ข้ามไปเนื้อหา

สถานีกระทรวงสาธารณสุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงสาธารณสุข
PP12

Ministry of Public Health
ชานชาลา
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม)
สาย     สายฉลองรัชธรรม
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ รถโดยสารประจำทาง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีPP12
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ6 สิงหาคม พ.ศ. 2559; 8 ปีก่อน (2559-08-06)
ผู้โดยสาร
25641,269,044
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ศูนย์ราชการนนทบุรี
มุ่งหน้า คลองบางไผ่
สายฉลองรัชธรรม แยกติวานนท์
มุ่งหน้า เตาปูน
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีกระทรวงสาธารณสุข (อังกฤษ: Ministry of Public Health station; รหัส: PP12) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับในเส้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ตั้งอยู่เหนือถนนติวานนท์ ใกล้กับโรงพยาบาลศรีธัญญา กระทรวงสาธารณสุข และแหล่งที่พักอาศัยในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานีกระทรวงสาธารณสุขตั้งอยู่เหนือถนนติวานนท์บริเวณทางแยกศรีธัญญา ในพื้นที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

รายละเอียด

[แก้]

สีสัญลักษณ์

[แก้]

ใช้สีม่วงตกแต่งบริเวณประตูกั้นชานชาลา ป้ายบอกทาง ป้ายชื่อสถานีทั้งบริเวณชานชาลาและบริเวณทางเข้า เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง

รูปแบบ

[แก้]

เป็นแบบชานชาลาเกาะกลาง มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาสูงประมาณ 1.50 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา[1]

ทางเข้า–ออก

[แก้]

มีทางขึ้นลงทั้งหมด 4 แห่ง มีลิฟต์ 2 ทางขึ้น–ลง มีบันไดเลื่อนทุกทางขึ้น–ลง[2]

  • 1 ซอยติวานนท์ 6
  • 2 กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลศรีธัญญา
  • 3 ซอยติวานนท์ 1/1 (ต้นไทร)
  • 4 สำนักงานสรรพากร ภาค 4

แผนผัง

[แก้]
U3
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสีม่วง มุ่งหน้า เตาปูน
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 สายสีม่วง มุ่งหน้า คลองบางไผ่
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, ห้องน้ำ[3]
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนติวานนท์, กระทรวงสาธารณสุข, ถนนหลวงวิเชียรแพทยาคม, ซอยติวานนท์ 6

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • มีลิฟต์โดยสารสำหรับผู้พิการ 2 ตัว บริเวณทางขึ้น–ลงสถานีในฝั่งที่ 1 และ 3[2]
  • มีบันไดเลื่อนทุกทางขึ้น–ลงของสถานี[1]

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายฉลองรัชธรรม[4]
ชานชาลาที่ 1
PP16 เตาปูน จันทร์–ศุกร์ 05.57 23.13
เสาร์–อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06.25 23.12
ชานชาลาที่ 2
PP01 คลองบางไผ่ จันทร์–ศุกร์ 06.08 23.33
เสาร์–อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06.27 23.33

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
32 7 (กปด.17) ปากเกร็ด วัดโพธิ์ รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง ขสมก.
63 7 (กปด.27) เอ็มอาร์ทีสะพานพระนั่งเกล้า รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
63 รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
114 1 (กปด.11) ทางแยกลำลูกกา เอ็มอาร์ทีสะพานพระนั่งเกล้า รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
114 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
505 7 (กปด.37) ปากเกร็ด สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2-2 7 (กปด.27) ปากเกร็ด เรือข้ามฟาก ท่าน้ำสี่พระยา รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
2-2 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
18 (2-3) Handicapped/disabled access ตลาดท่าอิฐ รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
33 (2-6) Handicapped/disabled access ปทุมธานี เทเวศร์ 1. รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีเหลือง
2. รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีฟ้า
3. รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
บจก.บัส 33
(ในเครือกิตติสุนทร)
64 (2-11) Handicapped/disabled access กระทรวงสาธารณสุข สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
90 (1-27) ปทุมธานี บีทีเอสหมอชิต รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีฟ้า บจก.บัส 90
(ในเครือกิตติสุนทร)
มีรถให้บริการน้อย
97 (2-15) Handicapped/disabled access กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลสงฆ์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
545 (2-26) Handicapped/disabled access ท่าน้ำนนทบุรี พัฒนาการ บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
สาย ประเภทรถ ไป[5][6]
646 (วิ่งเฉพาะช่วงเช้า) รถเมล์ (เอกชน) เสนา–ตลาดนนทบุรี
367 รถเมล์ (เอกชน) รังสิต–ตลาดนนทบุรี
1025 รถสองแถว ปากเกร็ด–วัดปากน้ำ นนทบุรี
1 รถสองแถว ท่าน้ำนนทบุรี–สนามบินน้ำ–ท่าน้ำนนทบุรี (วงกลม)
1024 (หัวขาว) รถสองแถว ตลาดบางบัวทอง–ทางแยกแคราย–ตลาดนนทบุรี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "แผ่นพับโครงการ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  2. 2.0 2.1 "สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  3. ชี้เป้าห้องน้ำบนรถไฟฟ้า ข้าศึกบุก! สถานีนี้เข้าห้องน้ำที่ไหนดี? อัปเดตใหม่ 2019
  4. "รถไฟฟ้าสายสีม่วง ตารางเดินรถ". www.mrta.co.th.
  5. MRT กระทรวงสาธารณสุข : ย่านที่อยู่อาศัยใกล้เมืองและแหล่งงาน
  6. วิธีการไปยัง รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีกระทรวงสาธารณสุข ที่ เมืองนนทบุรี โดย รถบัส หรือ รถไฟใต้ดิน?

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]