ฝุ่นละออง
ฝุ่นละออง หรือ ละอองธุลี[1] คือ ของแข็งขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศหรือน้ำ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์โดยนับเป็นมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำประเภทหนึ่ง
ฝุ่นละอองมีที่มาหลากหลายทั้งจากธรรมชาติ อาทิเช่น ภูเขาไฟ พายุทราย ไฟป่า ไอเกลือ หรือการกระทำของมนุษย์เช่น ไอของเสียจากรถยนต์ โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึง การเผาหญ้า และการเผาป่า ในประเทศกำลังพัฒนาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน
ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายเช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอด รวมไปถึงมะเร็งปอด ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยพวกตัวกรองแบบต่างๆ เช่น หน้ากาก
การกำจัดฝุ่นละอองนั้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะตกอยู่บนพื้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) จะลอยอยู่ในอากาศได้หลายสัปดาห์ และจะถูกกำจัดโดยฝนหรือหยาดน้ำฟ้าประเภทอื่น
ปัญหาสุขภาพ[แก้]
ปัญหาฝุ่นละอองมีการบันทึกว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก[2] และผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนขึ้นสูงในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา[3] ในสหรัฐอเมริกามีการประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 22,000-52,000 คนต่อปีเนื่องจากปัญหาฝุ่นละออง[4] และ 200,000 คนต่อปีในทวีปยุโรป ผลที่เกิดจากการสูดดมฝุ่นละอองเข้าไปในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ สามารถก่อให้เกิด หอบหืด มะเร็งปอด โรคหัวใจ ความผิดปกติแต่กำเนิด และการตายก่อนกำหนด
ขนาดของอนุภาคจะส่งผลต่อสุขภาพ โดยอนุภาคที่มีขนาด 10 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่า (PM10) สามารถเข้าไปในส่วนที่ลึกสุดของปอดได้ เช่น หลอดลมฝอย หรือ ถุงลม[5] อนุภาคขนาดใหญ่โดยทั่วไปจะถูกกรองด้วยจมูกและลำคอ โดยขนจมูกและขี้มูก แต่อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) สามารถผ่านเข้าไปในปอดและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
ฝุ่นละออง PM2.5[แก้]
ฝุ่นละออง PM2.5 คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก 2.5 ไมโครเมตร ซึ่ง 2.5 ไมโครเมตรนั้นเป็นขนาดฝุ่นละอองที่เล็กมากๆ มนุษย์เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ฝุ่น PM2.5 นั้นจะล่องลอยอยู่ในอากาศ รวมตัวกับก๊าซหรือไอน้ำ ทำให้เกิดเป็นหมอกควันจำนวนมากในอากาศ และด้วยขนาดที่เล็กมากๆของฝุ่นละอองประเภทนี้ ทำให้ฝุ่นเดินทางผ่านเส้นขนในจมูกของเราของไปได้ นำพาสารประเภท แคดเมียม โลหะหนัก ปรอท แทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ กระแสเลือด และอื่นๆของตัวเราได้
ปัญหาสุขภาพ[แก้]
ผลกระทบต่อทางเดินหายใจ[แก้]
- ไอ จาม เจ็บคอ
- เลือดกำเดาไหล
- มะเร็งปอด
- ถุงลมโป่งพอง
ผลกระทบต่อทางระบบผิวหนัง[แก้]
- มีอาการคัน มีตุ่มขึ้น
- มะเร็งผิวหนัง
- ผิวคล้ำไม่สดใส
ผลกระทบต่อทางระบบสมอง[แก้]
- โรคอัลไซเมอร์
- เสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันสูงขึ้นถึง 34%
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคไมเกรน
ผลกระทบต่อทางระบบหัวใจและหลอดเลือด[แก้]
- โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
- โรคหัวใจ
- อัมพาต
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน particulate
- ↑ "Air Pollution & Cardiovascular Disease". National Institute of Environmental Health Sciences.
- ↑
Lave, Lester B. (1973). "An Analysis of the Association Between U.S. Mortality and Air Pollution". J. Amer. Statistical Association. 68: 342. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑
Mokdad, Ali H. (2004). "Actual Causes of Death in the United States, 2000". J. Amer. Med. Assoc. 291 (10): 1238–45. doi:10.1001/jama.291.10.1238. PMID 15010446. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑ Region 4: Laboratory and Field Operations — PM 2.5 (2008).PM 2.5 Objectives and History. U.S. Environmental Protection Agency.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ฝุ่นละออง (Suspended Particulate Matter : SPM) โครงการพัฒนาความรู้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
- ฝุ่นละออง (Particulate Matter), E.S.T
- ปริมาณฝุ่นละออง กรมควบคุมมลพิษ
- ฝุ่น PM2.5 Huapood
|