บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์
ไฟล์:บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์.jpg
รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 3 เมษายน พ.ศ. 2564
หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2564 – 21 พฤศจิกายน 2564
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 เมษายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
พรรคการเมืองพรรคเพื่อชาติ
คู่สมรสพลตำรวจตรี จรัณฐค์ วรพัฒนานันน์

บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ (ชื่อเดิม บุษรินทร์ ติยะไพรัช) เป็นนักการเมืองชาวจังหวัดเชียงราย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เป็นอดีต​หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[1] เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และเป็นพี่สาวของยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา

ประวัติ[แก้]

บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของนายแต้ซ้ง และนางจม แซ่เตีย มีพี่สาว 1 คน และน้องชาย-น้องสาว คือ ยงยุทธ ติยะไพรัช และละออง ติยะไพรัช

เธอสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บุศริณธญ์ สมรสกับพลตำรวจตรี จรัณฐค์ วรพัฒนานันน์

การเมือง[แก้]

บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 และต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในนามพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ภายหลังเธอได้เลื่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างของสันติ พร้อมพัฒน์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554[2]

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2557 นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ ได้เข้าสู่สนามการเมืองท้องถิ่น โดยได้รับเลือกตั้งโดยชนะรัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย แต่ในครั้งนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติให้ใบเหลือง จากกรณีถูกร้องเรียนว่านายวีระเดช สมวรรณ นายอำเภอเมืองเชียงราย ได้ใช้อำนาจหน้าที่ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้สมัคร โดยได้ประสานให้ผู้นำท้องถิ่นและฝ่ายปกครองในพื้นที่มาประชุมกัน และให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช เข้ามาในที่ประชุมและพูดหาเสียงให้แก่นางบุศริณธญ์ สอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองถึงคะแนนนิยมของนางบุศริณธญ์ในลักษณะเหมือนเป็นการบังคับ ขืนใจให้บุคคลที่ถูกซักถามเกิดความเกรงกลัว กกต. เห็นว่ามีความผิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใดๆ เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร จึงสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ และดำเนินคดีอาญาแก่นายยงยุทธ และนายวีระเดช[3] ภายหลังศาลอุทธรณ์ภาคมีคำพิพากษายืนตามมติ กกต.[4]

ต่อมาเธอได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อชาติ และรับหน้าที่เป็นรองหัวหน้าพรรค กระทั่งในปี 2564 เธอได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[5] และได้ลาออกจากตำแหน่งในปีเดียวกัน[6] ต่อมาในปี 2565 เธอได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อชาติ แทนนายอารี ไกรนรา ที่ลาออกจากตำแหน่ง[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 'เพื่อชาติ' เคาะแล้ว 'บุศริณธญ์ พี่สาวยงยุทธ' นั่งหัวหน้าพรรคแทน 'สงคราม'
  2. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
  3. ฟ้าผ่าสภา อบจ.เมืองพ่อขุน กกต.ใบเหลืองนายก อบจ.เชียงราย ควบฟันอาญา นอภ.-ยุทธตู้เย็น
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-03. สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.
  5. 'เพื่อชาติ' เคาะแล้ว 'บุศริณธญ์ พี่สาวยงยุทธ' นั่งหัวหน้าพรรคแทน 'สงคราม'
  6. “ศรัณย์วุฒิ” นั่งเก้าอี้หน.พรรคเพื่อชาติ-ชูนโยบาย เพื่อชาติ เพื่อประชาชน
  7. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ พรรคเพื่อชาติ)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ ถัดไป
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
(3 เมษายน - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564)
ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ