

สถิติเกี่ยวกับผู้เล่น[แก้]

สถิติผู้ชมในสนาม[แก้]

ผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสร[แก้]

  • สถิตินับถึง​ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 แถบสีฟ้าหมายถึงปัจจุบันยังคงเล่นให้กับสโมสร(ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนนัดที่ลงสนาม)
อันดับ ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง ช่วงปี ไทยลีก 3 ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ไทยเอฟเอคัพ ไทยลีกคัพ ไทยลีก 3 คัพ รวม
1 ภูวเนตร ทองคุ่ย ไทย FW 2566–ปัจจุบัน 7 (19) 0 (2) 0 (0) 0 (1) 0 (1) 1 (2) 8 (25)
2 ธนภูมิ เคนดา ไทย FW 2565–ปัจจุบัน 0 (6) 3 (8) 0 (2) 2 (2) 0 (1) 0 (2) 5 (21)
นเรศ ฤทธิ์พิทักษ์วงศ์ ไทย MF 2565, 2566–ปัจจุบัน 1 (6) 0 (1) 2 (2) 2 (2) 0 (1) 0 (1) 5 (13)
4 สุรพจน์ ปานเครือ ไทย MF 2565–ปัจจุบัน 0 (17) 2 (10) 1 (2) 1 (3) 0 (1) 0 (2) 4 (35)
ศิวา พิกุลหอม ไทย MF 2565–ปัจจุบัน 2 (18) 2 (8) 0 (0) 0 (3) 0 (1) 0 (2) 4 (32)

เกียรติประวัติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]