พรรคมวลชน
พรรคมวลชน | |
---|---|
หัวหน้า | การุณ รักษาสุข |
เลขาธิการ | ยงยุทธ รอดคล้ายขลิบ |
โฆษก | ธิตติวัฒน์ นันทุ์นลิน |
ประธานที่ปรึกษาพรรค | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง |
ก่อตั้ง | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2528 |
ถูกยุบ | 27 มีนาคม พ.ศ. 2553 (24 ปี 287 วัน) |
แยกจาก | พรรคกิจสังคม (พ.ศ. 2538) พรรคความหวังใหม่ (พ.ศ. 2545) |
ยุบรวมกับ | พรรคกิจสังคม (พ.ศ. 2536) พรรคความหวังใหม่ (พ.ศ. 2541) |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคมวลชน (อังกฤษ: Mass Party) เป็นพรรคการเมืองในอดีตของประเทศไทย จดทะเบียนก่อตั้งพรรคอย่างเป็นทางการกับกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2528[1][2] มีการยุบพรรคและจัดตั้งขึ้นใหม่อีก 2 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2538 และในปี พ.ศ. 2545
พรรคมวลชน ถือเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีจำนวน ส.ส.ไม่มาก มีฐานเสียงอย่างหนาแน่นในพื้นที่ฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในพื้นที่เขตบางแค, ภาษีเจริญ, บางบอน โดยมีหัวหน้าพรรคคนสำคัญ คือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
ประวัติ
[แก้]พรรคมวลชน มีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
ช่วงเริ่มก่อตั้ง
[แก้]พรรคมวลชน จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2528 มี นายสมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค และ พ.ต.อ.อดุล กาญจนพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ส่งผู้สมัคร ส.ส.ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้ง 3 ที่นั่ง โดยเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาส่งผู้สมัครอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้ง 5 ที่นั่ง และได้เข้าร่วมรัฐบาลโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พรรคมวลชน ได้ยุติการดำเนินงานเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536[3] โดยได้ยุบพรรคเข้ารวมกับพรรคกิจสังคม
ช่วงปี 2538
[แก้]พรรคมวลชน ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคมวลชนขึ้นอีกครั้งในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยมีนายสมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายชิงชัย ต่อประดิษฐ์ เป็นเลขาธิการพรรค[4] ต่อมาที่ประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคมวลชน ได้มีมติยุบรวมเข้ากับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งนำโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เป็นผลให้พรรคมวลชนต้องถูกยุบเลิกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป[5]
ช่วงปี 2545
[แก้]ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดตั้งพรรคมวลชนขึ้นอีกครั้ง โดยมีพลเอก วรวิทย์ พิบูลศิลป์ เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายการุณ รักษาสุข เป็นเลขาธิการพรรค โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง อดีต สส.บัญชีรายชื่อพรรคความหวังใหม่ ได้กลับมาที่พรรคมวลชนตามเดิม ในฐานะ สส.ฝ่ายค้าน โดยมีผลงานในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องสนามกอล์ฟอัลไพน์[6]
กระทั่งในการประชุมสามัญประชุมจำ ครั้งที่ 1/2549 ได้มีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคทางเลือกใหม่"[7] และได้ยุบเลิกพรรคไปในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552[8]
รายนามหัวหน้าพรรค
[แก้]- สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2528 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2529[9])
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (20 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536)
- สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2538 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538)
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541)
- พลเอก วรวิทย์ วิบูลศิลป์ (30 มีนาคม พ.ศ. 2545 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
- พันธุ์ธัช รักษาสุข (เปลี่ยนชื่อเป็น การุณ รักษาสุข) (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
ผลการเลือกตั้ง
[แก้]ผลการเลือกตั้งทั่วไป
[แก้]การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2529 | 3 / 347
|
3 ที่นั่ง | ฝ่ายค้าน | สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ | ||
2531 | 5 / 357
|
2 ที่นั่ง | ร่วมรัฐบาล (2531-2533) | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | ||
ฝ่ายค้าน (2533-2534) | ||||||
มี.ค. 2535 | 1 / 360
|
4 ที่นั่ง | ฝ่ายค้าน | |||
ก.ย. 2535 | 4 / 360
|
3 ที่นั่ง | ฝ่ายค้าน[ก] | |||
2538 | 3 / 391
|
1 ที่นั่ง | ร่วมรัฐบาล | |||
2539 | 2 / 393
|
1 ที่นั่ง | ร่วมรัฐบาล (2539-2540) | |||
ฝ่ายค้าน (2540-2541)[ข] |
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[แก้]การเลือกตั้ง | ผู้สมัคร | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|
2528 | ชิงชัย ต่อประดิษฐ์ | 12,042 | พ่ายแพ้ | |
2533 | นิยม ปุราคำ | 25,729 | พ่ายแพ้ | |
2547 | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | 165,761 | 6.95% | พ่ายแพ้ |
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.)
[แก้]การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|
2528 | 1 / 54
|
1 | เสียงข้างน้อย | ||
2533 | 0 / 57
|
1 | |||
2541 | 1 / 60
|
1 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ยุบรวมเข้ากับพรรคกิจสังคม ในปี พ.ศ. 2536
- ↑ ยุบรวมเข้ากับพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2541
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคมวลชน)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 84ก วันที่ 28 มิถุนายน 2528
- ↑ เขาชื่อ ‘เฉลิม อยู่บำรุง’
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบเลิกพรรคมวลชนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 3ง วันที่ 10 มกราคม 2538
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคมวลชน) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 28ง วันที่ 6 เมษายน 2538
- ↑ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 6/2541 เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้สั่งยุบพรรคมวลชนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 66ก วันที่ 29 กันยายน 2541
- ↑ อภิปรายสนามกอลฟ์อัลไพน์, สืบค้นเมื่อ 2023-04-04
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค และข้อบังคับพรรคมวลชนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 50ง วันที่ 18 พฤษภาคม 2549
- ↑ คำสั่งนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง การเลิกพรรคทางเลือกใหม่ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 46ง วันที่ 25 มีนาคม 2553
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคมวลชน ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 127ก วันที่ 24 กรกฎาคม 2529