ข้ามไปเนื้อหา

งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์
ชื่อในภาษาแม่รักบี้ประเพณี
ชื่ออื่นงานรักบี้ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯ
กีฬารักบี้ฟุตบอล
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร
ทีม2
พบกันครั้งแรกพ.ศ. 2480
พบกันครั้งล่าสุดธรรมศาสตร์
พบกันครั้งต่อไปรอประกาศ
รางวัลถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สถิติ
การพบกันทั้งหมด34
ชนะสูงสุดจุฬาลงกรณ์ (15 ครั้ง)
Postseason resultsธรรมศาสตร์ (ครั้งที่ 11)

งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: CU–TU Traditional Rugby–Football Match) เป็นการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยและศิษย์เก่า ซึ่งการแข่งขันได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้พระราชทานถ้วยรางวัล “มหิดล” เป็นรางวัลสำหรับทีมที่ชนะการแข่งขัน

ประวัติ

[แก้]

การแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ได้มีการจัดการแข่งขันกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 ณ สนามศุภชลาศัย โดยคณะกลุ่มบุคคลจากนักรักบี้ฟุตบอลที่เคยเป็นนิสิตนักศึกษาเก่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกันจัดการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีขึ้น โดยวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคีของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลของทั้งสองมหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วย คณาจารย์ ศิษย์เก่า และนิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันในการจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี โดยหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้จัดการแข่งขัน และเป็นแบบอย่างที่ดี ในการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลให้แก่เยาวชนของชาติ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันประกอบไปด้วยนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่หรือเคยศึกษาหรือจบการศึกษาแล้ว

หลังจากนั้น ใน พ.ศ. 2503 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้พระราชทานถ้วยรางวัล “มหิดล” แก่ผู้ชนะในการแข่งขัน พร้อมทั้งเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ท่านเสร็จพระราชดำเนินเป็นประธานการแข่งขัน พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะและของที่ระลึกแก่กรรมการผู้ตัดสินและนักกีฬาของทั้งสองทีมด้วยพระองค์เองในช่วงแรกอยู่หลายปี ทั้งสองมหาวิทยาลัยจึงถือว่าการแข่งขันใน พ.ศ. 2503 เป็นการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีนี้ มีการแข่งขันครั้งที่ 1 พ.ศ. 2503 และมีการแข่งขันตลอดมาเป็นครั้งที่ 22 เมื่อ พ.ศ. 2527 แล้วได้หยุดการแข่งขันไป เนื่องจากมีการทำกิจกรรมอื่น จึงได้มีการรื้อฟื้นการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน “มหิดล” อีกครั้งหนึ่งโดยกลับมาแข่งขันอีกประจำ พ.ศ. 2549 เป็นครั้งที่ 23 ในยุคแรกแข่งขันที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ โดยครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธีและทอดพระเนตรการแข่งขัน มีนิสิตนักศึกษาของทั้งสองสถาบัน และประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯ มากกว่า 30,000 คน ผลการแข่งขัน 28 ครั้ง ธรรมศาสตร์ชนะ 11 ครั้ง จุฬาฯ ชนะ 15 ครั้ง เสมอ 5 ครั้ง และในปีล่าสุดที่ทีมรักบี้ธรรมศาสตร์เป็นผู้ชนะ

การแข่งขัน

[แก้]
ครั้งที่ พ.ศ. วันที่ สนามแข่ง ผลการแข่งขัน คะแนน (จุด) ประธานในพิธี
1 2503 2 ธันวาคม 2503 จุฬาฯ 6 : 3 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2 2504 1 ธันวาคม 2504 ธรรมศาสตร์ 6 : 3 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
3 2505 7 ธันวาคม 2505 เสมอ 6 : 6 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
4 2506 3 ธันวาคม 2506 จุฬาฯ 9 : 6 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
5 2507 4 ธันวาคม 2507 เสมอ 3 :3 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
6 2508 10 ธันวาคม 2508 จุฬาฯ 16: 3 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
2509 งดการแข่งขัน
7 2510 3 กุมภาพันธ์ 2511 เสมอ 3 : 3 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
8 2511 31 มกราคม 2512 จุฬาฯ 25 : 12 พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์
9 2512 23 ธันวาคม 2512 ธรรมศาสตร์ 31 : 15 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
10 2513 8 มกราคม 2513 จุฬาฯ 8 : 0 พระยามานวราชเสวี
11 2514 14 ธันวาคม 2514 จุฬาฯ 9 : 3 นายศรีเสนา สมบัติศิริ
12 2515 26 มกราคม 2516 จุฬาฯ 14 : 12 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
2516 งดการแข่งขัน
13 2517 31 มกราคม 2517 จุฬาฯ 13 : 12 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
2518 งดการแข่งขัน
14 2519 28 มกราคม 2520 จุฬาฯ 13 : 11 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
15 2520 9 ธันวาคม 2520 ธรรมศาสตร์ 15 : 6 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
16 2521 29 มกราคม 2522 จุฬาฯ 15 : 8 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
17 2522 18 มกราคม 2523 เสมอ 3 : 3 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
18 2523 19 ธันวาคม 2523 ธรรมศาสตร์ 7 : 3 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
19 2524 18 ธันวาคม 2524 จุฬาฯ 6 : 5 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
20 2525 17 ธันวาคม 2525 จุฬาฯ 20 : 9 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
21 2526 23 ธันวาคม 2526 จุฬาฯ 36 : 8 ศจ.ดร.เกษม สุวรรณกุล
22 2527 26 ธันวาคม 2527 จุฬาฯ 9 : 6 ศจ.ดร.เกษม สุวรรณกุล
2528-2548 งดการแข่งขัน
23 2549 13 มกราคม 2550 สนามกีฬากองทัพบก ธรรมศาสตร์ 10 : 6 นายพลากร สุวรรณรัฐ
24 2551 13 ธันวาคม 2551 สนามกีฬากองทัพบก จุฬาฯ 13 : 10 นายพลากร สุวรรณรัฐ
25 2552 26 ธันวาคม 2552 สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ธรรมศาสตร์ 21 : 20 นายพลากร สุวรรณรัฐ
26 2553 4 ธันวาคม 2553 สนามกีฬากองทัพบก ธรรมศาสตร์ 21 : 18 พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์
2554 งดการแข่งขัน
27 2555 26 มกราคม 2556 สนามกีฬากองทัพบก เสมอ 23 : 23 ศ.อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
28 2556 21 ธันวาคม 2556 สนามกีฬากองทัพบก ธรรมศาสตร์ 29 : 24
29 2557 31 มกราคม 2558 สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ธรรมศาสตร์ 15:11
30 2558 30 มกราคม 2559 สนามศุภชลาสัย ธรรมศาสตร์ 21:13
31 2560 31 มีนาคม 2561 สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ธรรมศาสตร์ 58:17
32 2561 31 มีนาคม 2561 สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ธรรมศาสตร์ 58:17
33 2562 31 มีนาคม 2561 สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ธรรมศาสตร์ 58:17
34 2563 1 กุมภาพันธ์ 2563 สนามศุภชลาสัย ธรรมศาสตร์ 58:17

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]