สโมสรฟุตบอลอยุธยา ยูไนเต็ด
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | อยุธยา ยูไนเต็ด | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | เรือด่วนสีฟ้า (2016) นักรบอโยธยา (2017–ปัจจุบัน) | |||
ก่อตั้ง | 2007 2016 (ในชื่ออยุธยา ยูไนเต็ด) | (ในชื่อเทศบาลเมืองเสนา) |||
สนาม | สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |||
ความจุ | 5,700 | |||
เจ้าของ | บริษัท อยุธยา ยูไนเต็ด (2015) จำกัด | |||
ประธาน | อดิศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล | |||
ผู้จัดการ | พิมพฤดา ตันจรารักษ์ | |||
ผู้ฝึกสอน | แดนนี อินวินซิบิเล ![]() | |||
ลีก | ไทยลีก 2 | |||
2565–66 | อันดับ 10 | |||
| ||||
สโมสรฟุตบอลอยุธยา ยูไนเต็ด หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา เป็น สโมสรฟุตบอล ในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [1] ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับ ไทยลีก 2 โดยใช้ สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสนามเหย้า
ประวัติ[แก้]
ยุคสโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา[แก้]
สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยเทศบาลเมืองเสนาเพื่อเป็นสโมสรฟุตบอลระดับท้องถิ่นของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระดับสมัครเล่นที่จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค.
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค[แก้]
สโมสรเริ่มส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค 2550/51 และเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้ให้กับ โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา 3–2 ต่อมาในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค 2551/52 สโมสรผ่านเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายอีกเช่นเคย และแพ้ให้กับ สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองหัวหิน 0–1 ตกรอบไปในที่สุด
การแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค. ประจำปี 2556 สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา สามารถผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศได้สำเร็จ โดยต้องพบกับ สโมสรฟุตบอลโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา [2] ซึ่งถึงแม้ว่าเทศบาลเมืองเสนาจะเป็นฝ่ายแพ้ไป 4–2 แต่ก็เพียงพอที่จะได้สิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในถ้วย ข. ในปีถัดไป
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข[แก้]
ปี พ.ศ. 2557 เทศบาลเมืองเสนา ลงแข่งขันในรายการฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นปีแรก และสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้ให้กับ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ 2–1[3] ตกรอบไปในที่สุด
ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. ประจำปี 2558 สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา สามารถผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศไปพบกับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร โดยผู้ชนะจะเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศและได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2
ในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ สโมสรเป็นฝ่ายแพ้ต่อสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร ไป 2–0 แต่ยังได้รับสิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 เนื่องจากการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศอีกคู่ระหว่าง โรงเรียนจ่าอากาศ และสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนปากช่อง ถูกคณะกรรมการจัดการแข่งขันปรับตกรอบทั้งสองทีม เนื่องจากใช้ผู้เล่นผิดคุณสมบัติลงแข่งขัน ทำให้สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาครคว้าแชมป์ไปโดยไม่ต้องแข่งนัดชิงชนะเลิศ และสโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา ที่แพ้ในรอบรองชนะเลิศ ได้สิทธิเลื่อนชั้นอีกหนึ่งทีม[4]
ยุคสโมสรฟุตบอลอยุธยา ยูไนเต็ด[แก้]

ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2[แก้]
หลังจากสโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัด เพื่อดำเนินกิจการทางฟุตบอลภายใต้ชื่อ บริษัท อยุธยา ยูไนเต็ด (2015) จำกัด และเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น อยุธยา ยูไนเต็ด โดยใช้สนามกีฬาเสนาบดี ตำบลบ้านแพน อำเภอเสนา เป็นสนามเหย้าของสโมสร
สโมสรลงแข่งขันภายใต้ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2นัดที่บุกไปชนะนครสวรรค์ เอฟซี 1–0 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดนครสวรรค์ จากลูกโหม่งของ รุ่งโรจน์ สว่างศรี อดีตกองหลังทีมชาติไทย ทำให้เขาถูกบันทึกว่าเป็นผู้เล่นที่ยิงประตูแรกในลีกให้กับสโมสร โดยเมื่อจบฤดูกาลสโมสรสามารถคว้าอันดับที่ 4 ในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางได้สำเร็จ และได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3
รวมกับ อยุธยา วอริเออร์[แก้]
หลังจบฤดูกาล 2559 แม้สโมสรจะได้เลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในไทยลีก 3 แต่ก็ต้องประสบปัญหาในการยื่นขอใบอนุญาตสโมสรฟุตบอล (Club Licensing) อันเป็นเงื่อนไขสำคัญในการที่ลงแข่งขัน ประกอบกับทาง สโมสรฟุตบอลอยุธยา วอริเออร์ ที่ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยลีก 3 เช่นเดียวกัน ต้องส่งคืนสิทธิในการลงแข่งขันคืนให้กับ สโมสรฟุตบอลจังหวัดพิจิตร ทั้งสองสโมสรจึงร่วมมือกัน โดยใช้สิทธิของ อยุธยา ยูไนเต็ด
การร่วมมือกันของทั้งสองสโมสร ทำให้มีประธานสโมสร 2 คน โดยมี นิรันดร์ วนิชวรพงษ์ ประธานสโมสรคนเดิมเจ้าของสิทธิ และ อดิศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ประธานคนใหม่ ซึ่งเป็นอดีตประธานสโมสรของ อยุธยา วอริเออร์ โดยมีการเปลี่ยนโลโก้สโมสรรวมถึงสนามเหย้าแห่งใหม่ โดยย้ายสนามเหย้าจากเดิมที่ใช้สนามกีฬาเสนาบดี อำเภอเสนา มาเป็นสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา[5]
ไทยลีก 3[แก้]
ไทยลีก 2[แก้]
หลังจากพีทีที ระยองในไทยลีกและไทยฮอนด้าในไทยลีก 2 ไม่ส่งทีมเข้าแข่งขันในฤดูกาล 2563 สมาคมฟุตบอลฯ มีมติให้คงจำนวนทีมในไทยลีกและไทยลีก 2 เป็น 16 และ 18 ทีมตามเดิมเพื่อให้จำนวนทีมเหมาะสมและเอื้อต่อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด ทำให้สุพรรณบุรีที่จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 14 ในไทยลีกยังคงแข่งขันในไทยลีกต่อไป ส่วนราชนาวีที่จบฤดูกาลในอันดับที่ 16 ในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 ยังคงแข่งขันในไทยลีก 2 เช่นกัน ในขณะที่อุบล ยูไนเต็ดซึ่งเป็นสโมสรที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในกลุ่มตกชั้นนั้นไม่ผ่านคลับไลเซนซิงและถูกปรับตกชั้นไปแข่งขันในไทยลีก 4 ทำให้สิทธิ์การแข่งขันในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563 ตกเป็นของอยุธยา ยูไนเต็ด[6][7]
ตราสโมสรและชุดแข่งขัน[แก้]
ตราสัญลักษณ์ของสโมสรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน[แก้]
ในยุคแรกเริ่มของสโมสรที่ยังแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ในชื่อสโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา (2550–2558) ได้ใช้ตราสัญลักษณ์ของสโมสรเป็นแบบเดียวกับตราสัญลักษณ์ของเทศบาลเมืองเสนา โดยเป็นรูปพระแม่โพสพถือรวงข้าว ล้อมรอบด้วยกรอบสีเขียว เพื่อสื่อถึงการเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ของอำเภอเสนา

ต่อมาภายหลังจากที่สโมสรได้เลื่อนชั้นเข้ามาแข่งขันในลีกอาชีพและเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นอยุธยา ยูไนเต็ด ในปี 2559 สโมสรได้เปลี่ยนไปใช้ตราสัญลักษณ์เป็นรูปเรือด่วน เพื่อสื่อถึงการท่องเที่ยวและการเดินทางบนแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านทางเรือโดยสาร อันแสดงถึงความเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และใช้สีฟ้าเป็นสีของชุดทีมเหย้า

ในฤดูกาล 2560 สโมสรได้ควบรวมสโมสรฟุตบอลอยุธยา วอริเออร์ ไว้ด้วยกันและเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ของสโมสรให้เป็นแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยตราสโมสรที่ใช้ในปัจจุบันนี้อาศัยเค้าโครงมาจากตราสัญลักษณ์ของสโมสรอยุธยา วอริเออร์ ที่เป็นรูปทหารของอาณาจักรอยุธยากำลังใช้ดาบ สื่อถึงความเป็นนักสู้เช่นทหารในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเปลี่ยนสีชุดเหย้าจากสีฟ้ามาเป็นสีน้ำเงิน
ชุดแข่งที่ใช้และผู้สนับสนุน[แก้]
ปี | ผู้ผลิต | ผู้สนับสนุน (ด้านหน้า/อกเสื้อ) |
ผู้สนับสนุน (ด้านหน้า/ชายเสื้อล่าง) |
ผู้สนับสนุน (ด้านหน้า/มุมบน) |
ผู้สนับสนุน (ด้านหลัง/ชายเสื้อล่าง) |
ผู้สนับสนุน (แขนเสื้อซ้าย) |
---|---|---|---|---|---|---|
2558 | แกรนด์สปอร์ต ![]() |
ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี |
2559 | อีโก้ สปอร์ต ![]() |
น้ำดื่ม รีเจนซี่ ปตท.เสนา |
ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี |
2560 | พีแกน สปอร์ต ![]() |
กัลฟ์ | อบจ.พระนครศรีอยุธยา | เบียร์ช้าง | หจก.ชลอ การท่องเที่ยว | สวนอุตสาหกรรมโรจนะ |
2561 | ||||||
2562 | ||||||
2563–64 | เบียร์ช้าง | กัลฟ์ | ||||
2564–65 | เบียร์ช้าง/ กัลฟ์ |
บ.เมืองไทยประกันภัย | บ.นราวดี กรุ๊ป จำกัด | สวนอุตสาหกรรมโรจนะ/ หจก.ชลอ การท่องเที่ยว | ||
2565–66 | เบียร์ช้าง/ บ.วงษ์พาณิชย์ |
กัลฟ์/ เจ็ทส์ ฟิตเนส/ ปุ๋ยเคมี ตรารถเกษตร |
บ.เมืองไทยประกันภัย | |||
2566–67 | เกลเม ![]() |
เบียร์ช้าง/ บ.เมืองไทยประกันภัย |
กัลฟ์/ เจ็ทส์ ฟิตเนส |
เกลเม |
ผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
- ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2566
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
บุคคลากร[แก้]
ผู้บริหาร[แก้]
ตำแหน่ง | บุคคล |
---|---|
ประธานสโมสร | อดิศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล |
รองประธานสโมสร | ประสิทธิ์ โชคกิจ |
ผู้จัดการทีม | พิมพฤดา ตันจรารักษ์ |
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม | ชาณัสม์ ฉัตรไชยรัชต์ |
ทำเนียบผู้ฝึกสอน[แก้]
- ช่องสถิติผลการแข่งขันนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ไม่รวมผลการแข่งขันในยุคฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน
- ณ วันที่ 23 กันยายน 2566
ชื่อ | สัญชาติ | ตั้งแต่ | ถึง | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | % ชนะ | ความสำเร็จ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราชัน สาระคำ | ![]() |
มีนาคม พ.ศ. 2558 | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 | 8 | 2 | 4 | 2 | 25.0 |
|
|
อภิรักษ์ ศรีอรุณ | ![]() |
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 | ธันวาคม พ.ศ. 2559 | 15 | 7 | 3 | 5 | 46.7 |
|
|
สมบัติ คงปลิก | ![]() |
ธันวาคม พ.ศ. 2559 | 30 เมษายน พ.ศ. 2560 | 12 | 7 | 4 | 1 | 58.3 | ||
อภิรักษ์ ศรีอรุณ (2) | ![]() |
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | 3 | 2 | 0 | 1 | 66.7 | ชั่วคราว | |
ณรงค์ธนพร เฉยไธสงโชดก | ![]() |
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | 16 | 8 | 4 | 4 | 50.0 | ||
มาซายูกิ มิอุระ | ![]() |
ธันวาคม พ.ศ. 2560 | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 | 30 | 18 | 6 | 6 | 60.0 |
|
|
สันติ ไชยเผือก | ![]() |
29 สิงหาคม พ.ศ. 2561 | 17 กันยายน พ.ศ. 2561 | 2 | 1 | 1 | 0 | 50.0 |
|
ชั่วคราวในการแข่งขันไทยลีก 3 รอบเพลย์ออฟ 2 นัด |
เฉลิมวุฒิ สง่าพล | ![]() |
13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | 25 มีนาคม พ.ศ. 2562 | 6 | 1 | 1 | 4 | 16.7 | ||
อนุรักษ์ ศรีเกิด | ![]() |
1 เมษายน พ.ศ. 2562 | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | 19 | 3 | 6 | 10 | 15.8 | ||
พัฒฐนพงศ์ ศรีปราโมช | ![]() |
1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | กันยายน พ.ศ. 2562 | 10 | 2 | 1 | 7 | 20.0 | ||
สันติ ไชยเผือก (2) | ![]() |
ธันวาคม พ.ศ. 2562 | 1 เมษายน พ.ศ. 2564 | 34 | 13 | 8 | 13 | 38.2 | ||
เจษฎา จิตสวัสดิ์ | ![]() |
สิงหาคม พ.ศ. 2564 | พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | 35 | 10 | 11 | 14 | 28.6 | ยืมตัวจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด บี | |
สันติ ไชยเผือก (3) | ![]() |
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | 29 | 15 | 3 | 11 | 51.7 | ||
บรูนู มีแกล ฟือร์นังดึช ดา กอชตา เมเนซึช ปึไรรา | ![]() |
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | 11 | 4 | 3 | 4 | 36.4 | ||
แดนนี อินวินซิบิเล | ![]() |
กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | 6 | 3 | 1 | 2 | 50.0 | ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด |
ทำเนียบกัปตันทีม[แก้]
- ตั้งแต่ฤดูกาล 2559 ไม่รวมยุคฟุตบอลถ้วยพระราชทาน
ลำดับ | ชื่อ | สัญชาติ | ตั้งแต่ | ถึง | หมายเลข | ตำแหน่ง |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | รุ่งโรจน์ สว่างศรี | ![]() |
ก.พ.2559 | เม.ย.2559 | 6 | กองหลัง |
2 | อานนท์ เมฆฉาย | ![]() |
พ.ค.2559 | มิ.ย. 2559 | 8 | กองกลาง |
3 | ประกิต เพ็ญศรี | ![]() |
มิ.ย.2559 | ก.ย.2559 | 4 | กองหลัง |
4 | สิทธิชัย ไตรศิลป์ | ![]() |
ก.พ.2560 | ก.ย.2562 | 30 | กองหลัง |
5 | ดัสกร ทองเหลา | ![]() |
ก.พ.2563 | เม.ย. 2564 | 7 | กองกลาง |
6 | นนทวัฒน์ กลิ่นจำปาศรี | ![]() |
ก.ย.2564 | เม.ย.65 | 19 | กองกลาง |
7 | จักรพันธ์ พรใส | ![]() |
ส.ค.2565 | เม.ย.66 | 7 | กองกลาง |
8 | นันทวัฒน์ กกฝ้าย | ![]() |
ส.ค.2566 | ปัจจุบัน | 28 | กองกลาง |
สถิติ[แก้]
สถิติเกี่ยวกับผลการแข่งขัน[แก้]
- การแข่งขันอย่างเป็นทางการนัดแรก
- เทศบาลเมืองเสนา 1–1 สมาคมศิษย์เก่าวิสุทธรังษี (ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ประจำปี 2550/51, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
- อันดับในลีกที่ดีที่สุดของสโมสร
- อันดับ 9, ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64
- ผลงานดีที่สุดในไทยลีกคัพ
- เข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้าย : 2565–66
- ผลงานดีที่สุดในเอฟเอคัพ
- เข้าถึงรอบ 32 ทีมสุดท้าย : ช้าง เอฟเอคัพ 2560, ช้าง เอฟเอคัพ 2565–66
- ผลงานดีที่สุดในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน
- รอบรองชนะเลิศ : ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2558 (เลื่อนชั้นสู่ลีกอาชีพ)
- ชนะขาดลอยมากที่สุดเมื่อรวมทุกรายการ
- เทศบาลเมืองเสนา 9–0 รร.ภูมินทรวิทยา (ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ประจำปี 2551/52, 9 มกราคม พ.ศ. 2552 สนามกีฬาบางกอกกล๊าส จังหวัดปทุมธานี)
- ชนะขาดลอยมากที่สุดเมื่อนับเฉพาะในลีก
- สิงห์บุรี บางระจัน 1–5 อยุธยา ยูไนเต็ด (ไทยลีก 3, 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)
- อุบลราชธานี เอฟซี 0–4 อยุธยา ยูไนเต็ด (ไทยลีก 3, 17 มีนาคม พ.ศ. 2561)
- อยุธยา ยูไนเต็ด 4–0 อยุธยา เอฟซี (ไทยลีก 3, 1 เมษายน พ.ศ. 2561)
- อยุธยา ยูไนเต็ด 4–0 เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด (ไทยลีก 3, 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
- อยุธยา ยูไนเต็ด 4–0 ราชนาวี (ไทยลีก 2, 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564)
- แพ้ขาดลอยมากที่สุด
- อยุธยา ยูไนเต็ด 0–6 โปลิศ เทโร (ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562, 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ไม่แพ้ทีมใดติดต่อกันนานที่สุด
- 10 นัด (ตั้งแต่ 27 กันยายน 2563 – 26 ธันวาคม 2563)
- ชนะติดต่อกันมากที่สุด
- 5 นัด (ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม 2560 – 7 กรกฎาคม 2560 : ลีก 4 นัด , เอฟเอคัพ 1 นัด)
- 5 นัด (ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2565 – 6 พฤศจิกายน 2565 : ลีก 4 นัด , เอฟเอคัพ 1 นัด)
- ไม่ชนะทีมใดติดต่อกันนานที่สุด
- 14 นัด (ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2562 – 11 สิงหาคม 2562)
- แพ้ติดต่อกันมากที่สุด
- 5 นัด (ตั้งแต่ 10 มีนาคม 2564 – 24 มีนาคม 2564 : ในลีกทั้ง 5 นัด)
สถิติเกี่ยวกับผู้เล่น[แก้]
- ผู้เล่นที่ทำประตูได้มากที่สุดเมื่อรวมทุกรายการ
- นาซีเมงตู ดุช ซังตุช เนตู อุชวัลดู (21 ประตู, ระหว่างฤดูกาล 2561–2562)
- ผู้เล่นที่ทำประตูได้มากที่สุดเมื่อนับเฉพาะในฟุตบอลลีก
- นาซีเมงตู ดุช ซังตุช เนตู อุชวัลดู (20 ประตู, ระหว่างฤดูกาล 2561–2562)
- ยู บย็อง-ซู (20 ประตู, ระหว่างฤดูกาล 2563)
- ผู้เล่นที่ทำประตูได้มากที่สุดในรายการไทยลีกคัพ
- เคนดัลล์ มัวริซ แจ็กดีโอซิงห์ (4 ประตู, ระหว่างฤดูกาล 2560)
- ผู้เล่นที่ทำประตูได้มากที่สุดในไทยเอฟเอคัพ
- ดนุสรณ์ วิจิตรปัญญา (5 ประตู, ฤดูกาล 2565–66)
- ผู้เล่นที่ทำประตูได้มากที่สุดในหนึ่งนัดเมื่อรวมทุกรายการ
- เคนดัลล์ มัวริซ แจ็กดีโอซิงห์ : 3 ประตู ( โตโยต้า ลีกคัพ 2560 )
- นาซีเมงตู ดุช ซังตุช เนตู อุชวัลดู : 3 ประตู (ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2561)
- อานนท์ บุษผา : 3 ประตู (โตโยต้า ลีกคัพ 2562)
- ยู บย็อง-ซู : 3 ประตู (ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64)
- ฟีลีปี วัลเลซ ดู นาซีเมงตู: 3 ประตู ( ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2564–65, 10 กันยายน พ.ศ. 2564 v. ชัยนาท ฮอร์นบิล)
- ฌูแซ นีลซง ดุช ซังตุช ซิลวา: 3 ประตู ( ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2565–66, 10 กันยายน พ.ศ. 2565 v. อุดรธานี เอฟซี)
- ดนุสรณ์ วิจิตรปัญญา: 3 ประตู ( ช้าง เอฟเอคัพ 2565–66, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565 v. วิทยาลัยนครราชสีมา)
- ผู้เล่นที่ทำประตูได้มากที่สุดในหนึ่งนัดเมื่อนับเฉพาะในฟุตบอลลีก
- นาซีเมงตู ดุช ซังตุช เนตู อุชวัลดู : 3 ประตู ( ไทยลีก 3, 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 v. เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด)
- ยู บย็อง-ซู : 3 ประตู ( ไทยลีก 2, 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 v. ไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร)
- ฟีลีปี วัลเลซ ดู นาซีเม็งตู: 3 ประตู ( ไทยลีก 2, 10 กันยายน พ.ศ. 2564 v. ชัยนาท ฮอร์นบิล)
- ฌูแซ นีลซง ดุช ซังตุช ซิลวา: 3 ประตู ( ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2565–66, 10 กันยายน พ.ศ. 2565 v. อุดรธานี เอฟซี)
- ผู้เล่นคนแรกที่ทำประตูได้ในฟุตบอลลีก
- รุ่งโรจน์ สว่างศรี (19 มีนาคม พ.ศ. 2559)
- ผู้เล่นคนแรกที่ทำประตูได้ในไทยลีกคัพ
- สามารถ โพธิ์มี (23 มีนาคม พ.ศ. 2559 v. สระบุรี ทีอาร์ยู)
- ผู้เล่นคนแรกที่ทำประตูได้ในเอฟเอคัพ
- เคนดัลล์ มัวริซ แจ็กดีโอซิงห์ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2560 v ชลบุรี เอฟซี)
- ผู้เล่นที่อายุมากที่สุดที่ได้ลงสนามในฟุตบอลลีก
- โช ซ็อง-ฮวาน : 38 ปี 11 เดือน 22 วัน (31 มีนาคม 2564 พบ ราชนาวี, ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64)
- ผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ได้ลงสนามในฟุตบอลลีก
- ภคพล บุญช่วย : 17 ปี 191 วัน (27 กุมภาพันธ์ 2564 พบ ไทยยูเนียน สมุทรสาคร, ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64)
- ผู้เล่นที่อายุมากที่สุดที่ทำประตูได้ในฟุตบอลลีก
- อังแดร ลูอิช เลย์ชี : 37 ปี 7 เดือน 4 วัน (23 กันยายน 2566 พบ ชัยนาท ฮอร์นบิล, ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2566–67)
- ผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ทำประตูได้ในฟุตบอลลีก
- จิรวัฒน์ ทองแสงพราว : 18 ปี 8 เดือน 25 วัน (25 กุมภาพันธ์ 2560 พบ สิงห์บุรี บางระจัน, ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2560)
- ลงสนามให้สโมสรมากที่สุดเมื่อรวมทุกรายการ
- สิทธิชัย ไตรศิลป์ (77 นัด 4 ประตู)
- ผู้เล่นที่ได้รับใบแดงเป็นคนแรกของสโมสร
- กฤตนันท์ จำเริญใหญ่ (สพล.สมุทรสาคร 2–0 เทศบาลเมืองเสนา , 25 เมษายน พ.ศ. 2558 ,ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข.)
- ผู้เล่นที่ได้รับใบแดงเป็นคนแรกในฟุตบอลลีก
- สามารถ โพธิ์มี (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559, สระบุรี ทีอาร์ยู 1–0 อยุธยา ยูไนเต็ด, เอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2559)
ผู้ชม[แก้]
- ยอดผู้ชมในสนามเหย้ามากที่สุดในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
- 4,896 คน (อยุธยา ยูไนเต็ด 1–0 นรา ยูไนเต็ด, 16 กันยายน พ.ศ. 2561 ,ไทยลีก 3 รอบเพลย์ออฟ, สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)[8]
- ยอดผู้ชมในสนามเหย้ามากที่สุดเมื่อรวมการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ
- 7,848 คน (อยุธยา ยูไนเต็ด 1–2 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ,นัดกระชับมิตร, สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสร[แก้]
- สถิตินับถึง 23 ก.ย. 66 แถบสีฟ้าหมายถึงปัจจุบันยังคงเล่นให้กับสโมสร(ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนนัดที่ลงสนาม)


อันดับ | ชื่อ | สัญชาติ | ตำแหน่ง | ช่วงปี | ลีก | ไทยเอฟเอคัพ | ไทยลีกคัพ | อื่นๆ | รวม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | นาซีเม็งตู ดุช ซังตุช เนตู อุชวัลดู | ![]() |
AM | 2561–2562 | 20 (44) | 0 (0) | 1 (3) | 0 (0) | 21 (47) |
2 | ยู บย็อง-ซู | ![]() |
FW | 2563–2564 | 20 (29) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 20 (29) |
3 | เคนดัลล์ แจ็กดีโอซิงห์ | ![]() |
FW | 2560 | 12 (25) | 2 (1) | 4 (2) | 0 (0) | 18 (28) |
ฌูแซ นีลซง ดุช ซังตุช ซิลวา | ![]() |
FW | 2565–2566 | 18 (27) | 0 (0) | 0 (1) | 0 (0) | 18 (28) | |
5 | อานนท์ บุษผา | ![]() |
FW | 2561–2562 | 6 (31) | 0 (0) | 3 (2) | 0 (0) | 9 (33) |
6 | ฟาบรีซีอู เปรีส การ์เนย์รู | ![]() |
AM | 2560 | 8 (24) | 0 (2) | 0 (0) | 0 (0) | 8 (26) |
กุสตาวู อาเลชังดรี บาร์บอซา ดู นาซีเม็งตู | ![]() |
MF | 2565 | 8 (18) | 0 (0) | 0 (1) | 0 (0) | 8 (19) | |
สมประสงค์ ชื่นจันทร์ | ![]() |
DC | 2560–2561 | 7 (25) | 1 (2) | 0 (5) | 0 (0) | 8 (32) | |
ย็อง วู-กึน | ![]() |
FW | 2562 | 8 (17) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 8 (17) | |
มีลาน บูบาโล | ![]() |
FW | 2563–2564 | 8 (23) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 8 (23) | |
ดนุสรณ์ วิจิตรปัญญา | ![]() |
FW | 2565–2566 | 3 (27) | 5 (3) | 0 (3) | 0 (0) | 8 (33) | |
12 | โทโมฮิโระ โอโนะเดะระ | ![]() |
FW | 2559, 2561 | 6 (23) | 1 (1) | 0 (1) | 0 (0) | 7 (25) |
โนอาห์ ชิวูตา | ![]() |
AM | 2560–2561 | 7 (37) | 0 (2) | 0 (1) | 0 (0) | 7 (40) | |
14 | ชรินทร์ บุตรฮาด | ![]() |
FW | 2561 | 6 (12) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 6 (12) |
กฤษดา ปิสสา | ![]() |
DC | 2559, 2561–2562 | 6 (52) | 0 (0) | 0 (1) | 0 (0) | 6 (53) | |
ศรายุทธ อยู่สืบเชื้อ | ![]() |
FW | 2564–2565 | 6 (32) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 6 (32) | |
ชียากู ดูชาทช์ โมเรย์รา | ![]() |
DF | 2565–2566 | 5 (32) | 1 (2) | 0 (3) | 0 (0) | 6 (37) | |
18 | เกแว็ง มารีอุส ปาร์เซอแม็ง | ![]() |
FW | 2562 | 5 (14) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 5 (14) |
เซยะ โคจิมะ | ![]() |
MF | 2564–2565 | 5 (27) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 5 (27) | |
เจษฎากร น้อยศรี | ![]() |
FW | 2564–2565 | 5 (32) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 5 (32) | |
21 | ภุชพงศ์ นามสีฐาน | ![]() |
MF | 2561–2562 | 3 (19) | 0 (0) | 1 (4) | 0 (0) | 4 (23) |
สิทธิชัย ไตรศิลป์ | ![]() |
DC | 2560–2563 | 3 (71) | 0 (2) | 1 (4) | 0 (0) | 4 (77) | |
กีเยร์มี โรดริกิส โมเรย์รา | ![]() |
MF | 2562 | 3 (30) | 0 (0) | 1 (2) | 0 (0) | 4 (32) | |
ดัสกร ทองเหลา | ![]() |
AM | 2563–2564 | 4 (32) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 4 (32) | |
ฟีลีปี วัลเลซ ดู นาซีเม็งตู | ![]() |
FW | 2564 | 4 (6) | 0 (1) | 0 (0) | 0 (0) | 4 (7) |
ผู้เล่นที่ลงสนามให้สโมสรมากที่สุด[แก้]
- สถิตินับถึง 23 กันยายน พ.ศ. 2566 แถบสีฟ้าหมายถึงปัจจุบันยังคงเล่นให้กับสโมสร (ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนประตูที่ยิงได้)
อันดับ | ชื่อ | สัญชาติ | ตำแหน่ง | ช่วงปี | ลีก | ไทยเอฟเอคัพ | ไทยลีกคัพ | อื่นๆ | รวม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | สิทธิชัย ไตรศิลป์ | ![]() |
DC | 2560–2563 | 71 (3) | 2 (0) | 4 (1) | 0 (0) | 77 (4) |
2 | สามารถ โพธิ์มี | ![]() |
AM | 2559–2562 | 54 (2) | 3 (0) | 6 (1) | 0 (0) | 63 (3) |
3 | กรรณ กลีบผึ้ง | ![]() |
MF | 2563–2564, 2565–2566 | 53 (1) | 2 (0) | 3 (0) | 0 (0) | 58 (1) |
4 | เสกสิทธิ์ ศรีใส | ![]() |
AM | 2563–2564, 2565–2566 | 51 (2) | 2 (0) | 2 (0) | 0 (0) | 55 (2) |
5 | กฤษดา ปิสสา | ![]() |
DC | 2559, 2561–2562 | 52 (6) | 0 (0) | 1 (0) | 0 (0) | 53 (6) |
6 | พิชิต เกสโร | ![]() |
DF | 2563–2564, 2565–2566 | 48 (0) | 2 (0) | 2 (0) | 0 (0) | 52 (0) |
7 | อนุวัฒน์ พิกุลศรี | ![]() |
WB | 2560–2561, 2564–2565 | 48 (1) | 1 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 49 (1) |
จิรวัฒน ทองแสงพราว | ![]() |
DF | 2560–2561 | 46 (3) | 1 (0) | 2 (0) | 0 (0) | 49 (3) | |
9 | นาซีเมงตู ดุช ซังตุช เนตู อุชวัลดู | ![]() |
FW/AM | 2561–2562 | 44 (20) | 0 (0) | 3 (1) | 0 (0) | 47 (21) |
เค็นตาโร ทากามัตสึ | ![]() |
MF | 2560–2561 | 44 (0) | 1 (0) | 2 (0) | 0 (0) | 47 (0) | |
11 | กิตติศักดิ์ บุญถา | ![]() |
DM | 2561–2562 | 41 (2) | 0 (0) | 3 (0) | 0 (0) | 44 (2) |
12 | โนอาห์ ชิวูตา | ![]() |
AM | 2560–2561 | 37 (7) | 2 (0) | 1 (0) | 0 (0) | 40 (7) |
13 | ชียากู ดูชาทช์ โมเรย์รา | ![]() |
DF | 2565–2566 | 32 (5) | 2 (1) | 3 (0) | 0 (0) | 37 (6) |
14 | ชินดนัย วงษ์ประเสริฐ | ![]() |
DF | 2561–2562 | 34 (0) | 0 (0) | 2 (0) | 0 (0) | 36 (0) |
จักรพันธ์ พรใส | ![]() |
MF | 2565–2566 | 30 (1) | 3 (1) | 3 (0) | 0 (0) | 36 (2) | |
16 | ปิยะณัฐ ชาญรัมย์ | ![]() |
DF | 2560–2562 | 29 (1) | 1 (0) | 5 (2) | 0 (0) | 35 (3) |
17 | จิรวัฒน์ จันทร์พงษ์ | ![]() |
DF | 2564–2565 | 34 (2) | 0 (0) | 0 (0) | 0 (0) | 34 (2) |
18 | อานนท์ บุษผา | ![]() |
FW | 2561–2562 | 31 (6) | 0 (0) | 2 (3) | 0 (0) | 33 (9) |
ไพรัช ลิ้มเกียรติสถาพร | ![]() |
MF | 2560–2561 | 26 (1) | 2 (0) | 5 (0) | 0 (0) | 33 (1) |
ตารางคะแนนฤดูกาล 2566–2567[แก้]
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การเลื่อนชั้นหรือการตกชั้น |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เชียงใหม่ | 7 | 5 | 2 | 0 | 18 | 6 | +12 | 17 | เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ฤดูกาล 2567–68 |
2 | นครราชสีมา มาสด้า | 7 | 5 | 1 | 1 | 8 | 2 | +6 | 16 | |
3 | อยุธยา ยูไนเต็ด | 7 | 4 | 1 | 2 | 11 | 6 | +5 | 13 | ผ่านเข้าสู่รอบเพลย์ออฟ |
4 | พัทยา ยูไนเต็ด | 7 | 4 | 1 | 2 | 12 | 8 | +4 | 13 | |
5 | นครศรีฯ ยูไนเต็ด | 7 | 3 | 3 | 1 | 11 | 7 | +4 | 12 | |
6 | ระยอง | 7 | 3 | 3 | 1 | 6 | 2 | +4 | 12 | |
7 | สุพรรณบุรี | 7 | 3 | 3 | 1 | 7 | 5 | +2 | 12 | |
8 | หนองบัว พิชญ | 7 | 3 | 2 | 2 | 11 | 6 | +5 | 11 | |
9 | ดราก้อน ปทุมวัน กาญจนบุรี | 7 | 3 | 2 | 2 | 11 | 7 | +4 | 11 | |
10 | สมุทรปราการ ซิตี้ | 7 | 3 | 1 | 3 | 9 | 10 | −1 | 10 | |
11 | แพร่ ยูไนเต็ด | 7 | 3 | 1 | 3 | 6 | 7 | −1 | 10 | |
12 | เชียงใหม่ ยูไนเต็ด | 7 | 2 | 2 | 3 | 12 | 12 | 0 | 8 | |
13 | ลำปาง | 7 | 2 | 2 | 3 | 7 | 9 | −2 | 8 | |
14 | จันทบุรี | 7 | 2 | 1 | 4 | 13 | 14 | −1 | 7 | |
15 | เกษตรศาสตร์ | 7 | 1 | 2 | 4 | 6 | 13 | −7 | 5 | |
16 | คัสตอม ยูไนเต็ด | 7 | 1 | 2 | 4 | 4 | 16 | −12 | 5 | ตกชั้นสู่ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2567–68 |
17 | ชัยนาท ฮอร์นบิล | 7 | 0 | 2 | 5 | 2 | 12 | −10 | 2 | |
18 | กระบี่ | 7 | 0 | 1 | 6 | 1 | 13 | −12 | 1 |
กฎการจัดอันดับ : ก่อนสิ้นสุดฤดูกาล: 1. คะแนนรวม 2. ผลต่างประตูได้-เสีย 3. จำนวนประตูได้ 4. จำนวนนัดที่ชนะ
เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแล้ว: 1. คะแนนรวม 2. ผลเฮด-ทู-เฮด/มินิลีก 3. ผลต่างประตูได้-เสียของมินิลีก 4. จำนวนประตูได้ของมินิลีก 5. ผลต่างประตูได้-เสียทั้งหมด 6. จำนวนประตูได้ทั้งหมด 7. คะแนนใบเหลือง-ใบแดง 8. เพลย์ออฟ
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | |||
2559 | ดิวิชั่น 2 (โซนภาคกลาง) | 20 | 8 | 7 | 5 | 19 | 15 | 31 | อันดับที่ 4 | ตกรอบเพลย์ออฟ | รอบ 64 ทีมสุดท้าย |
2560 | ไทยลีก 3 (ตอนบน) | 26 | 14 | 5 | 7 | 40 | 26 | 47 | อันดับที่ 4 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย |
2561 | ไทยลีก 3 (ตอนบน) | 26 | 16 | 6 | 4 | 49 | 23 | 54 | อันดับที่ 2 | ตกรอบคัดเลือก | ตกรอบ เพลย์ออฟ |
2562 | ไทยลีก 2 | 34 | 5 | 9 | 20 | 37 | 64 | 24 | อันดับที่ 18 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบ 32 ทีมสุดท้าย |
2563–64 | ไทยลีก 2 | 34 | 13 | 8 | 13 | 46 | 45 | 47 | อันดับที่ 9 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม |
2564–65 | ไทยลีก 2 | 34 | 10 | 11 | 13 | 40 | 50 | 41 | อันดับที่ 11 | ตกรอบคัดเลือก | ไม่ได้เข้าร่วม |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 15 | 6 | 13 | 50 | 43 | 51 | อันดับ 10 | ตกรอบ 32 ทีมสุดท้าย | ตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาล[แก้]
- ณ วันที่ 23 กันยายน 2566
ฤดูกาล | ผู้ทำประตูสูงสุด | จำนวนประตูทั้งหมด | จำนวนประตูในลีก | สัญชาติ | ลีก |
---|---|---|---|---|---|
2559 | โทโมฮิโระ โอโนะเดะระ | 4 | 4 | ![]() |
เอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2 |
2560 | เคนดัลล์ แจ็กดีโอซิงห์ | 18 | 12 | ![]() |
ไทยลีก 3 |
2561 | เนตู ซังตุช | 15 | 15 | ![]() |
ไทยลีก 3 |
2562 | ย็อง วู-กึน | 8 | 8 | ![]() |
ไทยลีก 2 |
2563–2564 | ยู บย็อง-ซู | 20 | 20 | ไทยลีก 2 | |
2564–2565 | ศรายุทธ อยู่สืบเชื้อ | 6 | 6 | ![]() |
ไทยลีก 2 |
2565–2566 | ฌูแซ นีลซง | 18 | 18 | ![]() |
ไทยลีก 2 |
2566–2567 | มูซา ซานูฮ์ | 2 | 2 | ![]() |
ไทยลีก 2 |
อังแดร ลูอิช เลย์ชี | 2 | 2 | ![]() | ||
ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม | 2 | 2 | ![]() |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://idewblog.net/0145558003871.html
- ↑ http://www.smmsport.com/m/news.php?n=115590
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2016-02-20.
- ↑ http://www.smmsport.com/m/news.php?n=162364
- ↑ https://www.khaosod.co.th/sports/news_131944
- ↑ "มิติใหม่ลูกหนังไทย! ส.บอล มีมติ อยุธยา ยู – นาวี ไม่ตกชั้น T2". supersubthailand.com. 23 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ส.บอลประกาศ 18 ทีมลุยที 2 ปีหน้า
- ↑ http://www.smmsport.com/m/article.php?a=8815