ทรงกิตติ จักกาบาตร์
ทรงกิตติ จักกาบาตร์ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ |
ถัดไป | พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร |
แม่ทัพภาคที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546 | |
ก่อนหน้า | พลโท วิชัย บัวรอด |
ถัดไป | พลโท พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ |
เสนาธิการทหารบก | |
ก่อนหน้า | พลเอก มนตรี สังขทรัพย์ |
ถัดไป | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2493 |
คู่สมรส | ภรณีย์ จักกาบาตร์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย (ถึงปีพ.ศ. 2548) กองบัญชาการกองทัพไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2554 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2493 — ) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1][2] เคยดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบก แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนพิพัฒนา จ.กรุงเทพฯ
- โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 21
- นายทหารฝ่ายอำนวยการสายการข่าว ชั้นที่ 1 รุ่นที่ 1 โรงเรียนข่าวทหารบก พ.ศ. 2515
- หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารม้า รุ่นที่ 18 พ.ศ. 2518
- หลักสูตร ชั้นนายพัน เหล่าทหารม้า รุ่นที่ 24 พ.ศ. 2524
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก (หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 62 ) พ.ศ. 2527
- หลักสูตรเตรียมการสำหรับผู้บังคับหน่วยทหาร รุ่นที่ 3 สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง พ.ศ. 2528
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบกอังกฤษ แคมป์เบอร์ลี่ ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2529
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 16 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ต.ค.พ.ศ. 2546 – ก.ย.พ.ศ. 2547
การรับราชการ
[แก้]- ผู้บังคับหมวดลาดตระเวน กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2515
- ผู้ช่วยนายทหารส่งกำลังบำรุง กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2518
- รองผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวน กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2520
- ผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวน กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2522
- ผู้บังคับกองร้อยต่อสู้รถถังที่ 10 พ.ศ. 2524
- รองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 19 พ.ศ. 2524
- ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2526
- รองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 25 พ.ศ. 2527
- อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2529
- รองผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2533
- รองเสนาธิการกองพลทหารม้าที่ 2 พ.ศ. 2533
- ผู้ช่วยทูตทหารบกไทย/จาการ์ตา และรักษาราชการผู้ช่วยทูตทหาร ไทย/จาการ์ตา พ.ศ. 2535
- ผู้อำนวยการกองข่าว สำนักงานสารนิเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ. 2538
- ผู้อำนวยการกองสารนิเทศ กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ. 2540
- ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ. 2541
- รองเจ้ากรมข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ. 2543
- รองแม่ทัพภาคที่ 4 พ.ศ. 2544
- แม่ทัพภาคที่ 4 พ.ศ. 2546
- ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. 2546
- ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก พ.ศ. 2547
- ราชองครักษ์พิเศษ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547[3]
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก พ.ศ. 2548
- รองเสนาธิการทหาร พ.ศ. 2548
- เสนาธิการทหาร พ.ศ. 2549
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ. 2551
บทบาทการเมือง
[แก้]พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ นับได้ว่าเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 (ตท.10) เช่นเดียวกับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันได้มีตำแหน่งเป็นประธานนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 ได้รับการสนับสนุนให้ย้ายจากกองบัญชาการทหารสูงสุดไปยังกองทัพบก ในตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4 แต่หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.ทรงกิตติ ก็ได้ย้ายกลับไปที่กองบัญชาการทหารสูงสุดอีดครั้ง และได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในที่สุด [4]
ในเหตุการณ์สงกรานต์เลือด พล.อ.ทรงกิตติ ได้รับการแต่งตั้งจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขเหตุการณ์นี้โดยเฉพาะ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเหตุการณ์ก็จบลงได้อย่างสวยงาม โดยไม่มีผู้เสียชีวิต[5]
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6]
พล.อ.ทรงกิตติ มีชื่อเล่นว่า "ตุ้ย" จึงมีชื่อที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตุ้ย" และนับได้ว่าเป็นนายทหารคนหนึ่งที่ใกล้ชิดกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นทหารม้าที่เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาก่อน
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางภรณี จักกาบาตร์ มีบุตรธิดาสามคนคือ นางสาวกฤตินี จักกาบาตร์ นางสาวรวิตา จักกาบาตร์ และนายกิตติภูมิ จักกาบาตร์
รางวัล
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ประเทศไทย
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[13]
ต่างประเทศ
[แก้]- ออสเตรเลีย :
- พ.ศ. 2543 – เหรียญกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรเลีย ชั้นสมาชิก[14]
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2554 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดารายุทธธรรม ชั้นอุตมา[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ แนวหน้า, โปรดเกล้าฯโยกย้ายทหาร 556 ตำแหน่ง "ทรงกิตติ จักกาบาตร์"นั่งผบ.สส., 31 สิงหาคม 2551
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ หนังสือ ลับลวงพราง ปฏิวัติปราสาททราย โดย วาสนา นาน่วม : สำนักพิมพ์มติชน ISBN 9789740203384
- ↑ "ผอ.กอฉ.ยัน จนท.จะไม่ใช้อาวุธผลักดันผู้ชุมนุม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ทำเนียบศิษย์เก่ารางวัลเกียรติยศจักรดาว[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๓๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๗, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๑๐ เมษายน ๒๕๔๔
- ↑ Panglima TNI Terima Panglima Angkatan Bersenjata Thailand
- ↑ MINDEF Singapore. President Nathan Confers Top Military Award on Thai Chief of Defence Forces. เมื่อ 13 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566
- ↑ พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะเดินทางเยือนบรูไนดารุสซาลามอย่างเป็นทางการ
- ↑ Thai defence chief visits MinDef
ก่อนหน้า | ทรงกิตติ จักกาบาตร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554) |
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย
- แม่ทัพภาคที่ 4
- ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- เสนาธิการทหารบกไทย