ข้ามไปเนื้อหา

วัลลภ ไทยเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัลลภ ไทยเหนือ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 (79 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2548–2549)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
คู่สมรสพวงทอง ไทยเหนือ

นายแพทย์ วัลลภ ไทยเหนือ (เกิด 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ประวัติ

[แก้]

นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายแพทย์มะลิ ไทยเหนือ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายแพทย์วัลลภ สมรสกับนางพวงทอง ไทยเหนือ มีบุตร 2 คน คือ นายวรพล ไทยเหนือ และนางสาววรพธู ไทยเหนือ

นายแพทย์วัลลภ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2512 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ - นรีเวช จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปสกินส์ สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2518 และปริญญาโท ทางสาธารณสุข จากเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล

การทำงาน

[แก้]

นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมอนามัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ ในปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545 และตำแหน่งสุดท้ายคือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548 ก่อนจะถูกสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ปลดจากตำแหน่ง ซึ่งนายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ได้แถลงโต้เหตุโดนปลดว่าเป็นเพราะขวางการประมูลคอมพิวเตอร์มูลค่า 900 ล้าน[1]

ต่อมาได้เข้าทำงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[2] และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.[3]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ได้ลงสมัคร ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่ม 4 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่สอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้หันมาร่วมกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการกับพรรคภูมิใจไทย[4] ต่อมาหลังการยุบสภาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดิน และประกาศวางมือทางการเมือง[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปิดประวัติรัฐมนตรีใหม่สุรยุทธ์ 5
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอน พิเศษ 52ง วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2550
  3. "นพ.วัลลภ ไทยเหนือ ยื่นใบลาออกจาก รมช. สธ. แล้วและให้มีผลพรุ่งนี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-31. สืบค้นเมื่อ 2010-08-28.
  4. "พผ.ประชุมเช็คส.ส.เนื้อแท้ คุยมี18เสียงพร้อมหนุนรัฐบาลทำคลอดมากับมือ เผย 8คนซบภท. 3 ร่วมมภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-16.
  5. "หมอวัลลภ"ชัดแล้วขอเว้นวรรคการเมือง พร้อมยื่นใบลาออกจากพผ. แฉเริ่มจับจองกระทรวงกันแล้วจาก มติชน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๔๐, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]